มหาวิทยาลัยมหิดลให้การต้อนรับผู้แทนจาก Kyoto University ASEAN Center
16/05/2019
มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงร่วมกับ United Nations Technology Innovation Labs (UNTIL) ในการก่อตั้ง UNTIL Thailand Lab ภายใต้องค์การสหประชาชาติ
24/06/2019

โครงการ Mahidol University ASEAN+3 Mobility Program 2019

วันที่ 10 มิถุนายน 2562 กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมปฐมนิเทศใน “โครงการ Mahidol University ASEAN+3 Mobility Program 2019” แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ระดับปริญญาตรี ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการเพื่อไปร่วมกิจกรรม ณ Osaka University ประเทศญี่ปุ่น Pusan National University สาธารณรัฐเกาหลี และ Yunnan University สาธารณรัฐประชาชนจีน ในภาคเช้า รองศาสตราจารย์ ดร.วริยา ชินวรรโณ ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายแนะนำรายวิชา SHHU116 Comparative Culture (อารยธรรมเปรียบเทียบ) และการบรรยาย ”Cross-cultural Awareness” โดย Asst. Prof. Dr. Mark Stephen Felixอาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ในภาคบ่ายเป็นการบรรยายเตรียมความพร้อมทางด้านภาษา ศิลปวัฒนธรรมและความรู้อื่นๆที่จำเป็น โดย รองศาสตราจารย์ ดร. นภเรณู สัจจรักษ์ ธีระฐิติ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยมหิดล และ อาจารย์ อุไรพร เวทสรณสุธี คณะศิลปศาสตร์ บรรยายให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ Osaka University ประเทศญี่ปุ่น (ระหว่างวันที่ 16 – 29 มิถุนายน 2562) Assoc. Prof. Seung Jun Paek คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และ อาจารย์อรษา สิทธิโชติอนันต์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาปัจจุบันตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร บรรยายให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ Pusan National University สาธารณรัฐเกาหลี (ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 2562) และ อาจารย์ ดร.ยุวดี ถิรธราดล รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ และอาจารย์ ศศิพินทุ์ ดิษฐานนท์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บรรยายให้แก่นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม ณ Yunnan University สาธารณรัฐประชาชนจีน (ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม 2562)

โครงการ Mahidol University ASEAN+3 Mobility Program 2019 จัดขึ้นเพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี หลักสูตรภาษาไทย ได้เข้าร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยชั้นนำในกลุ่มประเทศอาเซียน +3 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นสากล เพิ่มศักยภาพของนักศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสและประสบการณ์เดินทางไปเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและสภาพสังคม โดยนักศึกษาที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องกลับมาลงทะเบียนเรียนรายวิชา SHHU116 Comparative Culture (อารยธรรมเปรียบเทียบ) ในภาคการศึกษาต้น ของปีการศึกษา 2562 และนำเสนอผลงานต่อไป