Mahidol University Knowledge Management : MUKM
กิจกรรม-ความรู้ มุ่งสู่ "มหาวิทยาลัยระดับโลก"
MU Strategic Knowledge Management framework
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลขับเคลื่อนการจัดการความรู้ด้วยนโยบาย 4P ได้แก่
-
Provide a Knowledge Asset Management System
- Promote KM among MU Staff
- Prepare Facilitator for Knowledge Management
- Set up Platform
MUKM History
มหาวิทยาลัยมหิดลมีการดำเนินการด้านการจัดการความรู้ตั้งแต่ปี 2548 โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพ โดยในระยะแรกได้มีการแบ่งคณะทำงานฯ ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
- กลุ่มทบทวนองค์ความรู้
- กลุ่มค้นหา CoPs และ Best Practice
- กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กลุ่ม Empowerment Evaluation
ซึ่งในปี 2550 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและเป็นไปตามความเป็นจริงมากขึ้น ทำให้มีการปรับกลุ่มคณะทำงานฯ เป็น
- กลุ่มค้นหา CoPs
- กลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- กลุ่ม Empowerment Evaluation และ
- กลุ่มติดตามสถานการณ์และสร้างเครือข่าย
จนถึงปี 2551 มหาวิทยาลัยได้มีการปรับเปลี่ยนการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ให้สนองตอบต่อประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ที่จะเป็นผู้นำในการสร้างความเข้มแข็งเพื่อการจัดการความรู้ อีกทั้งมหาวิทยาลัยได้มีนโยบายคุณภาพที่มุ่งเน้นให้เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงานระดับคณะมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ มีการสร้างเครือข่ายหรือชุมชนแนวปฏิบัติทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้สู่ความเป็นเลิศและสร้างสรรค์นวัตกรรม และพัฒนาระบบบริหารงานประจำสู่งานวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรม
แนวทางการพัฒนาคุณภาพ กำหนดให้มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายในองค์กร ทั้งความรู้ฝังลึกในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) หรือควมรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ในรูปแบบต่างๆ มาจัดเก็บเป็น คลังความรู้ (Knowledge assets) อย่างเป็นระบบ มีการกำหนดให้ใช้เว็บไซต์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพและติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรหรือบุคคลภายนอกทั่วไปสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาต่อยอดตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กร บุคคล มีความสามารถในเชิงแข่งขันได้อย่างสูงสุด