ลักษณะงานจะเป็นการปฏิบัติงานในการสร้างกระบวนการแสวงหา จูงใจ และการประเมินเพื่อวัดศักยภาพและความสามารถของบุคคล เพื่อให้ได้ผู้มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมเข้ามาทำงานในมหาวิทยาลัย โดยสามารถแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
|
|||
|
ประเภทระดับปฏิบัติการ
|
||
|
ประเภทระดับบริหาร
|
||
|
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (อำนวยการ/หัวหน้างาน) ในสำนักงานอธิการบดี
|
||
|
ตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550
|
||
|
ประเภทระดับปฏิบัติการ
|
||
|
หน่วยสรรหาและคัดเลือกจะทำหน้าที่ 2 บทบาทได้แก่
ในระดับมหาวิทยาลัย จะทำหน้าที่ให้คำปรึกษา กำกับ ดูแล และปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือกให้มีประสิทธิภาพ และ ในระดับสำนักงานอธิการบดี จะรับผิดชอบในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรในสำนักงานอธิการบดีทั้งกระบวนการ เริ่มตั้งแต่การรับสมัคร การสอบคัดเลือก การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ค่าตอบแทน การประกาศผลการคัดเลือก และรายงานตัว ฯลฯ |
||
|
|||
|
ประเภทระดับบริหาร
|
||
จะรับผิดชอบในการสรรหาและแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหารในมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้
|
|||
|
ตำแหน่งประเภทผู้บริหาร (อำนวยการ/หัวหน้างาน) ในสำนักงานอธิการบดี
|
||
เป็นการสรรหาและคัดเลือกบุคคลในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกอง และหัวหน้างานในกองต่างๆ ภายในสำนักงานอธิการบดี โดยจะทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานตั้งแต่เริ่มกระบวนการ ได้แก่การกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาและคัดเลือก การรับสมัคร การคัดเลือก จนถึงการเสนอผู้มีอำนาจในการพิจารณาลงนามในคำสั่งบรรจุและแต่งตั้ง
|
|||
|
ตำแหน่งประเภทผู้บริหารตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550
|
||
|
ตำแหน่งอธิการบดี
|
||
เป็นกระบวนการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งประเภทบริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่การเสนอสภามหาวิทยาลัยกำหนดคุณลักษณะและค่าน้ำหนักของตำแหน่ง การแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ประสานงานจัดการประชุมคณะกรรมการสรรหา การเสนอชื่อบุคคล จนถึงขั้นตอนการเสนอโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
|
|||
|
ตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน
|
||
ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบในการประสานงานและดำเนินการสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนงาน ตั้งแต่การประสานกับส่วนงานเพื่อเสนอสภามหาวิทยาลัยการแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา จัดการประชุมคณะกรรมการสรรหา การเสนอชื่อบุคคล จนถึงขั้นตอนเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณาแต่งตั้ง
|
|||
|
ตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา /หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา
|
||
เป็นการปฏิบัติงานประสานงานกับส่วนงานเพื่อให้ได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชา โดยทำหน้าที่ประสานงานกับส่วนงานเพื่อเสนออธิการบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหา ประสานงานจัดผู้แทนมหาวิทยาลัยเข้าร่วมเป็นกรรมการสรรหา ตรวจสอบคุณสมบัติและจัดทำคำสั่งเสนออธิการบดีพิจารณาแต่งตั้ง
|
|||
|
การบรรจุและแต่งตั้ง
|
||
เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการสรรหาและคัดเลือก หน่วย ฯ จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้การบรรจุและแต่งตั้งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด รวมทั้งประสานงาน อำนวยความสะดวกในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การขอนับระยะเวลาการชดใช้ทุน การขออนุมัติปรับพอกเงิน การเสนอขอยกเว้นคุณสมบัติตำแหน่ง ฯลฯ เป็นต้น
ในกรณีของสำนักงานอธิการบดี หน่วย ฯ จะทำหน้าที่บรรจุและแต่งตั้งผู้ได้รับคัดเลือก โดยกระบวนการเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบอัตราที่ใช้บรรจุ (กรณีพนักงานมหาวิทยาลัย) การปรับพอกเงิน การวิเคราะห์เงินเดือนค่าตอบแทนที่ควรได้รับ การจัดทำคำสั่งเสนอลงนาม นอกจากนี้เมื่อมีพนักงานมหาวิทยาลัยครบระยะเวลาการจ้างตามสัญญาและประสงค์จะต่อสัญญาจ้าง หน่วยฯ มีหน้าที่ในการตรวจสอบและจัดทำคำสั่งจ้างต่อตามที่ส่วนงาน/หน่วยงานเสนอ |
|||
|
การเปลี่ยนประเภทการจ้าง
|
||
หมายถึงกระบวนการที่บุคลากรที่มีประเภทการจ้างแบบหนึ่งสามารถเปลี่ยนมาเป็นประเภทการจ้างใหม่ เช่น การเปลี่ยนประเภทการจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) เป็น พนักงานมหาวิทยาลัย หรือ การเปลี่ยนประเภทการจ้างลูกจ้างประจำเงินนอกงบประมาณเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน)
|
|||
|
การขยายเวลาสัญญาจ้าง
|
||
เป็นกระบวนการที่พนักงานมหาวิทยาลัย/พนักงานชื่อส่วนงานมีความจำเป็นที่จะต้องขยายเวลาการจ้าง ในขณะที่สัญญาการจ้างเดิม ยังไม่สิ้นสุด เช่น ได้รับอนุมัติให้ลาไปเพิ่มพูนความรู้ ฯลฯ มหาวิทยาลัย/ส่วนงาน สามารถที่จะจัดทำคำสั่งให้ขยายระยะเวลาการจ้างให้ครอบคลุมหรือเป็นไปตามระยะเวลาที่พนักงานและส่วนงานตกลงกันไว้
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมหาวิทยาลัย มีนโยบายที่ห้ามพนักงานมหาวิทยาลัยลดระยะเวลาการจ้างลงในระหว่างที่ระยะเวลาตามสัญญาการจ้างเดิมยังไม่สิ้นสุด |
|||
|
เป็นกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งประเภทต่าง ๆ ตามที่ข้อบังคับมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ ได้แก่
|
||
|
การแต่งตั้งรองอธิการบดี/ผู้ช่วยอธิการบดี
|
||
|
การแต่งตั้งรองหัวหน้าส่วนงาน/ผู้อำนวยการโรงพยาบาล/รองผู้อำนวยการโรงพยาบาล/ รองหัวหน้าภาควิชาและหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา
|
||
|
การแต่งตั้งคณะกรรมการประจำ/คณะกรรมการนโยบายและคณะกรรมการอำนวยการของส่วนงานต่าง ๆ
|
||
|
เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องกับการบรรจุและแต่งตั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณสมบัติ ความเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติ โดยทั่วไปตามหลักเกณฑ์จะไม่กำหนดระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงานขั้นต่ำไว้ แต่จะกำหนดระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงาน หรือหากมีการขยายเวลาการทดลองปฏิบัติงานไว้จะต้องรวมระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่บรรจุและแต่งตั้ง
|
||
|
การเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยของผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร
|
||
เป็นการดำเนินการตามข้อบังคับ ฯ ว่าด้วยการสรรหาผู้บริหารประเภทต่าง ๆ ที่มีวาระการดำรงตำแหน่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งจะต้องเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือหากยังเป็นข้าราชการจะต้องแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยต่อคณะกรรมการสรรหา หากได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร ฯ ดังนั้น เมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับแต่งตั้งจึงต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย
|
|||
|
|||
ในกรณีที่ส่วนงาน/หน่วยงาน ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประเภทผู้บริหาร หรือมีผู้ดำรงตำแหน่งแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เพื่อให้การบริหารงานของส่วนงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงจำเป็นต้องมีการแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งดังกล่าว โดยส่วนงานสามารถแต่งตั้งผู้รักษาการแทนในตำแหน่งรองหัวหน้าส่วนงาน หัวหน้าและรองหัวหน้าหน่วยงานภายในส่วนงาน รวมทั้งหัวหน้าและรองหัวหน้าโครงการจัดตั้งหน่วยงานในส่วนงานได้เองโดยไม่ต้องเสนอมายังมหาวิทยาลัย
|