เอกสารประกอบการดำเนินการ
พนักงานมหาวิทยาลัยที่ประสงค์จะขออนุมัติลาไปศึกษาภายในประเทศ ให้ยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
- แบบขออนุมัติลาศึกษาภายในประเทศ
- แบบใบลาศึกษา
- หลักฐานการศึกษาของผู้ที่จะไปศึกษา
- คำรับรองของผู้บังคับบัญชา
- โครงการ/แนวทางการศึกษาภายในประเทศ
- เหตุผลความจำเป็นที่จะไปศึกษาต่อภายในประเทศ
- หลักฐานการตอบรับเข้าศึกษา
- หลักสูตรหรือแนวการศึกษาของสถาบันที่จะไปศึกษา
- กำหนดการเปิด-ปิด ภาคการศึกษา
- หลักฐานการได้รับทุน (ยกเว้นกรณีทุนส่วนตัว)
- บัญชีเครือญาติ
- สัญญาของพนักงานมหาวิทยาลัยที่ไปศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานวิจัย จำนวน 2 ฉบับ | (พร้อมหลักฐานประกอบ)
- สัญญาค้ำประกัน จำนวน 2 ฉบับ | (พร้อมหลักฐานประกอบการจัดทำสัญญา)
การจัดทำสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัยลาศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานวิจัย
พนักงานมหาวิทยาลัยที่จะลาศึกษาภายในประเทศจะต้องจัดทำสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัยลาศึกษา ฝึกอบรมหรือปฏิบัติงานวิจัย จำนวน 2 ฉบับ ตามแบบที่มหาวิทยาลัย มหิดลกำหนด เพื่อให้การดำเนินการจัดทำสัญญาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ผู้ลาศึกษาแจ้งชื่อผู้ค้ำประกันให้งานทรัพยากรบุคคลทราบเพื่อประโยชน์ในการจัดพิมพ์ไม่ให้คลาดเคลื่อน พร้อมแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง
เอกสารประกอบการจัดทำสัญญา มีดังนี้
(ก) เอกสารของพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ลา >> กรณีไม่สมรส (เอกสารหลักที่จำเป็นต้องมี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาบัตรทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (ถ้ามี)
(ข) เอกสารเพิ่มเติมกรณีพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ลา >> มีคู่สมรสแล้ว
– สำเนาทะเบียนสมรส จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน คู่สมรส จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(ค) เอกสารเพิ่มเติมกรณีพนักงานมหาวิทยาลัยผู้ลา >> มีสถานภาพหม้าย หย่า
– สำเนาใบหย่า จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีหย่าร้าง)
– สำเนาใบมรณะบัตร จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีหม้าย)
การจัดทำสัญญาค้ำประกัน
หลักเกณฑ์การจัดทำสัญญาค้ำประกัน มีดังนี้ (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 136 ง 25 พฤศจิกายน 2548 หน้า 28) และ
1) ผู้ค้ำประกันต้องเป็นบิดา หรือมารดาของผู้ทำสัญญา ถ้าไม่มีทั้งบิดาและมารดา ต้องให้พี่หรือน้องร่วมบิดาหรือมารดาของผู้ทำสัญญาเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ ผู้ค้ำประกัน ไม่ต้องแสดงหลักทรัพย์ประกอบการทำสัญญาค้ำประกัน
2) ถ้าไม่มีบุคคลตาม 1) จะให้บุคคลอื่นเป็นผู้ค้ำประกัน โดยแสดงหลักทรัพย์ก็ได้ เว้นแต่ในกรณีที่ไม่สมารถแสดงหลักทรัพย์ได้ ให้พิจารณาความสามารถในการใช้หนี้จากฐานะและรายได้แทนการแสดงหลักทรัพย์ได้
3) ถ้าไม่มีบุคคลตาม 1) และ 2) ให้ส่วนราชการตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง หากผลการตรวจสอบปรากฏว่า ผู้ทำสัญญาไม่มีบุคคลดังกล่าวตาม 1) และ 2) จริง ให้ทำสัญญาโดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกันได้
เอกสารประกอบการจัดทำสัญญาค้ำประกัน มีดังนี้
(1) กรณีบิดา หรือมารดา เป็นผู้ค้ำประกันการลา
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ผู้ค้ำ จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาทะเบียนบ้าน ผู้ค้ำ จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– อากรแสตมป์ จำนวน 15 บาท
(2) เอกสารเพิ่มเติมกรณีผู้ค้ำประกัน >> มีคู่สมรสแล้ว
– สำเนาทะเบียนสมรส ผู้ค้ำ/คู่สมรส จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน คู่สมรส จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
– สำเนาทะเบียนบ้าน คู่สมรส จำนวน 2 ชุด พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
(3) เอกสารเพิ่มเติมกรณีผู้ค้ำประกัน >> มีสถานภาพหม้าย หย่า
– สำเนาใบหย่า จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีหย่าร้าง)
– สำเนาใบมรณะบัตร จำนวน 2 ฉบับ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีหม้าย)
(4) เอกสารเพิ่มเติมกรณีผู้ค้ำประกัน >> คือ พี่ หรือน้อง ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
– บัญชีเครือญาติ
:: ข้อควรระวัง ::
- ในการทำสัญญาไม่ต้องกรอกวันที่ทำสัญญา ให้เว้นช่องว่างไว้
- กรณีที่ผู้ค้ำประกัน หรือคู่สมรสของผู้ค้ำประกัน ไม่สามารถลงนามในสัญญาได้ สามารถประทับลายนิ้วมือ โดยมีผู้รับรองว่าผู้ค้ำประกัน หรือคู่สมรสของผู้ค้ำประกันได้ประทับลายนิ้วมือจริง โดยระบุรายละเอียดเช่น เป็นนิ้วใด ข้างใด ให้ชัดเจน