โครงการเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล – ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
(MU – BIOTEC Interdisciplinary Research Consortium)
กรอบความร่วมมือ
1) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันส่งเสริม และสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยในรูปแบบ virtual research group หรือ cluster ในสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น Food Technology และ Health and wellness (Infectious disease, Drug discovery, Emerging infectious diseases (EID) and Social Science) เป็นต้น
2) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านการวิจัยและส่งเสริมเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ สำหรับอาจารย์และนักวิจัยของทั้งสองหน่วยงาน
3) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันสนับสนุน ผลักดัน ให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ เชิงนโยบาย เชิงสังคมและเชิงสาธารณะ
4) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการ เพื่อกำหนดทิศทางความร่วมมือ ติดตาม
การจัดสรรงบประมาณ การติดตามตัวชี้วัด การประเมินผลความสำเร็จของเครือข่าย MU-BIOTEC โดยให้มีบุคลากรของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม และกรรมการ และให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
5) ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ความร่วมมือ และเสนอแนะแนวทางการสนับสนุน
การผลิตผลงานวิจัย
6) ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน พร้อมทั้งสนับสนุนด้านคำปรึกษาด้านวิชาการหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือต่อเนื่องกับการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงนี้ ทั้งนี้ ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะได้พิจารณาเห็นสมควร หรือเห็นชอบร่วมกันต่อไป