ค่าตีพิมพ์ (Article Processing Charge)
คำตอบ
เนื่องจากงบประมาณที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์มาจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องสนับสนุนงานวิจัย หรือผลงานที่เป็นของมหาวิทยาลัยก่อน จึงต้องมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับ Corresponding author และ First author ในบทความ ที่จะต้องเป็นบุคคลของมหาวิทยาลัย
คำตอบ หมายถึง contribution ในบทความ
เนื่องจากงบประมาณที่นำมาใช้เพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์มาจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีจำนวนจำกัด จึงจำเป็นต้องสนับสนุนงานวิจัย หรือผลงานที่เป็นของมหาวิทยาลัยก่อน จึงต้องมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับสัดส่วนการมีส่วนร่วมในบทความ ที่จะต้องเป็นบุคคลของมหาวิทยาลัยเกินกึ่งหนึ่ง
คำตอบ
สามารถยื่นได้ หากขณะที่จัดทำบทความ First author ยังสังกัดมหิดลอยู่
คำตอบ
หากทุนที่ได้รับไม่มีส่วนของค่าตีพิมพ์ สามารถเบิกค่าตีพิมพ์จากมหาวิทยาลัยได้
คำตอบ
ไม่ได้ ตามประกาศมหาวิทยาลัย การยื่นขอรับค่าตีพิมพ์ วารสารจะต้องเป็นผลงานที่ตีพิมพ์ใน Open Access Journal เท่านั้น
คำตอบ
ได้ การยื่นเอกสารตามประกาศสนับสนุนการตีพิมพ์ นักวิจัยสามารถดาวน์โหลดเอกสารจากเว็บไซต์กองบริหารงานวิจัย เเละสามารถยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์ (Google form) ของกองบริหารงานวิจัยได้โดยไม่ต้องผ่านส่วนงาน
คำตอบ
มหาวิทยาลัยต้องการให้รีบยื่นเรื่อง เพื่อไม่ให้ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการตีพิมพ์เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยภายในระยะเวลา 60 วัน จะครอบคลุมระยะเวลาของการแจ้งยอดบัตรเครดิตแล้ว
คำตอบ
ใช่ เมื่อนักวิจัยจ่ายเงินค่าตีพิมพ์ให้วารสารแล้ว สามารถยื่นเรื่องได้ภายใน 60 วัน โดยไม่ต้องรอให้บทความขึ้นบนฐานข้อมูล Scopus
คำตอบ
ปัจจุบันยังไม่มีผลต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ
คำตอบ
อนุโลม ให้ยื่นเรื่องได้ โดยจะพิจารณาวันที่นักวิจัย submit บทความ ว่าอยู่ในช่วงของประกาศฯ ฉบับเก่าหรือไม่
คำตอบ
สามารถยื่นขอรับเงินรางวัลได้
คำตอบ
• โครงการไม่สามารถขออนุมัติเปลี่ยนแปลงนำค่า APC ไปใช้จ่ายในรายการอื่น
• บทความที่ขอเบิกค่า APC จะต้องยื่นตีพิมพ์ในช่วงระยะเวลาที่โครงการได้รับทุน (ปีงบประมาณ 2566 เริ่มต้นเดือน 1 ตุลาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 หรือตามที่โครงการได้รับอนุมัติขยายระยะเวลาจาก ม.)
บทความที่ยื่นขอเบิกค่า APC จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
• หัวหน้าโครงการเป็นผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หรือเป็นผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author)
• บทความระบุชื่อส่วนงานและมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นต้นสังกัด (affiliation) ของหัวหน้าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนอย่างถูกต้อง
• วารสารที่ตีพิมพ์จัดอยู่ในประเภทบทความวิจัยต้นฉบับ (original research article) หรือบทความปริทัศน์ (review article)
• บทความในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่อยู่ในระดับ Q1 หรือ Q2 อ้างอิงจากฐานข้อมูลล่าสุดของ Scimago Journal & Country rank ณ วันที่ยื่นตีพิมพ์
• บทความระบุข้อความเป็นกิตติกรรมประกาศเป็นภาษาไทยว่า “โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล (ทุนสนับสนุนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มูลฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)” หรือภาษาอังกฤษว่า “This research project is supported by Mahidol University (Fundamental Fund: fiscal year 2023 by National Science Research and Innovation Fund (NSRF))”
• การเบิกจ่ายค่า APC ให้โครงการยื่นขออนุมัติเบิกจ่ายค่า APC จากหน่วยงานต้นสังกัด ตามงบประมาณรายงวดที่โครงการได้รับอนุมัติจัดสรรจาก ม.
(ในอัตรา ไม่เกิน 67,000 บาท/บทความ)
• กรณีที่บทความมีส่วนต่างค่า APC (มากกว่า 67,000 บาท/บทความ) สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี ดังนี้
- หากหัวหน้าโครงการพิจารณาแล้ว สามารถปรับแผนงบประมาณของโครงการ (ปรับงบประมาณหมวดอื่นมาจ่ายเป็นค่า APC) ขอให้หัวหน้าโครงการเสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายมายังมหาวิทยาลัย เมื่อได้รับอนุมัติจาก ม. แล้ว จึงจะสามารถเบิกจ่ายค่า APC ได้
- หากไม่สามารถดำเนินการตามข้อ 1 หัวหน้าโครงการสามารถยื่นขออนุมัติเบิกจ่ายค่า APC ส่วนต่าง มายัง ม. ทั้งนี้ บทความที่ขอเบิกจ่ายส่วนต่างจาก ม. จะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศของ ม. เท่านั้น (อ้างอิงข้อมูล : https://op.mahidol.ac.th/ra/budget-pub/pub-support_apc/)
• ขอให้ส่วนงานช่วยกำกับดูแลงบประมาณค่า APC ที่ ม. จัดสรรไปยังส่วนงาน โดย ม. ได้จัดทำแบบฟอร์มตรวจสอบฯ (checklist) สามารถ download ได้ที่ :
https://op.mahidol.ac.th/ra/contents/research_fund/FF-2566/APC-CHECKLIST_FORM.pdf และขอให้โครงการแนบหลักฐานการเบิกจ่ายค่า APC มากับรายงานการเงินฉบับสมบูรณ์เมื่อเสนอขออนุมัติปิดโครงการด้วย
คำตอบ
มหาวิทยาลัยสามารถสนับสนุนค่าตีพิมพ์ที่เป็นส่วนต่างได้ แต่ขอให้นักวิจัยเบิกจ่ายจากทุนวิจัย หรือหน่วยงานต้นสังกัดก่อน โดยจะต้องแนบหลักฐานการได้รับอนุมัติค่าตีพิมพ์จากทุนวิจัย หรือหน่วยงานต้นสังกัดมาด้วย เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถคำนวณส่วนต่างได้