ผังแม่บทมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2551 มีแนวคิดในการพัฒนามหาวิทยาลัยที่ต้องการสร้าง “มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน” ส่งเสริมการอยู่อาศัยและการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ (“A promise place to Live and Learn with Nature”) โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยและการศึกษา มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ มีลักษณะทางกายภาพที่ตอบสนองสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อย่างกลมกลืน มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นบ้านที่สอง และเป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณของชาวมหิดลทั้งมวล โดยปัจจัยสำคัญของการพัฒนาดังกล่าวมีปัจจัยหลัก 3 ปัจจัย คือ ด้านสังคม ด้านกายภาพ และด้านสิ่งแวดล้อม
แนวคิดหลักที่สำคัญในการสร้างมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ คือ มหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) มหาวิทยาลัยเปรียบเสมือนเป็นสวนพฤกษศาสตร์ (Arboretum) อันเป็นแนวทางหลักของการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัย ที่จะดำเนินไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่บูรณาการสิ่งแวดล้อมที่ร่มรื่น ส่งเสริมสุขภาวะ สะอาด ปราศจากมลพิษ มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม เป็นระเบียบเรียบร้อย กลมกลืนกับธรรมชาติ มีพื้นที่โล่ง พื้นที่สีเขียว เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและเอื้อต่อกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังส่งเสริมการลดการใช้พลังงาน สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน เพื่อให้นักศึกษาและประชาคมชาวมหิดล สามารถอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และใช้ชีวิตอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้น การพัฒนาดังกล่าว ยังมุ่งหมายให้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นผู้นำแก่ชุมชนข้างเคียงด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอีกด้วย
มหาวิทยาลัยได้ขยายกรอบความคิดจาก Green University ในการพัฒนาทางกายภาพไปสู่มหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco University) ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่
หลักสำคัญคือการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ให้ความสำคัญต่อการลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ รวมถึงการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ และเชื่อมโยงกับชุมชนเป็นเครือข่ายความร่วมมือต่างๆ อย่างยั่งยืน
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยดำเนินนโยบายมุ่งสู่การเป็น มหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน (Sustainable University) โดยดำเนินการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Mahidol University Sustainability Action) ตาม 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีทรัพยากรพันธุ์ไม้และแหล่งน้ำอยู่มาก การพัฒนาต้องก่อเกิดดุลยภาพระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา จึงมีการกำหนดพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียวและพื้นที่พัฒนาอย่างชัดเจน โดยคงรักษาพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด ตามผังแม่บทมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมพื้นที่สีเขียว และเก็บรักษาพื้นที่อนุรักษ์ที่ อุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์ รวมทั้ง การรักษาระบบนิเวศของพื้นที่แต่ละส่วนให้มีสภาพเป็นธรรมชาติเดิมให้มากที่สุด และจัดการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่ใหม่ให้มากขึ้น โดยการเพิ่มปริมาณต้นไม้ในมหาวิทยาลัย พัฒนาพื้นที่ทิ้งร้างหรือไม่มีการใช้ประโยชน์ พื้นที่รอบอาคาร ระเบียง ดาดฟ้า และโถงภายในอาคาร ให้เป็นพื้นที่สีเขียวแนวราบหรือสวนแนวตั้ง
นอกจากนั้น การนำพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวมาพัฒนาเพื่อการใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการศึกษา กีฬา นันทนาการ และเป็นองค์ประกอบอาคารอย่างสมดุล โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่กิจกรรม ทางเดินต่างๆ และการปรับปรุงพื้นที่แหล่งน้ำ เพื่อให้เกิดความใกล้ชิดกับธรรมชาติและเกิดปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมของประชาคมชาวมหิดลมากขึ้น เสริมสร้างคุณภาพชีวิตและบรรยากาศที่ดีและปลอดภัยในการทำงาน มีการสร้างภูมิทัศน์ สวนสาธารณะ ที่มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ทั้งพืชพรรณไม้พื้นถิ่น พืชสมุนไพร และพืชพรรณเพื่อการศึกษาวิจัย รวมไปถึงการสร้างเอกลักษณ์และเหมาะสมของพื้นที่ทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของมหิดล ก่อให้เกิดการใช้พื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนและสังคม
พื้นที่สีเขียว สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals–SDGs)
เป้าที่ 7 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการที่ส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การลดใช้พลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานสะอาด ส่งเสริมเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เป้าที่ 13 พื้นที่กิจกรรมหรือโครงการด้านการจัดการรับมือภัยพิบัติ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การลดภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าที่ 15 พื้นที่การใช้ประโยชน์และอนุรักษ์ระบบนิเวศทางบก ความหลากหลายทางชีวภาพ สัตว์ประจำถิ่น และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
พื้นที่สีเขียวแนวตั้ง
Vertical Green
การพัฒนามหาวิทยาลัยมหิดลต้องการสร้าง “มหาวิทยาลัยเมืองในฝัน” ส่งเสริมการอยู่อาศัยและการเรียนรู้ควบคู่ไปกับธรรมชาติ (“A promise place to Live and Learn with Nature”) โดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัยและการศึกษา ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Greens University) คงพื้นที่ว่างและพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมดตามผังแม่บทมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้กำหนดนโยบายการพัฒนาด้านกายภาพมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอย่างยั่งยืน (Sustainable University) โดยดำเนินการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Mahidol University Sustainability Action) ตาม 17 เป้าหมายของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : 17 SDGs) ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พื้นที่สีเขียวและพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง (Green area / Vertical Green) เป็นนโยบายหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่จะส่งเสริมการพัฒนาด้านกายภาพอย่างยั่งยืน เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์ สร้างทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนประชาคมชาวมหิดลได้ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยลดอุณหภูมิความร้อน เพิ่มอากาศบริสุทธิ์ ดูดซับและกรองฝุ่น ควัน และมลพิษต่างๆ ในอากาศ รวมทั้งเป็น Landmark ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสภาพแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พื้นที่สีเขียวแนวตั้งหรือสวนแนวตั้ง (Vertical Garden) เป็นศิลปะสถาปัตยกรรมธรรมชาติ(Vertical Garden The art of organic architecture ) ซึ่งอาจมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และสามารถกำหนดความหลากหลายของพืชพรรณให้เหมาะสมกับรูปแบบอาคาร สิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศของแต่ละพื้นที่หรือบริเวณได้ สวนแนวตั้งสามารถแบ่งตามลักษณะชนิดของอุปกรณ์ได้ 5 ประเภท ดังนี้
ประโยชน์ของสวนแนวตั้ง
1) เพิ่มพื้นที่สีเขียว
2) ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างระบบนิเวศ ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันเป็นสาเหตุหลักของปัญหาโลกร้อน และยังช่วยลดฝุ่นละอองและสารพิษบางชนิด
3) ลดความร้อนในอาคาร ช่วยประหยัดพลังงาน
4) ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย และสร้างบรรยากาศสุนทรียภาพให้กับพื้นที่
5) เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น แมลงต่างๆ
อ้างอิงจาก : คู่มือแนวทางการออกแบบโครงข่ายสีเขียวและพื้นที่สีเขียวแนวตั้ง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
สวนแนวตั้งในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา สามารถพบเห็นสวนแนวตั้งได้หลายแห่งและหลายรูปแบบ ทั้งในพื้นที่ส่วนกลางและส่วนงานมหาวิทยาลัย เป็น Landmark ของมหาวิทยาลัยและที่จดจำของผู้พบเห็น ช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีและบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ตัวอย่าง เช่น
สวนแนวตั้งในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ที่ดำเนินการโดย กองกายภาพและสิ่งแวดล้อม
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |