Towards a Leading University with Superior Educational Quality

มุ่งสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ด้วยคุณภาพการศึกษาที่เหนือกว่า



ระบบประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทย มุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Quality Development Framework: MUQD) ถือกำเนิดขึ้นจากนโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นการปรับระบบคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล (MUQD) เข้าสู่เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2555 เป็นต้นมา

รากฐานการพัฒนาคุณภาพ
  • นโยบายคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล: มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการจัดการความรู้ และสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา
  • พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562: กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษามีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการอุดมศึกษา
  • กฎกระทรวงมาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565: กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ครอบคลุมงานตามพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา ระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่าง ๆ
  • พันธกิจเพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก: มุ่งเน้นการกำกับดูแล การตรวจประเมินคุณภาพ สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพภายใน และส่งเสริมการจัดการความรู้
กระบวนการสำคัญของระบบประกันคุณภาพการศึกษา
  • ระบบการตรวจประเมินคุณภาพ: ครอบคลุม 3 ระดับ ได้แก่ ระดับมหาวิทยาลัย ระดับส่วนงาน และระดับหลักสูตร มุ่งเน้นนำผลการตรวจประเมินไปปรับปรุง/พัฒนาการดำเนินงาน
  • ระบบสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ: มุ่งเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์คุณภาพ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสื่อสารนโยบาย แนวทางในการพัฒนาคุณภาพ
  • ระบบการบริหารจัดการความรู้: มุ่งเน้นให้ส่วนงานนำกระบวนการจัดการความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพ และสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนองค์ความรู้

การตรวจประเมินคุณภาพในระดับส่วนงานและสถาบัน

Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx

มาตรฐานและเกณฑ์ที่นำมาใช้ดำเนินการ

โดยมติสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เห็นชอบการนำระบบการประเมินองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) ในการประชุมครั้งที่ 469 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 มาใช้ในการตรวจประเมินคุณภาพในระดับส่วนงานและสถาบัน

รูปแบบการตรวจประเมิน
  • MUEdPEx-A1: MUEdPEx Assessment Type A1 (การตรวจประเมินภายในระดับส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ)
  • MUEdPEx-A2: MUEdPEx Assessment Type A2 (การตรวจติดตามแผนพัฒนาส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ)
  • MUEdPEx-A3: MUEdPEx Assessment Type A3 (การตรวจติดตามผลลัพธ์ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ)
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาองค์กร เกณฑ์การประเมินและระบบสารสนเทศ
    สาธารณะ 2567
  1. เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) (2567-2570)
  2. เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (2567-2568)

  3. เฉพาะประชาคมมหิดล 2567
  4. Online: Upload Self - Assessment Report
  5. Online: Download Feedback Report
กระบวนงานการขอรับตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับส่วนงาน
    สาธารณะ 2567
  1. MUEdPEx-A1: การตรวจประเมินภายในระดับส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
  2. MUEdPEx-A2: การตรวจติดตามแผนพัฒนาส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
  3. MUEdPEx-A3: การตรวจติดตามผลลัพธ์ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ

การรับรองและขอรับรองคุณภาพหลักสูตร

Administering education that focuses on learners’ achievements by means of a learning-centered approach for self-development of knowledge, abilities, and new skills

การรับรองโดยมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์ประกันคุณภาพของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA)

มติสภามหาวิทยาลัยมหิดลได้เห็นชอบการนำระบบการประเมินองค์กรตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (Education Criteria for Performance Excellence: EdPEx) ในการประชุมครั้งที่ 469 วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556 มาใช้ในการตรวจประเมินคุณภาพในระดับส่วนงานและสถาบัน

รูปแบบการรับรองคุณภาพหลักสูตร
  • MU AUN-QA Preliminary Assessments : การขอรับรองคุณภาพและมาตฐานระดับหลักสูตรโดยส่วนงานต้นสังกัดด้วยผู้ตรวจประเมินคุณภาพภายในของมหาวิทยาลัยมหิดลตามเกณฑ์ AUN-QA
  • MU AUN-QA Assessments: การขอรับรองคุณภาพและมาตฐานระดับหลักสูตรโดยมหาวิทยาลัยมหิดล ตามเกณฑ์ AUN-QA
  • AUN-QA Quality Assessment at Programme Level: การขอรับรองคุณภาพและมาตฐานระดับหลักสูตรโดยเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนตามเกณฑ์ AUN-QA
การรับรองโดยมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์ประกันคุณภาพอื่น

นอกเหนือจากนโยบายสนับสนุนหลักสูตรที่มีศักยภาพในการขอรับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ของมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งตอบสนองต่อพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการของประเทศแล้ว เพื่อเป็นการประกันคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยมหิดลให้มีคุณภาพในระดับสากลในหลักสูตรเฉพาะทางและวิชาชีพ มหาวิทยาลัยมหิดลได้มีนโยบายให้ทุนสนับสนุนหลักสูตรที่มีศักยภาพในการขอรับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรตามเกณฑ์คุณภาพนานาชาติอื่น ๆ เช่น AUN-QA, AACSB, ABET, APACPH, Bologna Process, ISPO, IFOA, MusiQuE, TedQual, WFME และ WFOT ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจ่ายเงินทุนสนับสนุนหลักสูตรในการขอรับรองมาตรฐานตามเกณฑ์ AUN-QA และเกณฑ์คุณภาพนานาชาติอื่นๆ พ.ศ.2561 โดยให้การสนับสนุนในส่วนค่าธรรมเนียมการขอรับรองมาตรฐาน ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าเบี้ยเลี้ยงของผู้ประเมิน ทั้งนี้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 500,000 บาทต่อการรับรองมาตรฐาน โดยการขอรับการสนับสนุนนี้ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลั่นกรองหลักสูตรเพื่อขอรับรองมาตรฐาน