R2R งานประจำสู่งานวิจัย

คำว่า Routine to Research หรือ R2R ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อจูงใจให้การทำงานวิจัยจากงานประจำเป็นเรื่องที่น่าสนใจและไม่เคร่งเครียดจนเกินไป ในฐานะที่เป็นผู้ที่อยู่ในกระบวนการบัญญัติคำนี้ขึ้นมา ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้อธิบายถึงคำนิยามของ R2R ว่ามีได้หลายมุมมอง

R2R คือการใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดการสร้างความรู้เพื่อนนำมาพัฒนางานประจำ ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่ทำงานประจำมีโอกาสคิด ทดลอง และตั้งโจทย์ให้มีความชัดเจนขึ้นแล้วทำการทดลองเก็บข้อมูล วิเคราะห็ข้อมูล สรุปผล นั่นคือใช้งานวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถของคนทำงาน ผลิตผลงานเชิงวิจัยออกมาได้ แล้วป้อนกลับไปพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น...

...หากมองอีกมุมหนึ่ง R2R ทำให้ความจำเจของงานประจำหายไป กลายเป็นความท้าทายความสนุกที่ได้คิดค้นวิธีการสร้างความรู้เล็กๆ แต่เป็นความรู้ใหม่ๆขึ้นมาทำประโยชน์ เกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตัวเองทำหรือจะเรียกว่าเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน (Human Resource Development: HRD) ก็ได้และที่สำคัญคืองานวิจัยประเภทนี้ทำกันเป็นทีม สามารถใช้ทำให้เกิด Team Learning เกิดความสามัคคีได้

ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา: เคล็ดไม่ลับ R2R บริบทคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล