ผลของโปรแกรมการฝึกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ในการวัดอัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับต้นขาด้านหลัง การทรงตัว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ระดับมัธยมปลาย
October 24, 2019
ผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหาร ในห้องเรียนปฐมวัย
October 24, 2019

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย :

ดร.นุชนาฎ รักษี และคณะผู้วิจัย

ยุทธศาสตร์การศึกษาของชาติ เน้นการพัฒนาศักยภาพเด็กให้มีทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่เด็กต้องมี คือ มีความรู้พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจําวัน, มีสมรรถนะขีดความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่ซับซ้อน และสามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ รวมทั้งมีทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร การทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น และความคิดสร้างสรรค์นั้น มีความสัมพันธ์กับทักษะการคิดเชิงบริหาร (Brain Executive Function – EF) การคิดขั้นสูงเกี่ยวกับกระบวนการทางสมองที่นำความจำจากประสบการณ์ในอดีตมาเชื่อมต่อกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจ วางแผน การจัดลำดับความสำคัญ การริเริ่มลงมือทำงาน การยืดหยุ่น และปรับเปลี่ยนเพื่อแก้ปัญหาด้วยวิธีใหม่ ๆ และการควบคุมยับยั้งอารมณ์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือทำกิจกรรมได้สำเร็จตามที่ตั้งไว้ การศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสจำนวน 20 กิจกรรม (MU-EF.SI) แก่เด็กปฐมวัย ในช่วงอายุ 3 – 6 ปี จากการศึกษานำร่องในการใช้โปรแกรม MU-EF.SI ส่งเสริมเด็กเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ (32 ชั่วโมง) และมีการประเมินทักษะการคิดเชิงบริหาร ด้วยแบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารฉบับของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU-EF) ทั้งก่อนและหลังการส่งเสริมแล้วนำผลการประเมินมาทดสอบ Paired t – test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้โปรแกรมส่งเสริม เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็ก พบว่าระดับพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหาร (Executive Function) ของภาพรวม ในระดับดีมากเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 46.7 เป็นร้อยละ 70.2 และพบว่าพัฒนาการคิดเชิงบริหารด้านความจำขณะทำงานเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 57.4 เป็นร้อยละ 76.6 ส่วนพัฒนาการคิดเชิงบริหารด้านการวางแผนจัดการเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 52.3 เป็นร้อยละ 68.1 คณะผู้วิจัยหวังว่าการศึกษานำร่องครั้งนี้โปรแกรม MU-EF.SI จะช่วยส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย และเป็นวัคซีนการยับยั้งชั่งใจต่อไปในอนาคต และนำไปสู่การขยายผลต่อไป เนื่องจากทักษะการคิดเชิงบริหารมีความสำคัญต่อความสำเร็จในด้านการเรียน การทำงาน และความสุขในชีวิตท่ามกลางโลกในศตวรรษที่ 21

การนำไปใช้ประโยชน์ : พ่อ-แม่ ผู้ดูแลเด็ก และหน่วยงานด้านการศึกษา สามารถนำโปรแกรมไปเพื่อพัฒนาทักษะสมองทักษะการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย

CF_2561-06-02
CF_2561-06-03
CF_2561-06-04
CF_2561-06-05

แหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

การติดต่อ :
ดร.นุชนาฎ รักษี
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
+66 2 441 0602 – 8 ต่อ 1406
nootchanart.ruk@mahidol.edu