คำตอบ พนักงานมหาวิทยาลัยที่ขอตำแหน่ง ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยที่จ้างจากงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) และพนักงานวิทยาลัยที่ปฏิบัติงานเต็มเวลา
คำตอบ กรณีผลงานที่ไม่ใช่งานวิจัยหรือบทความทางวิชาการ เช่น คู่มือปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ ให้เผยแพร่หลังจากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินผลงานแล้ว
คำตอบ ไม่ได้กำหนดช่วเวลาของผลงาน แต่ควรคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
คำตอบ ไม่ได้กำหนดอายุผลงาน แต่ไม่ควรจะเก่านานมากเกินไป เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าทางวิชาการหรือเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง
คำตอบ ระยะเวลาประมาณ 10-12 เดือน การอนุมัติเงินประจำตำแหน่งจะมีผลย้อนหลังให้ (ยกเว้นกรณีที่มีการแก้ไขค่างานจะมีผลตั้งแต่วันที่ กบค.อนุมัติผลการประเมินค่างานที่ได้ปรับปรุงใหม่)
ตอบ การปฎิบัติงานระยะเวลา 2 ปี หากบรรจุด้วยคุณวุฒิ ป.เอก ถือเป็นวิธีปกติ สามารถเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ แต่หากบรรจุด้วยคุณวุฒิที่ต่ำกว่า ให้ถือเป็นวิธีพิเศษ ซึ่งมีความแตกต่าง คือ การประเมินสมรรถนะ ปริมาณงานฯ จะต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ระดับคุณภาพผลงานสูงกว่าระดับปกติ และจำนวนผู้ทรงคุณวุฒิสูงกว่าวิธีปกติ
คำตอบ การขอระดับเชี่ยวชาญ งานวิจัยจะต้องอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ (กลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2) และหรืออยู่ในระดับนานาชาติ (ไม่ได้กำหนด Q)
คำตอบ ถือเป็นผลงานเสนอขอตำแหน่งได้ ทั้งนี้ไม่นับรวม Poster
คำตอบ
งานวิเคราะห์ คือ ผลงานที่แสดงการแยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ
งานสังเคราะห์ คือ ผลงานที่รวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในเรื่องนั้น ๆ
คำตอบ การกำหนดเกณฑ์ประเมินของผลงานแต่ละประเภทสามารถดูรายละเอียดแนบท้ายประกาศมหาลัยมหิดลเรื่อง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้งพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พ.ศ. 2556
ตอบ การพิจารณาผลงานจะถูกพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ผู้เสนอขอตำแหน่งขอรับการประเมิน สำหรับคุณภาพของผลงานจะแตกต่างกันไปตามระดับตำแหน่งที่เสนอขอ
ตอบ หัวข้อการบรรยายต้องมีรายละเอียดครบถ้วน สมบูรณ์ จนสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ สามารถประเมินความชัดเจนขององค์ความรู้ ความครอบคลุมเนื้อหาและความถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น อาจมีภาพ ตัวอย่าง ข้อมูล หรือกรณีศึกษาประกอบ
ตอบ full paper หมายถึง ผลงานฉบับเต็มที่มีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ (บทที่ 1 – 5) , abstract หมายถึง ข้อมูลสรุปเนื้อหาของงานวิจัย/บทควมทางวิชาการ ใช้ข้อความสั้น กระทัดรัดและกระชับ (Concision) มีความถูกต้อง (Precision) และมีความชัดเจน (Clarity) , proceedings หมายถึง ชุดเอกสารที่ตีพิมพ์ที่ใช้ประกอบในการประชุมวิชาการในระดับชาติ/นานาชาติ ซึ่งจะอยู่ในรูปของรวมหนังสือการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
ตอบ กรณีเสนอขอในระดับที่ต่ำกว่าระดับเชี่ยวชาญสามารถเสนองานวิจัยที่ไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารได้ แต่ต้องได้รับการเผยแพร่มาแล้วในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่กำหนดไว้ในประกาศฯ
ตอบ การใช้ความรู้ ความสามารถในงานสนับสนุน งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพบริการต่อสังคม ได้แก่
การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น ๆ เอกสารอาจจะเป็นคำสั่งแต่งตั้ง , หนังสือเชิญเป็นวิทยากร ยกเว้นรูปถ่ายหรือกิจกรรมที่ทำโดยภาระหน้าที่รับผิดชอบ
ตอบ กรณีผู้เสนอขอเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะเริ่มจากตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ สำหรับระดับชำนาญการจะมีเฉพาะบุคลากรที่เป็นข้าราชการ
ตอบ ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายแต่ในอนาคตอาจให้ส่งเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์
ตอบ สามารถนับเป็นผลงานได้
ตอบ ไม่จำเป็น
ตอบ สามารถกระทำได้
ตอบ หลักฐานจะปรากฏในผลงานที่ตีพิมพ์อย่างชัดเจน เช่น * หรือ
ตอบ ขณะนี้ยังไม่มีนโยบายเพิ่มเงินประจำตำแหน่ง
ตอบ กรณีทำผลงานร่วมกัน 2 คน และแบ่งการมีส่วนร่วมร้อยละ 50 เท่า ๆ กัน สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้ทั้ง 2 คน ทั้งนี้ควรพิจารณาว่าบุคคลที่ทำงานร่วมกันควรเป็นตำแหน่งเดียวกันและภาระงานที่ได้รับมอบหมายเหมือนกัน
ตอบ ขึ้นอยู่กับการตกลงของผู้ร่วมงาน จะมีส่วนร่วมเท่าใดก็นำมาขอตำแหน่งได้ แต่ผู้ขอต้องมีงานหลักของตนเองด้วย
ตอบ สิ่งประดิษฐ์ งานสร้างสรรค์ เช่น การสร้างสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ วัคซีน สิ่งก่อสร้าง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือผลงานด้านศิลปะ หรือ สารานุกรม ดนตรี งานแปลจากงานต้นแบบที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ งานด้านปรัชยา ประวัติศาสตร์ หรือวิทยการสาขาอื่นที่มีความสำคัญและทรงคุณค่า ซึ่งทุกผลงานต้องเป็นการเสริมความก้าวหน้าทางวิชาการ
ตอบ ทำงานวันละ 7 ชม * 5 วัน * 52 สัปดาห์ (ภาระงานไม่น้อยกว่า 1,380 ชม.ทำการต่อปี โดยไม่ได้คิดเป็นค่าเฉลี่ย)
ตอบ การเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ต้องทำงานบังคับคืองานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ หรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง
ตอบ สามารถกระทำได้
ตอบ สามารถเสนอขอตำแหน่งได้ เมื่อปฏิบัติงานมาแล้วครบ 3 ปี
ตอบ หากเสนอขอในตำแหน่งเดียวกัน ระดับเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะยืนผลการประเมินเดิมให้กับบุคลากรท่านอื่นที่นำผลงานเรื่องนั้นมาเสนอขอตำแหน่ง
ตอบ เฉพาะตำแหน่งกลุ่มตำแหน่งสายงานวิจัยเท่านั้น สำหรับกลุ่มอื่นๆ ต้องมีงานอื่นร่วมด้วย
ตอบ ปัจจุบันยังไม่ต้องขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย
คำตอบ การเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ส่งผลให้หน้าที่ความรับผิดชอบเปลี่ยนไปตามภาระงานที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ดังนั้นผู้ที่เปลี่ยนสามารถกระทำได้ 2 กรณี
- ปฏิบัติในตำแหน่งนักบริหารงานวิจัยจนครบ 3 ปี แล้วจึงยื่นเสนอขอตำแหน่ง
- หากประสงค์เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอระยะเวลาให้ครบสามารถยื่นเรื่องมายังมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัตินับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น โดยชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ จัดทำตารางเปรียบเทียบภาระงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาระงานที่เคยปฏิบัติในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ย้อนหลัง 3 ปี หรือ 5 ปี ตามคุณวุฒิแรกบรรจุ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาการนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
คำตอบ ได้
ตอบ ได้ แต่ต้องยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคน
คำตอบ ไม่เหมือนกัน ถึงแม้ว่าผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารและการประชุมวิชาการจะมีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเหมือนกันแต่ความเข้มข้นเชิงเนื้อหาวิชาการจะมีความเข้มข้นต่างกัน เนื่องจากคุณภาพของระดับการตีพิมพ์ต่างกัน
ตอบ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อ 33
คำตอบ การพิจารณาจะเป็นไปตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดเท่านั้น
คำตอบ บทความทางวิชาการ
คำตอบ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Q แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
เกณฑ์
เอกสาร
- แบบรายงานผลงานที่เป็นผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (พม. 01)
- ข้อเสนอแนวความคิด/วิธีการเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน และแผนงาน/โครงการ
- หรือผลงานที่จะทำในอนาคต (พม.02)
- แบบเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03)
- แบบประเมินปริมาณงานในหน้าที่ คุณภาพงานในหน้าที่ (พม.04)
- แบบประเมินสมรรถนะ (พม.05)
- แบบประเมินการมีส่วนร่วม (พม.06)
- ผลงานที่ใช้เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
สามารถนำไปเป็นผลงานที่ตัวเองเป็นชื่อหลักได้ ซึ่งการเป็นหลักในผลงานเป็นได้ 3 กรณี ดังนี้
- ชื่อแรก (ไม่กำหนดร้อยละการมีส่วนร่วม)
- มีส่วนร่วมร้อยละ 50 (ไม่กำหนดลำดับชื่อในผลงาน)
- เป็น corresponding author (มีส่วนร่วมอย่างน้อยร้อยละ 10) สำหรับผลงานประเภทงานวิจัย และบทความทางวิชาการ
แบบเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03) เป็นเอกสารที่ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยพิจารณาประกอบกับผลงานที่ยื่นเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแบบ พม.03 ได้ (รายละเอียดตามหนังสือ ที่ อว 78 / 04669 เรื่อง การปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอกสารภายในมหาวิทยาลัย)
- ระบบ HR-Connect > ระบบขอตำแหน่งสายวิชาการ/สนับสนุน > ระบบขอตำแหน่งสายสนับสนุน
- e-mail: sakaewan.pol@mahidol.ac.th (คุณสแกวรรณ), sujitra.jan@mahidol.ac.th (คุณสุจิตรา)
- เบอร์โทรศัพท์ 02-8496388 (คุณสแกวรรณ), 02-8496293 (คุณสุจิตรา)
สามารถดูได้ที่ลิงค์นี้ http://intranet.mahidol/op/orpr/newhr/?page_id=126
- การศึกษาต่อไม่ได้กำหนดคุณวุฒิที่จะศึกษาว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่ครองอยู่ แต่ควรเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาแล้วสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานได้
- การลาศึกษาต่อโดยใช้เวลาราชการต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้น หากศึกษาต่อโดยใช้เวลานอกราชการควรแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับขั้นรับทราบ
กรณีเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ส่งผลให้หน้าที่ความรับผิดชอบเปลี่ยนไปตามภาระงานที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ดังนั้นผู้ที่เปลี่ยนตำแหน่งจะต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะครบตามคุณสมบัติจึงจะขอตำแหน่งได้ หากประสงค์เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอระยะเวลาให้ครบสามารถยื่นเรื่องมายังมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัตินับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น โดยชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ จัดทำตารางเปรียบเทียบภาระงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาระงานที่เคยปฏิบัติในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ย้อนหลัง 3 ปี หรือ 5 ปี ตามคุณวุฒิแรกบรรจุ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาการนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
สามารถนำผลงานเดิมที่สร้างสรรค์ไว้ตอนที่ดำรงตำแหน่งเดิมมาประกอบการเสนอขอตำแหน่งได้ โดยผลงานที่นำมาขอตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับตำแหน่งที่ครองอยู่ (ตำแหน่งที่เปลี่ยน) เพราะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในงานของตำแหน่งที่ครองอยู่ (อัปเดต 15/03/67)
ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติหรือนานาชาติ อย่างน้อย 1 เรื่อง และต้องมีส่วนร่วมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (อัปเดต 15/03/67)
การใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน เป็นลักษณะของการบริการสังคม ได้แก่ การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุน งานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น ๆ หลักฐานประกอบการพิจารณา เช่น หนังสือเชิญเป็นวิทยากร หนังสือเชิญเป็นที่ปรึกษา หรือคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการหรือที่ปรึกษาในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งควรมีทั้งภายในและภายนอกส่วนงานที่สังกัด (อัปเดต 15/03/67)
การนำข้อมูลของส่วนงาน เช่น ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลที่สำคัญ ควรได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา ว่าอนุญาตให้นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการจัดทำผลงาน เนื่องจากข้อมูลบางอย่างเป็นข้อมูล “ลับ” หรือข้อมูลที่ไม่สมควรเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกได้รับทราบ และอาจส่งผลกระทบต่อส่วนงานได้ (อัปเดต 09/04/67)
ทำเครื่องหมาย “xxx” แทน หรือทำการคาดแถบดำในข้อมูลนั้น ๆ (อัปเดต 09/04/67)
สามารถนำ Case report มาเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ กรณีงานวิจัยที่เป็นการเก็บข้อมูลจาก case report จำนวนหลาย case ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง หรือหนังสือการได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัย จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน หรือคณะกรรมการ พิจารณาโครงการวิจัยที่มีการใช้สัตว์ทดลอง แล้วแต่กรณี (อัปเดต 09/04/67)
ได้ กรณีการขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นในระดับตำแหน่งเดียวกัน และสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอตำแหน่งสูงขึ้นมาแล้ว หากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งสูงขึ้นมาก่อนมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ขอตำแหน่งคนเดิมหรือคนใหม่ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใช้ผลการพิจารณาผลงานทาง วิชาการเดิมแต่ละเรื่องที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก เว้นแต่ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าเป็นผลงานที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือมีเหตุสมควรอื่นที่ไม่ใช้ผลการพิจารณานั้น (อัปเดต 15/05/67)
- กรณีมีระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่ครบระยะเวลาตามที่กำหนดไว้สำหรับการขอตำแหน่งสูงขึ้น
- กรณีข้ามระดับตำแหน่ง เช่น จากระดับปฏิบัติการ เป็นระดับเชี่ยวชาญ
(อัปเดต 15/05/67)
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ จะต้องเป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย แต่ต้องอยู่ต่างสังกัดกับผู้ขอแต่งตั้ง ยกเว้นกรณีที่ไม่มีผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้น ๆ จากบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ให้พิจารณาจากบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยได้ โดยกรรมการจะต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความสามารถ ความชำนาญ หรือความเชี่ยวชาญตรงกับวิชาชีพของตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง และต้องดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งที่จะแต่งตั้งหรือเทียบเท่า
วิธีปกติ คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน
วิธีพิเศษ คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน
(อัปเดต 15/05/67)
- วิธีปกติ ให้ใช้คะแนนตามเสียงข้างมากของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
- วิธีพิเศษ ต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 เสียงของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
(อัปเดต 04/06/67)