การบริหารจัดการทุน (ทุนภายนอกมหาวิทยาลัย)

BN1

คำตอบ
นักวิจัยควรศึกษาประกาศประชาสัมพันธ์ทุนโดยละเอียด และพิจารณาความเหมาะสมของคุณสมบัตินักวิจัย หัวข้อการวิจัย ลักษณะโครงการที่แหล่งทุนเปิดรับทั้งนี้นักวิจัยสามารถวางแผนในการยื่นสมัครขอรับทุนเป็นการล่วงหน้า โดยศึกษารายละเอียดทุนที่สนใจ จากประชาสัมพันธ์ทุนในปีที่ผ่านมาเป็นข้อมูลอ้างอิงไว้ก่อน

คำตอบ
กระบวนการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัย มีหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

  1. แหล่งทุน / กองบริหารงานวิจัย (กบจ.) / รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย / กองคลัง / ส่วนงานต้นสังกัด ซึ่งแต่ละหน่วยงานมีระยะเวลาดำเนินการ ดังแสดงในสไลด์ กระบวนการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัย.pptx
  2. การเสนอขออนุมัติเบิกจ่ายเงินไปยัง “บัญชีอุดหนุนการวิจัย ชื่อส่วนงาน” จะดำเนินการเมื่อ กบจ. ได้รับเอกสารที่ถูกต้องและครบถ้วน ได้แก่
  • หนังสือแจ้งการโอนเงิน
  • Pay-in slip
  • แบบฟอร์มรายละเอียดเงินงวด จำแนกตามงบค่าใช้จ่ายของโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งทุนภายนอก (ตารางงบประมาณ)
  • Checklist จริยธรรมทางการวิจัย พร้อมหลักฐานแสดงการได้รับอนุมัติฯ (ถ้ามี)
  • (สำหรับเงินงวดสุดท้าย) ไฟล์หนังสือนำส่งและไฟล์รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ดำเนินการตามหนังสือที่ อว 78.016/6844 ลวท 29 ธ.ค. 65

หมายเหตุ สำหรับทุนประเภท FF ให้ดำเนินการตามที่ระบุในสัญญารับทุน/หลักเกณฑ์ตามที่มหาวิทยาลัยแจ้ง

คำตอบ
ข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วย การบริหารเงินอุดหนุนการวิจัย พ.ศ. 2560 ประกาศ ณ วันที่ 18 มกราคม 2560

ในกรณีที่หัวหน้าโครงการวิจัยประสงค์ที่จะรับเงินอุดหนุนการวิจัยไปบริหารเอง (เฉพาะงบดำเนินงาน หมวดวัสดุ ค่าใช้สอย ค่าครุภัณฑ์ เท่านั้น) ให้โครงการขออนุมัติจากส่วนงานต้นสังกัด โดยโครงการจะต้องมีนักบัญชีเป็นผู้ควบคุมบัญชีโครงการและจัดส่งหลักฐานการรับจ่าย รายงานการเงินและบัญชีรับรองความถูกต้อง ตามที่ส่วนงานกำหนด (อ้างอิงตามข้อที่ 18)

คำตอบ
เนื่องด้วยการบริหารงบประมาณของโครงการ มหาวิทยาลัยและส่วนงานจะต้องควบคุมการใช้จ่ายเงินของโครงการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของแหล่งทุน และงบประมาณที่โครงการได้รับอนุมัติจากแหล่งทุน ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถอนุมัติให้โครงการใช้จ่ายงบประมาณตามรายการที่มีการเบิกจ่ายจริงได้

คำตอบ

ให้หัวหน้าโครงการดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำรายละเอียดคุณลักษณะครุภัณฑ์ ตามแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 1 ชุดต่อรายการ (รายละเอียดไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม)
  2. จัดหาใบเสนอราคา จำนวน 1 บริษัทต่อรายการ (ควรยืนยันรายละเอียดการสั่งซื้อและคุณลักษณะครุภัณฑ์กับบริษัท และอัพเดตใบเสนอราคาให้เป็นปัจจุบัน)
  3. นำส่งเอกสารในข้อ 1 และ 2 ผ่านฝ่ายวิจัยส่วนงานต้นสังกัด มายังงานบริหารเงินทุนวิจัย กองบริหารงานวิจัย เพื่อตรวจสอบและเสนออธิการบดีหรือรองอธิการบดีที่ได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาอนุมัติ (ผ่านศูนย์เครื่องมือกลาง มหาวิทยาลัยมหิดล)

เมื่อได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการจัดซื้อตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2566 รวมถึงการคืนเงินคงเหลือค่าครุภัณฑ์ให้แก่มหาวิทยาลัย (ถ้ามี)

คำตอบ

สำหรับนักวิจัยรุ่นใหม่ สามารถขอทุน STARTER ได้เนื่องจากทุน STARTER กำหนดเพียงให้หัวหน้าโครงการมีอายุไม่เกิน 35 ปี หรือปฏิบัติงานเต็มเวลาในมหาวิทยาลัยมหิดลไม่เกิน 2 ปีเท่านั้น และเมื่อเสร็จสิ้นโครงการสามารถส่งผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับ Q2 จำนวน 2 เรื่อง แทนระดับ Q1 จำนวน 1 เรื่องได้

คำตอบ

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเบิกจ่ายค่าตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ (ค่า Page Charge) ของโครงการที่ได้รับทุน FF ประจำปี 2566 กำหนดว่า จะต้องเป็นบทความที่หัวหน้าโครงการเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หรือเป็นผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) และจะต้องระบุชื่อส่วนงานและมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นต้นสังกัด (affiliation) ของหัวหน้าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนอย่างถูกต้อง