คำถาม – คำตอบหัวข้อ “PA Sharing สู่การปฏิบัติงานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ”
โครงการสัมมนาเครือข่ายการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Network & HR Policy) ครั้งที่ 3/2566
วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชาสังคมอุดมพัฒน์ ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน
คำตอบ บุคลากรทุกระดับใช้แบบฟอร์มการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานแบบเดียวกัน เนื่องจากคำว่า “ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น” หมายถึง ผู้ที่มอบหมายงาน กำกับ หรือตรวจสอบ
การปฏิบัติงานของบุคลากร
คำตอบ ส่วนงาน/หน่วยงานสื่อสารและทำความเข้าใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก่บุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจทำให้เกิดทัศนคติที่ดี
คำตอบ การจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานถือเป็นความรับผิดชอบของผู้รับการประเมินและผู้ประเมินรวมทั้งหัวหน้าส่วนงาน ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2565 ในข้อ 16 ข้อ 17 และข้อ 18
คำตอบ ส่วนงาน/หน่วยงานสื่อสารให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญและข้อดีในการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากบุคลากรไม่ดำเนินการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงานตามกรอบเวลาที่กำหนด
คำตอบ ส่วนงาน/หน่วยงานกำกับบุคลากรต้องระบุตัวชี้วัดให้ครบทุกตัว หากกำหนดตัวชี้วัดไม่ครบ จะส่งผลกระทบต่อการประเมินผลการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริงได้ ซึ่งคณะกรรมการอาจใช้ดุลพินิจในการพิจารณา
การประเมินผลการปฏิบัติงาน
ตอบ ส่วนงานสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในรูปแบบออนไลน์ได้ โดยส่วนงานสามารถใช้ระบบที่มหาวิทยาลัยกำลังพัฒนาหรือส่วนงานจะพัฒนาระบบเพื่อใช้ในการประเมินผล
การปฏิบัติงาน
คำตอบ ส่วนงาน/หน่วยงานสื่อสารและทำความเข้าใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก่บุคลากรเกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเข้าใจทำให้เกิดทัศนคติที่ดี
คำตอบ เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่ประสงค์ให้บุคลากรได้รับการเลื่อนเงินเดือน
ณ วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี และผู้ปฏิบัติงานได้มีระยะเวลาในการดำเนินการเกี่ยวกับ
การประเมินผลการปฏิบัติงานและการเลื่อนเงินเดือน
การแต่งตั้งคณะกรรมการประเมิน
คำตอบ
ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและแนวปฏิบัติของแต่ละส่วนงาน
คำตอบ มีผลกระทบกับกระบวนการคัดค้านคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงาน และส่งผลต่อกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือร้องเรียน เนื่องจากคณะกรรมการอุธรณ์จะพิจารณากระบวนการตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2565
ตอบ คณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานต้องเข้าร่วมประชุม เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานครบทุกคน โดยสามารถเข้าร่วมประชุมได้ทั้งรูปแบบ Onsite และ Online
ตอบ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2565 ข้อ 32 (1) กำหนดให้ผู้ประเมิน (ผู้บังคับบัญชาชั้นต้น) เป็นผู้แจ้งผลการประเมินให้แล้วเสร็จภายใน 15 วันนับแต่วันที่หัวหน้าส่วนงานหรือหัวหน้าหน่วยงานลงนามรับทราบผลการประเมินฯ
ตอบ การคัดค้านการแต่งตั้งกรรมการประเมินด้วยเหตุผลความขัดแย้งส่วนตัวจะต้องเป็นที่ประจักษ์และสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้
การจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP)
ตอบ เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้บุคลากรทุกคนต้องทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับฯ ข้อ 32 (2)
ตอบ ส่วนงาน/หน่วยงานสื่อสารให้บุคลากรเห็นถึงความสำคัญและข้อดีในการจัดทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) อย่างสม่ำเสมอ
ตอบ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นมีหน้าที่ในการติดตาม ช่วยเหลือ และให้คำปรึกษา เพื่อให้การพัฒนาของบุคลากรบรรลุผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง
ตอบ เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้บุคลากรทุกคนต้องทำแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) ซึ่งกำหนดไว้ในข้อบังคับฯ ข้อ 32 (2) เพื่อให้บุคลากรปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และมีความก้าวหน้าในวิชาชีพและการบริหาร
ตอบ การเขียนแผนพัฒนารายบุคคล (IDP) และวิธีการพัฒนาควรเหมาะสมกับบุคลากรและความคาดหวังของผู้บังคับบัญชา เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
การประกาศรายชื่อผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีเด่นและระดับดีมาก
ตอบ การประกาศรายชื่อผู้ที่ได้ผลการปฏิบัติงานระดับดีเด่นและระดับดีมาก กองทรัพยากรบุคคลอยู่ระหว่างการหารือร่วมกับกองกฎหมายและศูนย์อำนวยการด้านข้อมูลส่วนบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล