การพัฒนาแบบจำลองเซลลูลาร์ ออโตมาตา เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นข้าว และทำนายผลผลิตข้าว ในแปลงนาที่เพาะปลูกด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต สำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
August 26, 2019
การพัฒนาชุดอุปกรณ์ และรูปแบบการสอน การฝึกผ่าตัดส่องกล้องจำลอง
August 30, 2019

คุณภาพของภาพจากอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูก กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใหม่ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกแบบดั้งเดิม

คุณภาพของภาพจากอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูก กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใหม่ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกแบบดั้งเดิม

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

คุณภาพของภาพจากอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูก กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใหม่ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกแบบดั้งเดิม

ผลงานวิจัย:

คุณภาพของภาพจากอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูก กับโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใหม่ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกแบบดั้งเดิม

ผู้วิจัย:

พญ.นรินธร ศักดิ์ศรียุทธนา (ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)
ผศ. นพ.ธงชัย พงศ์มฆพัฒน์ (ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)
นพ.ปวิน นำธวัช (ภาควิชาระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)

ในปัจจุบัน กล้องส่องจมูกเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวินิจฉัยโรคทางไซนัส โดยกล้องส่องจมูก มีหลายรูปแบบ ได้แก่ 1. กล้องส่องจมูกที่มีเฉพาะเลนส์ (Eyepiece Endoscope) 2. กล้องส่องจมูกที่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์(Computer – based Nasal Endoscope) 3. กล้องส่องจมูกแบบที่มีหน้าจอติดกับอุปกรณ์ (Camera System Nasal Endoscope) ชนิดที่นิยมที่สุด คือ กล้องส่องจมูกที่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์(Computer – based Nasal Endoscope) แต่อุปกรณ์นี้มีข้อเสีย ได้แก่ ราคาแพง และเคลื่อนย้ายไม่สะดวก ในทางกลับกัน อุปกรณ์แบบดั้งเดิม (Eyepiece Endoscope) ราคาถูก และสามารถเคลื่อนย้ายได้ แต่มีข้อเสีย คือ แพทย์ผู้ตรวจจะต้องมองผ่านเลนส์ด้วยตาโดยตรง ไม่สามารถดูภาพร่วมกับแพทย์ผู้อื่นได้ เนื่องด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น จึงมีการพัฒนาอุปกรณ์แบบที่สาม (Camera System Nasal Endoscope) ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้ และบันทึกภาพได้ แต่เนื่องจากราคาที่ค่อนข้างสูง จึงยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก

วัตถุประสงค์ ระยะแรก เพื่อพัฒนาอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกกับโทรศัพท์มือถือ (Smartphone – based Nasal Endoscope) โดยออกแบบ และผลิตจากการพิมพ์สามมิติ ระยะที่สอง เพื่อเปรียบเทียบภาพที่ได้จากการส่องกล้องจมูกผู้ป่วย ในอุปกรณ์ทั้ง 2 ประเภท และเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของแพทย์ และผู้ป่วย เปรียบเทียบระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อกล้องส่องจมูกกับโทรศัพท์มือถือ กับกล้องส่องจมูกที่มีเฉพาะเลนส์ (Eyepiece Endoscope) และที่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ (Computer – based Nasal Endoscope)

วิธีการศึกษา พัฒนาอุปกรณ์ที่มีลักษณะเฉพาะ เพื่อเชื่อมต่อกล้องส่องจมูก และโทรศัพท์มือถือ (Smartphone – based Nasal Endoscope) จากนั้นส่องกล้อง และถ่ายภาพจมูกผ่านโทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์ (computer – based Nasal Endoscope) ในผู้ป่วยทั้งหมด 15 ราย จากนั้นให้แพทย์โสต ศอ นาสิก 19 ท่าน ทำแบบประเมินวัดคุณภาพของภาพทั้งหมด 30 ภาพ

ผลการศึกษา พบว่าคะแนนความเจ็บปวดของผู้ป่วยที่ใช้อุปกรณ์ทั้งสองแบบ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คุณภาพของภาพเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองอุปกรณ์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกหัวข้อ ยกเว้น ด้านความสว่างของภาพ ซึ่งอุปกรณ์ใหม่มีคะแนนสูงกว่า นอกจากนี้ คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของแพทย์ในอุปกรณ์ใหม่ ด้านการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ และความสะดวกในการถ่ายภาพ รวมถึงส่งต่อภาพเพื่อปรึกษา สูงกว่าอุปกรณ์ดั้งเดิม

สรุป พบว่าความพึงพอใจของแพทย์ผู้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือกับกล้องส่องจมูก ด้านความสะดวกในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ความสะดวกในการถ่ายภาพ และส่งต่อภาพ มากกว่าอุปกรณ์ดั้งเดิม นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณภาพของภาพจากอุปกรณ์ใหม่ ไม่แตกต่างจากอุปกรณ์เดิมอย่างมีนัยสำคัญ จึงสามารถนำอุปกรณ์ใหม่ดังกล่าวไปใช้งานได้จริง

รางวัลที่ได้รับ:
• รางวัลผลงานวิจัยของแพทย์ประจำบ้านดีเด่น อันดับ 2 งานประชุมราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย

การเผยแพร่ผลงาน:
• วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 : มกราคม – มิถุนายน 2561

การติดต่อ:
ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
+66 2 201 1515