ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๖๔ 


แบบฟอร์ม

 แบบ คส. ๑ แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคลประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมาย และกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง  

  แบบ ขร ๓/๓๗ บัญชีรายชื่อข้าราชการผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  บัญชีแสดงจำนวนชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  บัญชีแสดงคุณสมบัติของ ข้าราชการ และ ข้าราชการเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์บัญชีแสดงจำนวนชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  แบบจัดส่งข้อมูลผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ 

 

การเสนอขอเครื่องราชฯ ของลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ

  แบบ คส. ๒ แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคลประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน  ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ 

  แบบ ขร ๓/๓๗ บัญชีรายชื่อลูกจ้างประจำเงินงบประมาณผู้ขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์  

  บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา ซึ่งขอพระราชทานให้แก่ลูกจ้างประจำ 

  บัญชีแสดงคุณสมบัติของลูกจ้างประจำส่วนราชการซึ่งเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 

  แบบจัดส่งข้อมูลผลการประเมินการปฏิบัติงานของผู้เสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฯ 


– ข้อมูลด้านล่าง กำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง – 

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา   (ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 41)

1. ข้าราชการปกติ ชั้นสายสะพาย และต่ำกว่าสายสะพาย

1. ข้าราชการปกติ  ชั้นสายสะพาย

1.1  กรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (รองศาสตราจารย์, ศาสตราจารย์)  จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. ในการกำหนดตำแหน่งหรือระดับตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งที่ต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้วเท่านั้น จึงจะเสนอขอพระราชทานได้

1.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขอ ป.ม. เงินเดือนต้องถึงขั้นสูง 59,500 บาท ได้รับชั้น ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์

1.3  สายสนับสนุน ระดับชำนาญการพิเศษ ขอ ป.ม. เงินเดือนต้องถึงขั้นสูง  58,390 บาท  ได้รับชั้น ท.ช.มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์                           

2.   ข้าราชการปกติ ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

2.1 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ขอชั้น ท.ช. จะต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.อ. ในการกำหนดตำแหน่งหรือระดับตำแหน่งแล้วเท่านั้น จึงจะเสนออพระราชทานได้

2.2  อาจารย์ หรือ สายสนับสนุน ระดับชำนาญการ  กรณีเสนอขอ ท.ช. จะต้องได้รับเงินเดือนไม่ต่ำกว่าขั้นต่ำ

ของระดับชำนาญการพิเศษ  (22,140 บาท)  มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี    ซึ่งกรณีนี้จะใช้เงินเดือน ณ วันที่ 1 เมษายน ย้อนหลัง 5 ปี  (1 เมษายน 2560)

2.3 กรณีชั้นอื่นที่มิใช่ชั้น ท.ช. ให้เป็นไปตามเกณฑ์บัญชี 41



วิธีการดำเนินการ

1. ส่วนงานจะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรในส่วนงานตามเกณฑ์บัญชี 41

2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)

2. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)


เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)   จำนวน 1 ชุด 

2. บัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)  จำนวน 1 ชุด

3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)

4. คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และหนังสือที่แสดงว่า ก.พ.อ. ได้ให้ความเห็นชอบการกำหนดตำแหน่ง หรือระดับตำแหน่งจากแล้ว หรือประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี (กรณีตำแหน่งศาสตราจารย์หรือตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ)

5. แบบผลประเมินการปฏิบัติงานในรอบ 5 ปี ที่ผู้มีอำนาจลงนามในแบบเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งส่งข้อมูลรูปแบบ File Excel ไปที่ E-mail : chutatip.bum@mahidol.ac.th

2. กรณีพิเศษ ชั้นสายสะพาย

การเสนอขอพระราชทานครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นกรณีพิเศษ  ส่วนงานจะต้องพิจารณาอย่างเคร่งครัดด้วยความรอบคอบว่า ผู้นั้นเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536

ข้อ 11 (3)  พร้อมส่งรายงานความดีความชอบตามรูปแบบที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกำหนด โดยจะต้องระบุผลงานและมีคุณสมบัติ  ดังนี้

1. ต้องปฏิบัติหน้าที่ฝ่าอันตรายหรือปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นงานสำคัญยิ่ง และเป็นผลดีแก่ราชการ และสาธารณชน

2. ต้องคิดค้นสิ่งหรือวิธีการอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประเทศชาติได้เป็นผลสำเร็จ โดยให้ระความดีความชอบให้เห็นเด่นชัดว่า ได้กระทำความดีความชอบอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งประการใด เมื่อใด และได้ผลดีอย่างไร ทั้งนี้  ต้องเป็นผลงานที่ได้กระทำภายหลังได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ครั้งสุดท้าย

3. ไม่เป็นผู้ที่ขาดระยะเวลาการเลื่อนชั้นตราเกินกว่า ๑ ปี ยกเว้นกรณีที่มีเหตุผลสมควรอย่างแท้จริงเท่านั้น อันทำให้ไม่สามารถเสนอขอได้รับพระราชทานเครื่องราชฯล่าช้า หรือไม่สามารถเสนอขอพระราชทานเป็นกรณีปกติได้เพราะเหตุแห่งการเกษียณอายุราชการแล้ว ก็ให้ระบุเหตุผลดังกล่าวยในรายงานและผลงานความดีความชอบเพิ่มเติมด้วย

4.  ผู้ที่ได้รับการประเมินผลงานและเลื่อนระดับให้สูงขึ้นย้อนหลัง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่พ้นจากราชการแล้วได้ประกอบคุณงามความดีเหมาะสมที่จะขอพระราชทานให้เป็นกรณีพิเศษ โดยระบุเหตุผลและผลงานความดีความชอบ ดีเด่นอันเป็นที่ประจักษ์ให้ชัดเจนเพิ่มเติมด้วยพร้อมจัดส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้อง


วิธีการดำเนินการ

  1. ผู้เสนอขอพระราชทานฯ จะต้องจัดทำแบบรายงานความดีความชอบ ลงในแบบ กรณีพิเศษ/37
  2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)
  3. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)

เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

  1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)   จำนวน 1 ชุด 
  2. บัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)  จำนวน 1 ชุด
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)
  4. ส่งแบบรายงานความดีความชอบ ลงในแบบ กรณีพิเศษ/37  พร้อมไรท์ CD แนบด้วย
  5. คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง และหนังสือที่แสดงว่า ก.พ.อ. ได้ให้ความเห็นชอบการกำหนดตำแหน่งหรือระดับตำแหน่งแล้ว หรือประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี(กรณีตำแหน่งศาสตราจารย์หรือตำแหน่งระดับเชี่ยวชาญพิเศษ)
  6. ประกาศ/คำสั่ง ให้ข้าราชการออกจากราชการ (เกษียณอายุ/เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย)
  7. แบบผลประเมินการปฏิบัติงานในรอบ 5 ปี ที่ผู้มีอำนาจลงนามในแบบเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งส่งข้อมูลรูปแบบ File Excel ไปที่ E-mail : chutatip.bum@mahidol.ac.th

      – กลุ่มที่เปลี่ยนสถานภาพก่อนวันที่ 21 กันยายน 2553 (ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 7)

      – กลุ่มที่เป็นสถานภาพหลังวันที่ 21 กันยายน 2553 (ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 41)

      – ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (รศ./ศ.) ขณะเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 18)

1. ชั้นสายสะพาย

1.1  กรณีขอต่อเนื่องจากตำแหน่งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนสถานภาพ ให้พิจารณาคุณสมบัติตามบัญชีดังนี้

– เปลี่ยนสถานภาพก่อน วันที่ 23 กันยายน 2553 ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 7

– เปลี่ยนสถานภาพตั้งแต่ วันที่ 23 กันยายน 2553 ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 41

1.2 กรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นตอนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (รองศาสตราจารย์, ศาสตราจารย์) ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 18  โดยต้องได้รับชั้น ท.ช. มาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์                           

2.   ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

2.1  กรณีขอต่อเนื่องจากตำแหน่งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนสถานภาพ ให้พิจารณาคุณสมบัติตามบัญชีดังนี้

– เปลี่ยนสถานภาพก่อน วันที่ 23 กันยายน 2553 ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 7

– เปลี่ยนสถานภาพตั้งแต่ วันที่ 23 กันยายน 2553 ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 41

2.2 กรณีที่ได้รับการเปลี่ยนตำแหน่งเป็นสายวิชาการและหรือได้รับการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นใช้เกณฑ์ตามบัญชี 18                            


วิธีการดำเนินการ

1. ส่วนงานจะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรในส่วนงานตามเกณฑ์บัญชีที่กำหนด

2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)

3. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)


เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

  1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)   จำนวน 1 ชุด 
  2. บัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)  จำนวน 1 ชุด
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)
  4. คำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น (รองศาสตราจารย์ หรือ ศาสตราจารย)
  5. แบบผลประเมินการปฏิบัติงานในรอบ 5 ปี ที่ผู้มีอำนาจลงนามในแบบเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งส่งข้อมูลรูปแบบ File Excel ไปที่ E-mail : chutatip.bum@mahidol.ac.th

พิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่มีคุณสมบัติครบ ตรงตามหลักเกณฑ์ร่างบัญชี 18

1.พนักงานมหาวิทยาลัย  ชั้นสายสะพาย

          กรณีที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น หรือตำแหน่งที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งแล้วเท่านั้น จึงจะขอพระราชทานได้

 2.พนักงานมหาวิทยาลัย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย

พิจารณาคุณสมบัติการเสนอขอตามหลักเกณฑ์ (ร่าง) บัญชี 18 การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ผู้ดำรงดำรงตำแหน่งในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ


วิธีการดำเนินการ

  1. ส่วนงานจะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรในสังกัด โดยพิจารณาคุณสมบัติตามเกณฑ์การเสนอขอบัญชี (ร่าง) 18
  2. จัดทำข้อมูลผู้ที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอขอในรูปแบบของ File 24 คอลัมน์
  3. สรุปบัญชีการเสนอขอและยืนยันรายชื่อในแต่ละชั้นตรา

เอกสารที่ต้องแนบและจัดส่งไปยังกองทรัพยากรบุคคล

  1.  ข้อมูลรายชื่อของผู้เสนอขอ ให้จัดทำในรูปแบบ File 24 คอลัมน์
  2. แบบผลประเมินการปฎิบัติงานในรอบ 5 ปี ฉบับที่ผู้มีอำนาจลงนามเรียบร้อยแล้ว
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)
  4. ส่งข้อมูล File 24 คอลัมน์ และแบบประเมินผลการปฎิบัติงานไปที่ E- mail : Sripair.roa@mahidol.ac.th

หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จะต้องเป็นลูกจ้างประจำหมวดฝีมือหรือลูกจ้างประจำที่มีชื่อและลักษณะเหมือนข้าราชการเท่านั้น และเป็นผู้ที่มีสมบัติอยู่เกณฑ์ตามบัญชี 15 เท่านั้น

  1. ต้องบรรจุเป็นลูกจ้างประจำปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปี และได้รับเงินค่าจ้างตั้งแต่อัตราเงินเดือนขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนระดับปฏิบัติการ  (8,340 บาท) ให้เริ่มต้นขอพระราชทานชั้นเบญจมาภรณ์ มงกุฎไทย (บ.ม.)
  2. กรณีเงินเดือนของผู้เสนอขอพระราชทานฯ เกินขั้นต่ำของข้าราชการพลเรือนระดับชำนาญการ (15,050 บาท) ขึ้นไปให้เริ่มต้นขอพะราชทานชั้นเบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.) ได้เลย

วิธีการดำเนินการ

  1. ส่วนงานจะต้องดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของบุคลากรในส่วนงานตามเกณฑ์บัญชี 15
  2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (ลจ 3/37)
  3. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ลจ 1/37)

เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

  1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ลจ 1/37)   จำนวน 1 ชุด 
  2. บัญชีรายชื่อ (ลจ 3/37)  จำนวน 1 ชุด
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)
  4. คำสั่งบรรจุแต่งตั้งครั้งแรก และคำสั่งเปลี่ยนตำแหน่งการจ้าง (กรณีเป็นการเสนอขอพระราชทานครั้งแรก)
  5. แบบผลประเมินการปฏิบัติงานในรอบ 5 ปี ที่ผู้มีอำนาจลงนามในแบบเรียบร้อยแล้ว
    พร้อมทั้งส่งข้อมูลรูปแบบ File Excel ไปที่ E-mail : chutatip.bum@mahidol.ac.th

กรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง  (ใช้เกณฑ์ตามบัญชี 19)

ต้องเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งจนถึงวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่ขอพระราชทาน กรณีนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิที่ดำรงตำแหน่งครบวาระแล้ว แม้จะยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไป

แต่มิได้มีสถานะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตามบัญชี 19  จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะเสนอขอพระราชทานฯ ได้

  1.  ส่วนงานต้องตรวจสอบก่อนด้วยว่า กรรมการสภารายที่จะเสนอขอพระราชทานฯ ให้  มีส่วนงานแห่งอื่นได้ เสนอขอพระราชทานให้ด้วยหรือไม่  (ไม่สามารถขอพระราชทานฯ ซ้ำกัน)
  2. ต้องดำรงตำแหน่งกรรมการสภามาแล้ว 2 ปี และวาระจะต้องอยู่จนถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา
  3. ไม่สามารถเสนอขอพระราชทานฯ ให้กับอธิการบดีในกรณีนี้ได้ เนื่องจากตำแหน่งอธิการบดีเป็นกรรมการสภาโดยตำแหน่ง

วิธีการดำเนินการ

  1. จัดพิมพ์บัญชีแสดงคุณสมบัติของราชบัณฑิตและกรรมการตามกฎหมาย ที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง  (รท 4/37)
  2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (รท 3/37)
  3. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขรท1/37)

เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

  1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (รท 1/37)   จำนวน 1 ชุด
  2. บัญชีรายชื่อ (รท 3/37)  จำนวน 1 ชุด
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 1)
  4. บัญชีแสดงคุณสมบัติของราชบัณฑิตและกรรมการตามกฎหมาย ที่ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯแต่งตั้งซึ่งขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ประจำปี พ.ศ. 2565 (รท 4/37)  จำนวน 1 ชุด
  5. จัดส่งสำเนาประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทุกประกาศมาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

หลักเกณฑ์การขอพระราชทานฯ ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักพรรดิมาลา พ.ศ. 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติมตามหนังสือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่ ศธ 0509(5).7/ว1221  ลงวันที่ 22 กันยายน 2558

  1. ต้องเป็นข้าราชการที่รับราชการมาด้วยความเรียบร้อยโดยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงปีที่ขอพระราชทาน  เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์ (นับถึงวันที่ 28 กรกฎาคม ของปีที่จะเสนอขอพระราชทาน)
  2. การนับเวลาราชการ ให้นับบรรจุภายในวันที่ 28 กรกฎาคม 2550 (ไม่สามารถนำช่วงเวลาการปฏิบัติงาน ตอนเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยมานับรวม)
  3. ข้าราชการที่ผู้ใดกระทำความผิดทางวินัย แม้ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทินฯ รวมถึงผู้ที่ไม่ได้รับการเลื่อนเงินเดือน เนื่องจากขาดงานหรือลางานเกินจำนวนที่กำหนดด้วย สิทธิประโยชน์ในการขอรับพระราชทานเหรียญจักพรรดิมาลาย่อมเสียไป และไม่อาจเรียกร้องได้
  4. เสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลาในปีเดียวกับการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้
  5. กรณีข้าราชการที่มีคุณสมบัติครบตามหลักเกณฑ์ในการเสนอขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา แต่ต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุเกษียณอายุราชการ หรือ ลาออกจากราชการในปีที่จะเสนอขอพระราชทานสามารถเสนอขอพระราชทานในปีที่เกษียณอายุราชการหรือปีที่ลาออกจากราชการได้

วิธีการดำเนินการ

  1. จัดพิมพ์แบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักพรรดิมาลา (ตามแบบตัวอย่าง) โดยตรวจสอบคัดลอกประวัติ ก.ม. 1 / ก.พ. 7  ทั้งนี้
    – ในแบบประวัติให้ใช้เงินเดือน ณ วันที่ 1 ตุลาคมของแต่ละปี
    –  บรรทัดสุดท้ายของแบบประวัติ  ให้ใส่ 1 เมษายน 2564 ถึงปัจจุบัน
  2. จัดพิมพ์รายชื่อแยกตามชั้นตราลงในแบบบัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)
  3. สรุปแต่ละชั้นตราพิมพ์ลงในแบบบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)

เอกสารที่ต้องแนบจัดส่งไปให้กองทรัพยากรบุคคล

  1. บัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา (ขร 1/37)   จำนวน 1 ชุด 
  2. บัญชีรายชื่อ (ขร 3/37)  จำนวน 1 ชุด
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล (แบบ คส. 2)
  4. แบบประวัติสำหรับเสนอขอพระราชทานเหรียญจักพรรดิมาลา  ต้นฉบับ (ลงนามจริง) จำนวน 4 ชุด     
  5. สำเนาประวัติ ก.ม. 1 / ก.พ. 7  จำนวน 1 ชุด
ดาวโหลดแบบฟอร์ม Click!
  1. แบบฟอร์มบัญชีแสดงจำนวนชั้นตรา
  2. แบบฟอร์มบัญชีรายชื่อ
  3. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคล ประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งในรัฐสภา ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามกฎหมาย และกรรมการตามกฎหมายที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง (แบบ คส. 1)
  4. แบบเสนอขอพระราชทานและรับรองคุณสมบัติบุคคลประกอบการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ปฏิบัติงานในลักษณะเดียวกัน  ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงาน ตามกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และกฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่ (แบบ คส. 2)