1) บุคลากรที่สามารถเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ มีบุคลากรประเภทใดบ้าง
  • ข้าราชการ , พนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) , พนักงานมหาวิทยาลัยชื่อส่วนงาน (พส.) , พนักงานวิทยาลัย
  • สำหรับกลุ่มลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถขอตำแหน่งได้ หากมีความประสงค์จะขอตำแหน่งต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก่อน

Update ! (วันที่ 30 กรกฎาคม 2567)

2) พนักงานมหาวิทยาลัยชื่อส่วนงาน (พส.) เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) หรือข้าราชการ เปลี่ยนสถานภาพ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) สามารถนับระยะเวลารวมเพื่อเป็นคุณสมบัติในการขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ สามารถนับระยะเวลารวมต่อเนื่องกันได้ ยกเว้นกรณีลูกจ้างหากเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้วไม่สามารถนับระยะเวลาต่อเนื่องได้ ต้องเริ่มนับระยะเวลาใหม่

3) การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเภท คู่มือปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ เผยแพร่เมื่อใด อย่างไร
  • เผยแพร่หลังจากที่ ก.บ.ค. มีมติอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง โดยเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เสนอขอ จำนวน ๔ แห่ง โดยเป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยซึ่งมิใช่ส่วนงานที่ผู้เสนอขอตำแหน่งสังกัดอยู่จำนวน ๑ แห่ง และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวน ๓ แห่ง และให้ส่งหลักฐานแบบตอบรับ หรือหนังสือตอบขอบคุณจากหน่วยงานที่นำไปเผยแพร่แล้วไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
4) ผลงานทางวิชาการที่นำมาเสนอขอตำแหน่ง มีการกำหนดอายุ (ระยะเวลา) ของผลงานหรือไม่
  • คำตอบ
    ไม่ได้กำหนดอายุ (ระยะเวลา) ของผลงาน แต่ควรคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง การนำไปประยุกต์ใช้
5) กรณีข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นแล้ว แต่ต้องขอ ความเห็นชอบเงินประจำตำแหน่งไปยัง อว. ขอทราบระยะเวลาดำเนินการว่าจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเมื่อใด

คำตอบ ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ เนื่องจากทาง อว. ต้องตรวจสอบเอกสารและนำเสนอที่ประชุม เพื่อพิจารณาหรืออาจมีการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยประมาณแล้วอยู่ระหว่าง 10 – 12 เดือน ทั้งนี้ หากได้รับการอนุมัติเงินประจำตำแหน่งจาก อว. แล้ว จะมีผลย้อนหลังให้ (ยกเว้นกรณีที่มีการแก้ไขค่างานจะมีผลตั้งแต่วันที่ ก.บ.ค. อนุมัติผลการประเมินค่างานที่ได้ปรับปรุงใหม่)

 

6) ระดับปฏิบัติการ ถ้าปฏิบัติงานไม่ถึงระยะเวลาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถเสนอขอตำแหน่ง สูงขึ้นได้หรือไม่ หากเสนอขอตำแหน่งได้มีข้อแตกต่างจากผู้ที่ขอที่มีคุณสมบัติครบอย่างไร

คำตอบ

  1. หากปฏิบัติงานไม่ถึงระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยวิธีพิเศษ
  2. หากปฏิบัติงานครบระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยวิธีปกติ

ความแตกต่างระหว่างวิธีปกติและวิธีพิเศษ

วิธีปกติ    คุณสมบัติด้านระยะเวลาครบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  • คุณวุฒิปริญญาตรีปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • คุณวุฒิปริญญาโทปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • คุณวุฒิปริญญาเอกปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

วิธีพิเศษ  คุณสมบัติด้านระยะเวลาไม่ครบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

Update ! ( วันที่ 26 สิงหาคม 2567 )

7) กรณีที่บุคลากรเปลี่ยนตำแหน่งใหม่และมีความประสงค์เสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น ซึ่งจะต้องรอให้ครบ คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยที่กำหนด ส่งผลให้ไม่สามารถเสนอขอตำแหน่งได้ ต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะครบคุณสมบัติตามเกณฑ์ จะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้โดยไม่ต้องรอให้ครบคุณสมบัติตามที่กำหนด
  • กรณีเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ส่งผลให้หน้าที่ความรับผิดชอบเปลี่ยนไปตามภาระงานที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ดังนั้นผู้ที่เปลี่ยนตำแหน่งจะต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะครบตามคุณสมบัติจึงจะขอตำแหน่งได้ หากประสงค์เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอระยะเวลาให้ครบสามารถยื่นเรื่องมายังมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัตินับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น โดยชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ จัดทำตารางเปรียบเทียบภาระงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาระงานที่เคยปฏิบัติในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ย้อนหลัง 3 ปี หรือ 5 ปี ตามคุณวุฒิแรกบรรจุ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาการนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
8) ผลงานที่เคยทำไว้ตอนที่ดำรงตำแหน่งเดิมหากเปลี่ยนตำแหน่งใหม่จะสามารถนำผลงานเดิมมายื่นเสนอขอ ตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร
  • สามารถนำผลงานเดิมที่สร้างสรรค์ไว้ตอนที่ดำรงตำแหน่งเดิมมาประกอบการเสนอขอตำแหน่งได้ โดยผลงานที่นำมาขอตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่สอดคล้องภาระงานที่ปฏิบัติและตำแหน่งที่ครองอยู่ (ตำแหน่งที่เปลี่ยน)เนื่องจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในงานของตำแหน่งที่ครองอยู่
9) ผลงานวิจัยสำหรับขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญมีการกำหนดหรือไม่ว่าต้องตีพิมพ์ในระดับใด Q1 หรือ Q2 หรือ และต้องมี Citation ในระดับเท่าไร

การขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ
งานวิจัยต้องตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ (TCI กลุ่ม 1 หรือ 2) และหรืออยู่ในระดับนานาชาติ โดยไม่ได้กำหนดระดับใด Q และ Citation

10) การนำเสนอบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (Proceedings) สามารถนำผลงานเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่
  • ระดับผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ สามารถนำผลงานที่เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ
  • ระดับชาติหรือนานาชาติมาเสนอขอตำแหน่งได้ โดยจะต้องแสดงหลักฐานดังนี้ ปก Proceedings , รายชื่อPeer review และผลงาน
11) งานวิเคราะห์กับงานสังเคราะห์ต่างกันยังไง พร้อมยกตัวอย่างแต่ละงานประกอบ

คำตอบ

งานวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ  เช่น การวิเคราะห์เอกสาร เช่น วิเคราะห์งบประมาณ , วิเคราะห์หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ไม่ใช่แนบบสอบถาม แต่จะใช้การเก็บรวบรวม- ข้อมูล หรือผลงานบางเรื่องไม่มีประชากร เช่น วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ , วิเคราะห์แผน , วิเคราะห์กลยุทธ์ หากมีประชากร จะไม่ใช้แนบบสอบถาม เช่น วิเคราะห์อัตรากำลัง , วิเคราะห์ค่างาน หรือภาระงาน

งานสังเคราะห์ เป็นผลงานที่รวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในเรื่องนั้น ๆ เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการทำงานใหม่ โดยเน้นที่เป็นของใหม่หรือเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์ หรือองค์ความรู้ใหม่

Update ! ( วันที่ 27 กันยายน 2567 )

12) คุณสมบัติของผู้ประเมินผลงาน มีคุณสมบัติอย่างไร

คำตอบ     ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินผลงาน หากเป็นสายสนับสนุนจะมีตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ที่เสนอขอตำแหน่ง เช่น หากผู้เสนอขอตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีตำแหน่งระดับผู้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป หากเป็นสายวิชาการมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ผู้เสนอขอตำแหน่งขอรับการประเมิน

13) เอกสารประกอบการบรรยายควรมีรายละเอียดยังไงบ้าง

คำตอบ     เอกสารประกอบการบรรยาย ประกอบด้วยรายละเอียดครบถ้วน สมบูรณ์ จนสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ สามารถประเมินความชัดเจนขององค์ความรู้ ความครอบคลุมเนื้อหาและความถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น อาจมีภาพตัวอย่างข้อมูล หรือกรณีศึกษาประกอบ

14) คำจำกัดความของ full paper, abstract, proceeding มีความหมายอย่างไร

คำตอบ

Full paper         หมายถึง ผลงานฉบับเต็มที่มีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ (บทที่ 1 – 5) ,

Abstract            หมายถึง ข้อมูลสรุปเนื้อหาของงานวิจัย/บทความทางวิชาการ ใช้ข้อความสั้นกระทัดรัดและกระชับ(Concision) มีความถูกต้อ(Precision) และมีความชัดเจน (Clarity)

Proceedings     หมายถึง ชุดเอกสารที่ตีพิมพ์ที่ใช้ประกอบในการประชุมวิชาการในระดับชาติ/นานาชาติ ซึ่งจะอยู่ในรูปของรวมหนังสือการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

15) งานวิจัยที่เสนอขอตำแหน่งในระดับผู้ชำนาญการพิเศษต้องตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่ และลักษณะการเผยแพร่มีวิธีใดบ้าง

คำตอบ     กรณีเสนอผลงานวิจัยต้องตีพิมพ์เผยแพร่ก่อน โดยการเผยแพร่สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

  1. รูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  2. รูปแบบหนังสือรวมบทความ
  3. รูปแบบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
16) การเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ หัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนฯ ต้องแสดงหลักฐานใดบ้าง

คำตอบ     หัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนฯ หมายถึง การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ  การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น ๆ เอกสารหลักฐาน ได้แก่ คำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการหรือที่ปรึกษาในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง, หนังสือเชิญเป็นวิทยากร , ยกเว้น รูปถ่าย หรือกิจกรรมที่ทำโดยภาระหน้าที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมาย หรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน

Update ! ( วันที่ 28 ตุลาคม 2567 )

17) ถ้าได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายระดับชาติ มีจดหมายเชิญและมี agenda ชัดเจนแล้วมีเอกสารประกอบคำบรรยายนับเป็น ผลงานได้หรือไม่ และนำมาเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ     สามารถนับเป็นผลงานที่นำมาใช้เสนอขอตำแหน่งได้ในประเภทเอกสารประกอบการบรรยาย (3 หัวข้อ เท่ากับ 1 เรื่อง)หรือหากไม่นำมาเป็นผลงานในการเสนอขอตำแหน่ง สามารถนำมาใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน

18) หากทำผลงานเพื่อเสนอขอตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ สามารถสะสมผลงานไว้ขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญควบคู่กันได้หรือไม่

คำตอบ    สามารถทำผลงานสะสมไว้ได้

19) หากมีฐานะเป็น Corresponding author จะต้องแสดงหลักฐานอย่างไร

คำตอบ     หลักฐานจะปรากฏในผลงานที่ตีพิมพ์อย่างชัดเจน เช่น * หรือ        ท้ายชื่อบุคคลนั้น ๆ

20) กรณีทำผลงานร่วมกันทำ 2 คน สามารถแบ่งร้อยละการมีส่วนร่วมร้อยละ 50 ทั้ง 2 ได้หรือไม่

คำตอบ     กรณีทำผลงานร่วมกัน 2 คน และแบ่งการมีส่วนร่วมร้อยละ 50 เท่า ๆ กัน สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้ทั้ง 2 คน และให้ถือว่าทั้ง  2 คน เป็นผู้ดำเนินการหลัก

21) การคำนวณภาระงานย้อนหลัง 3 ปี คำนวณอย่างไร

คำตอบ   การคำนวณชั่วโมงปฏิบัติงาน ดังนี้

ชั่วโมงปฏิบัติงานวันปกติ ปฏิบัติงานวันละ 7 ชม

จำนวนวันทำการปกติ (จันทร์ – ศุกร์) 5 วันจำนวนสัปดาห์ต่อปี  52 สัปดาห์

ดังนั้น คำนวณจาก (7 ชม.*5 วัน)* 52 สัปดาห์ =   1,380 ชั่วโมงทำการต่อปี

Update ! ( วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 )

22) กรณีมิใช่ผู้ดำเนินการหลัก ซึ่งมีส่วนร่วมน้อยกว่าร้อยละ 50% หรือไม่ใช่ชื่อแรกสามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ    สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้ โดยให้ถือว่าเป็นผลงานที่เป็นผู้ร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ผู้ขอตำแหน่งต้องมีผลงานหลักของ

ตนเองตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วย

23) กรณีที่ผู้ขอตำแหน่งเคยนำผลงานมาใช้ขอตำแหน่งไปแล้ว ผู้ร่วมงานจะนำผลงานนั้นมาขอตำแหน่งสามารถ ใช้ผลการ ประเมินเดิมได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ   กรณีการขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นในระดับตำแหน่งเดียวกัน และสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอตำแหน่งสูงขึ้นมาแล้วหากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งสูงขึ้นมาก่อนมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ขอตำแหน่งคนเดิมหรือคนใหม่ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละเรื่องที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก เว้นแต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าเป็นผลงานที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือมีเหตุสมควรอื่นที่ไม่ใช้ผลการพิจารณานั้น

24) งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ ต้องยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยด้วยหรือไม่ เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลซึ่งเป็น ประชากร

คำตอบ    ปัจจุบันงานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ มหาวิทยาลัยยังไม่กำหนดให้ขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย แต่หากมีการต่อยอดเป็นงานวิจัย เห็นสมควรให้ยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนไว้ก่อน เนื่องจากการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยไม่สามารถยื่นขอย้อนหลังได้

25) หากผลงานที่เสนอขอตำแหน่งเป็นประเภทงานวิจัยและเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยได้รับการรับรองจากสถาบันอื่น ซึ่งมีผู้ร่วมงานที่สถาบันนั้นเป็นผู้ขอเอกสารรับรองฯ และผู้ขอตำแหน่งเป็นผู้ร่วมดำเนินการ สามารถนำผลงานดังกล่าวมา ขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ     สามารถนำมาขอตำแหน่งได้

26) การตีพิมพ์ผลงานแบบ review article นับเป็นผลงานประเภทใด

คำตอบ    ประเภทบทความทางวิชาการ

Update ! (  วันที่ 20 ธันวาคม 2567 )

27) ถ้าผลงานวิจัยอยู่ใน Q1จะถือว่าผลงานชิ้นนี้อยู่ในระดับดีเด่นได้หรือไม่

คำตอบ     การพิจารณาผลงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Q แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

28) แบบเสนอขอตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03) สามารถใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่

คำตอบ   แบบเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03) เป็นเอกสารที่ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยพิจารณา ประกอบ

กับผลงานที่ยื่นเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแบบ พม.03 ได้

  • (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ที่ อว 78 / 04669 เรื่อง การปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอกสารภายในมหาวิทยาลัย)
29) การติดตามการขอตำแหน่งสายสนับสนุนสามารถติดตามผ่านช่องทางใดได้บ้าง

คำตอบ    สามารถติดตามได้ดังนี้

  •  ระบบ HR-Connect > ระบบขอตำแหน่งสายวิชาการ/สนับสนุน > ระบบขอตำแหน่งสายสนับสนุน
  •  e-mail เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
  •  เบอร์โทรศัพท์ 02-8496388 และ 02-8496293
30) ตัวอย่างผลงานการขอตำแหน่งสายสนับสนุนดูได้ที่ไหน

คำตอบ     สามารถดูได้ที่ลิงค์นี้  :  http://intranet.mahidol/op/orpr/newhr/?page_id=126

31) การเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น หากมีความประสงค์จะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทจำเป็นจะต้องศึกษาในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง กับตำแหน่งที่ครองอยู่หรือไม่และจะมีผลต่อการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นหรือไม่

คำตอบ    การศึกษาต่อไม่ได้กำหนดคุณวุฒิที่จะศึกษาว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ครองอยู่ แต่ควรเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้

  •  การลาศึกษาต่อโดยใช้เวลาราชการต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น
  •  หากศึกษาต่อโดยใช้เวลานอกราชการควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นรับทราบ

Update ! (วันที่ 29 มกราคม 2568)

32) งานวิจัยที่ใช้เสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ต้องตีพิมพ์ในฐานข้อมูลในระดับชาติหรือนานาชาติทุกเรื่องหรือไม่

คำตอบ    งานวิจัยที่เสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญต้องได้รับการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง

และต้องมีส่วนร่วมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับเรื่องอื่น ๆ จะเผยแพร่ในลักษณะใดก็ได้ เช่น ในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ หรือหนังสือรวมบทความ

33) หากจัดทำผลงาน มีข้อมูลบางส่วนของส่วนงานควรดำเนินการอย่างไร

คำตอบ    ควรแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้นำข้อมูลมาใช้จัดทำผลงาน เช่น ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลที่สำคัญ ฯลฯ เนื่องจากข้อมูลบางอย่างเป็นข้อมูล “ลับ” หรือข้อมูลที่ไม่สมควรเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้รับทราบ และอาจส่งผลกระทบต่อส่วนงานได้

34) กรณีผลงานปรากฏรายชื่อบุคคล หรือข้อมูลที่สำคัญ เช่น เลขที่บัตรประชาชน ควรดำเนินการเช่นไร

คำตอบ    ทำเครื่องหมาย “xxx” แทน หรือทำการคาดแถบดำในข้อมูลนั้น ๆ เพื่อพิทักษ์สิทธิ์

35) Case report สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้หรือไม่ และจำเป็นต้องขอการรับรองจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ    สามารถนำ Case report มาเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ กรณีงานวิจัยที่เป็นการเก็บข้อมูลจาก case report เพียงเคสเดียวไม่ต้องขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน แต่หากมีจำนวนหลาย case ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัย จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน หรือคณะกรรมการ พิจารณาโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ทดลอง แล้วแต่กรณี

36) หลักเกณฑ์พิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพผลงาน พิจารณาจากอะไร และจำนวนกี่ท่าน

คำตอบ     คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จะต้องเป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย แต่ต้องอยู่ต่างสังกัดกับผู้ขอแต่งตั้ง ยกเว้นกรณีที่ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ จากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ให้พิจารณาจากบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยได้ โดยกรรมการจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า

  • วิธีปกติ คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน
  • วิธีพิเศษ คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน
37) เกณฑ์การตัดสินคุณภาพของผลงานและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาชีพของผลงาน มีเกณฑ์อย่างไร

คำตอบ     วิธีปกติ ให้ใช้คะแนนตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

วิธีพิเศษ ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียงของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ

38) การนำรูปภาพที่ประชาสัมพันธ์อยู่บนเว็บไซต์ของส่วนงานต่าง ๆ มาใช้ประกอบการทำงานวิเคราะห์ หรือคู่มือปฏิบัติ ต้องขออนุญาตหรือไม่ อย่างไร

คำตอบ   ให้สังเกตสัญลักษณ์ Creative Commons ที่ปรากฏบนเว็บไซต์นั้น ๆ หากไม่มีสัญลักษณ์ดังกล่าว ต้องขออนุญาตจากเจ้าของเว็บไซต์ทุกครั้ง

Update ! (วันที่ 31 มีนาคม 2568)

39) หนังสือที่เป็น e-book สามารถนำมาขอความก้าวหน้าได้หรือไม่

คำตอบ   สามารถนำเสนอขอตำแหน่งได้ ทั้งนี้ กรณีเผยแพร่เป็น E-book การเผยแพร่โดยสำนักพิมพ์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้ต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งกรณีที่มีรูปภาพ ตาราง ข้อมูล จะต้องแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพ ตาราง ข้อมูล มาประกอบการพิจารณาด้วย

40) อยากทราบตัวอย่างผลงานเชี่ยวชาญของสายสนับสนุน ประเภทบริหารงานทั่วไป

คำตอบ   หมายถึงกลุ่มสนับสนุนทั่วไป ใช่หรือไม่ หรือตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ทั้งนี้หากเป็นกรณีเป็นตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ก็ถือว่าเป็นกลุ่มสนับสนุนทั่วไปโดยหลักเกณฑ์ ได้แก่ เสนอผลงาน 4 เรื่อง คุณภาพระดับดีมาก โดยมีผลงานอย่างน้อย 3 เรื่องที่ผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นชื่อแรก หรือเป็นผู้ดำเนินการหลัก หรือเป็น corresponding author

ประกอบด้วย

  1. งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง และ
  2. งานวิเคราะห์ หรืองานสังเคราะห์ หรือบทความทางวิชาการหรือหนังสือ หรือตำรา หรืองานแปล หรือเอกสารประกอบการบรรยาย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
41) IRB มีอายุไหมคะ? ถ้าขอไปแล้ว ทำวิจัยไม่เสร็จภายในกำหนด คือ ต้องขอใหม่ใช่มั้ยคะ? (สมมติ ผ่านไป 4 ปีแล้วจะกลับมาทำต่อได้หรือไม่) ต้องเปลี่ยนเรื่องเลยใช่มั้ยคะ?

คำตอบ   มีอายุ (Expiring date), ถ้ายังทำไม่แล้วเสร็จ ต้องขอขยายเวลาก่อนหมดอายุ, ถ้าหมดอายุแล้ว ต่อใหม่ไม่ได้, ถ้าหมดอายุไปก่อน แล้วจะกลับมาทำเพิ่ม ต้องยื่นขอใหม่ แต่ใช้แนวคิดของโครงการเดิมได้ ทาง IRB อาจให้ส่ง progress report หรือแจงเหตุผลประกอบ

42) การแบ่งเปอร์เซ็นผลงาน มีผลแค่ไหนในการพิจารณา

คำตอบ   การแบ่งเปอร์เซ็นในผลงาน หมายถึง การมีส่วนร่วมในผลงาน ซึ่งผู้ร่วมงานทุกท่านต้องมีร้อยละ การมีส่วนร่วม ไม่มีไม่ได้ หลักเกณฑ์ได้กำหนดไว้ว่าผู้เสนอขอตำแหน่งต้องเป็นชื่อแรก (ไม่กำหนดร้อยละการมีส่วนร่วม หรือเป็นผู้ดำเนินการหลัก ร้อยละ 50 , หรือเป็น corresponding author มีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ดังนั้น ผลงานที่ท่านนำมาขอท่านต้องมีส่วนร่วมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดก่อนในงานบังคับ และงานเลือกที่ไม่บังคับ ให้ครบตามเกณฑ์ ส่วนงานร่วมอื่น ๆ ไม่กำหนดร้อยละการมีส่วนร่วม ทั้งนี้หากท่านไม่แบ่งร้อยละการมีส่วนร่วมในผลงาน ส่งผลให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิไม่สามารถประเมินคุณภาพผลงานของท่านได้ เพราะไม่ทราบว่าท่านมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำผลงานอย่างไร ส่วนใดบ้างและเหมาะสมกับร้อยละที่ท่านแบ่งกันหรือไม่

43) นักปฏิบัติการวิจัยสามารถใช้ผลงานตีพิมพ์ในประเภทที่เป็น proceeding เพื่อขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้หรือไม่?

คำตอบ   ผลงานตีพิมพ์เป็น proceedings สามารถนำมาใช้ในการเสนอขอตำแหน่งนักปฏิบัติการวิจัย (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ได้

44) เกณฑ์การขอตำแหน่งแบบ fast track มีอะไรบ้าง

คำตอบ  การขอตำแหน่งแบบ fast track ได้แก่
1. กรณีดำรงตำแหน่งไม่ครบคุณสมบัติด้านระยะเวลาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
2. กรณีเสนอขอตำแหน่งแบบข้ามขั้น เช่น ระดับปฏิบัติการ ไม่เสนอขอในระดับตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ แต่เสนอขอในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ
ทั้ง 2 กรณี สามารถเสนอขอแบบวิธีพิเศษ หลักเกณฑ์ จำนวนผลงานและการมีส่วนร่วมเป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด แต่จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิและระดับคุณภาพจะสูงกว่าเกณฑ์ปกติ ได้แก่ จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 ท่าน จะเป็น 4 ท่าน และเสียง 4 ใน 5 ถือเป็นเกณฑ์ตัดสิน

45) สายสนับสนุนสามารถปรับขึ้นตำแหน่งได้อย่างไร

คำตอบ  1. กรณีคุณวุฒิต่ำกว่าระดับปริญญาตรี สามารถเสนอขอตำแหน่งได้ในระดับผู้ชำนาญงานและระดับผู้ชำนาญงานพิเศษ
2. กรณีคุณวุฒิระดับปริญญาตรีขึ้นไป สามารถเสนอขอตำแหน่งได้ในระดับผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (หากเป็นข้าราชการต้องเสนอขอในระดับชำนาญการก่อน)

46) ได้ยินว่าในตำแหน่งเชี่ยวชาญการทำผลงาน อาจต้องมีการทำงานข้ามศาสตร์ หรือข้ามส่วนงาน ข้อมูลนี้จริงหรือไม่ หรือไม่จำเป็น ขึ้นอยู่กับคุณภาพผลงานตามเกณฑ์ เพราะในประกาศ ข้อกำหนดไม่ได้ระบุถึงการทำข้ามส่วนงาน

คำตอบ   ประกาศไม่ได้กำหนด ทั้งนี้ผลงานต้องสอดคล้องกับมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และภาระงานที่

ได้รับมอบหมาย

Update ! (วันที่ 14 พฤษภาคม 2568)

47) อยากทราบวิธีการจัดเตรียมเอกสาร

คำตอบ   เอกสารที่ประกอบการเสนอขอตำแหน่ง ได้แก่
1. แบบ พม.01 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (ผลงานที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่ง) (มีกี่เรื่องทำเรื่องละ 1 ชุด)
2. แบบ พม.02 ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน โครงการ/แนวคิดที่จะทำในอนาคต หลังได้รับตำแหน่งสูงขึ้นแล้ว (อย่างน้อย 1 เรื่อง)
3. แบบ พม.03 แบบคำขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (จำนวน 15 ชุด)
4. แบบ พม.06 แบบแสดงหลักฐานการมีส่วนร่วม (สำเนาไว้ที่ผลงานทุกเล่ม)
5. ผลงานที่ใช้เสนอขตำแหน่ง วิธีปกติ จำนวน 4 ชุด , วิธีพิเศษ จำนวน 6 ชุด
**หมายเหตุ พม.04 และ พม.05 ส่วนงานเป็นผู้ดำเนินการ

48) ขอทราบหลักเกณฑ์การเขียนอ้างอิงผลงานของสายสนับสนุน ในกลุ่มตำแหน่งวิชาชีพเฉพาะ สนับสนุนวิชาการ สนับสนุนทั่วไป ทั้งสายสังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ และเทคโนโลยี

คำตอบ   กรณีการเขียนอ้างอิง ต้องเขียนให้สอดคล้องกันทั้งในเนื้อหาและบรรณานุกรม โดยเลือกเขียนในแบบใดแบบหนึ่ง ได้แก่ แบบ vancuver หรือแบบ APA ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเขียนแบบ vancuver ในสายวิทยาศาสตร์ และแบบ APA ในสายสังคมศาสตร์ แต่ต้องเขียนให้เหมือนกันตลอดทั้งเล่ม และถูกต้องตามหลักวิชาการ

49) อยากให้แนะนำเกี่ยวกับการทำขอตำแหน่งเชี่ยวชาญ (ติดปัญหาดิฉันไม่ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก จึงทำให้ไม่สามารถทำผลงานต่อไปได้ เท่าที่ทราบมาการทำขอตำแหน่งเชี่ยวชาญต้องทำกับหน่วยงานภายนอก) ***มีวิธีการ แนะนำอย่างไรบ้างคะ***

คำตอบ   กรณีการเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ผลงานที่นำมาขอตำแหน่งควรเป็นผลงานที่มี impact ระดับมหาวิทยาลัย มากกว่าทำแค่ระดับหน่วยงานหรือส่วนงาน สำหรับหัวข้อสำคัญในการพิจารณาอีกอย่าง คือ หัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน ซึ่งเป็นหัวข้อหลักในการพิจารณา ได้แก่ การให้คำปรึกษา การเป็นวิทยากร หรือการเป็นคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ครองอยู่ ในหัวข้อนี้มหาวิทยาลัยไม่ได้กำหนดว่าจะต้องเป็นส่วนงานที่ทำภายนอกมหาวิทยาลัยเท่านั้น การใช้ความรู้ความสามารถในระดับส่วนงานก็สามารถนำมาใช้เป็นผลงานได้ แต่ควรมีในระดับมหาวิทยาลัยด้วย กรณีภายนอกหากท่านมีก็จะยิ่งดีถือเป็นเครดิตสำหรบตัวท่าน แต่หากทำไม่ได้จริงๆ ก็เอาเท่าที่มีการพิจารณาจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้ทรงคุณวุฒิ

Update ! (วันที่ 6 มิถุนายน 2568)