ม.มหิดล เบิกทางนักวิจัยพิชิตเป้าหมายสร้างนวัตกรรมแห่งอนาคต
17/05/2022
ม.มหิดล ส่งเสริม mHealth เรียนรู้เพื่อดูแลสุขภาวะด้วยตนเองอย่างยั่งยืน
18/05/2022

ม.มหิดล หวั่นเมตาเวิร์ส เป็นดาบสองคม เตือนเฝ้าระวังผลกระทบต่อเด็กและกลุ่มเปราะบาง

หากเรามองย้อนไปถึงที่มาของเทคโนโลยีใหม่ที่เกิดขึ้นบนโลกมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ล้วนเกิดขึ้นเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ได้เปรียบ แต่แทบไม่มีเทคโนโลยีใดเลยที่จะคิดคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในระยะยาวและสร้างขีดจำกัดของการบริโภค รวมทั้งรวมต้นทุนความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นไว้ตั้งแต่แรก
ในขณะที่ทุกคนกำลังตื่นเต้นเพลิดเพลินกับเทคโนโลยีแห่งโลกเสมือนจริงของเมตาเวิร์ส จะมีสักกี่คนที่มองเห็นอนาคตของปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กและกลุ่มเปราะบางที่พร้อมจะหัวเราะและร้องไห้ไปกับโลกใหม่แต่ขาดความรู้เท่าทัน
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาเด็กติดเกมที่ว่ารุนแรงและเรื้อรังแล้ว เมื่อเข้าสู่ยุคเมตาเวิร์สที่สามารถทำให้ผู้คนหลุดเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงได้อย่างเต็มตัวแล้ว ยิ่งพบว่าจะทวีความรุนแรงได้มากกว่า
ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ผลกระทบต่อสุขภาวะจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางอารมณ์ (stress hormone) ที่ยิ่งจะทำให้เด็ก และกลุ่มเปราะบางเกิดความก้าวร้าว หรือซึมเศร้า ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จากการเสพติดเกมหรือเชื่อมต่อสังคมในเมตาเวิร์สโดยขาดการควบคุมดูแลที่เหมาะสม
ซึ่ง พฤติกรรม” เกิดจากการทำงานของสมองที่นำมาซึ่งประสบการณ์ ความทรงจำ และทัศนคติ สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์และเกิดความสมดุล เช่น การเล่านิทานโดยใช้สื่อดิจิทัลแต่เพียงเป็นส่วนประกอบ โดยไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนรู้แต่เพียงลำพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กควรมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองคอยเล่าให้ฟัง และพูดคุยกับเด็กด้วย
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ได้แนะนำว่า การออกแบบเมตาเวิร์สควรสร้างขึ้นด้วยจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นเดียวกับการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะต้องมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพก่อนทุกครั้ง
ดังนั้น เพื่อการเติบโตทางเทคโนโลยีที่สมดุล ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันในการออกแบบระบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้บริโภค พ่อแม่ผู้ดูแล รวมทั้งเด็กๆ ที่เป็นผู้ใช้ จะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน มีเป้าหมายที่สร้างสรรค์ และอยู่ภายใต้กรอบแห่งความรับผิดชอบร่วมกัน
ในปี 2565 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สเป็นตัวช่วยประกอบการสร้าง “ศูนย์ฝึกการดูแลเด็กเสมือนจริง” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ผู้ดูแลเด็ก คุณครู หรือผู้ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กทุกประเภท รวมทั้งเยาวชน ในด้านการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ พร้อมกับการเรียนรู้ผลกระทบ และการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดการใช้ให้ถูกวิธี
สำหรับการใช้เทคโนโลยีไอทีในเด็กและเยาวชนนั้น รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่าผู้ใหญ่ควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการสร้างสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่ปลอดภัยในการใช้ไอที สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และเด็กที่อายุมากกว่า 13 ปีต้องให้ข้อมูลทั้งทางบวกและทางลบโดยไม่ปิดบังและสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะให้เด็กโตกลุ่มนี้สามารถใช้ไอทีด้วยความรับผิดชอบ 
โดยได้มีการปรับปรุงพื้นที่  บริเวณชั้น 3 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น “ศูนย์ฝึกการดูแลเด็กเสมือนจริง” ซึ่งจะมีการใช้Virtual Reality – VR หรือ เทคโนโลยีการจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 360 องศา ด้วยแว่นตา VR และAugmented Reality – AR หรือ เทคโนโลยีการผสานโลกเสมือนจริงให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงด้วยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ มาประกอบเพื่อการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีผิดวิธีควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กทุกประเภทได้เห็นประโยชน์และโทษของความเจริญทางเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูเด็กต่อไปด้วย
ติดตามรายละเอียดได้ที่ Facebook: NICFD
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วรรณพร ยังศิริ นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.LINE TODAY https://today.line.me/th/v2/article/gzQkn6a
https://today.line.me/th/v2/article/zN7YQO7
https://today.line.me/th/v2/article/NvNe3pk
2.คมชัดลึก https://www.komchadluek.net/news/505593
https://www.facebook.com/komchadluek/posts/10160241185709668
3.สยามรัฐออนไลน์ https://siamrath.co.th/n/323221
นสพ.สยามรัฐ https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-2-21-1.pdf
4.ไทยโพสต์ออนไลน์ https://www.thaipost.net/education-news/86843/
https://www.facebook.com/thaipost/posts/5463691720327147
5.นสพ.ไทยโพสต์ https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-2-17-5.pdf
6.Hfocus https://www.hfocus.org/content/2022/02/24483
https://www.facebook.com/Hfocus.org/posts/5281847455168106
7.นิตยสารสาระวิทย์ https://www.nstda.or.th/sci2pub/metaverse-concern/
8.ThaiPR.NET https://www.thaipr.net/it/3156924
9.RYT9.COM https://www.ryt9.com/s/prg/3297936
10.เมดิคอลไทม์ http://medi.co.th/news_detail4.php?q_id=696
11.บ้านเมือง https://www.banmuang.co.th/news/education/269816
12.ผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9650000016012
13.bizfocusmagazine https://www.bizfocusmagazine.com/…/12501-2022-02-20-04…
14.คอลัมน์บทความพิเศษ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-2-21-4.pdf
15.แนวหน้าออนไลน์ https://www.naewna.com/local/636755
นสพ.แนวหน้า https://op.mahidol.ac.th/th/twitter/news-2022-2-21-3.pdf
16.เส้นทางเศรษฐี https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_205480
https://www.facebook.com/SentangSe…/posts/2329710533838811

5/5 - (1 vote)
PR
PR