ม.มหิดล สร้างสรรค์ “นวัตกรรมชุมชน” ริเริ่ม “โครงการอาหารปลอดภัยใส่ใจผู้บริโภค” สร้าง “ระบบแหล่งอาหารปลอดภัย” เพื่อชุมชนยั่งยืน
31/10/2022ม.มหิดล เตรียมผลักดันเทคโนโลยีใหม่ T-cells รักษามะเร็ง สู่ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ขั้นสูง
01/11/2022เป็นธรรมดาของผู้ใช้รถใช้ถนนหลายราย ในเวลาที่ต้องร่วมทางกับรถบรรทุกน้ำมันขนาดมหึมาด้วยแล้ว อาจเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในความปลอดภัย เนื่องจากข่าวอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนต้องพยายามหลีกเลี่ยงไปขับในเส้นทางอื่น
และยังมีบางรายที่ไม่ทราบว่า ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันขนาดประมาณ 80,000 ลิตรที่เราเห็นกันโดยทั่วไปบนท้องถนนนั้น ประกอบด้วยแผงกั้นซึ่งได้มีการออกแบบให้แต่ละแผ่นมีรูตรงกลางขนาดใหญ่ติดตั้งไว้เรียงรายภายในถัง เพื่อคอยทำหน้าที่ลดแรงเฉื่อยไม่ให้รถบรรทุกน้ำมันเกิดเหตุพลิกคว่ำ ตามหลักการของ “พลศาสตร์ของไหล” ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานนวัตกรรมคุณภาพออกแบบโดยอาจารย์นักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้ประพันธ์ตำรา E-Book ในชื่อเดียวกัน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS
รองศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ประพันธ์ตำรา MU PRESS E-Book “พลศาสตร์ของไหล” เจ้าของผลงานนวัตกรรมการออกแบบแผงกั้น (Buffle) เพื่อลดแรงเฉื่อยในถังรถบรรทุกน้ำมัน และอีกหลากหลายผลงานคุณภาพ ด้วยหลักการ “พลศาสตร์ของไหล” ได้อธิบายถึงคำจำกัดความของ “ของไหล” ว่าไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำและอากาศ แต่ได้แก่สสารซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ตามแรงที่ถูกกระทำ โดยขึ้นอยู่กับ “ความดัน” และ “ความเร็ว” เป็นสำคัญ
เมื่อรถเบรก แต่ของเหลวไม่ได้เบรกตาม ซึ่งมักเป็นเหตุให้รถบรรทุกน้ำมันขนาดใหญ่ต้องสูญเสียการควบคุม จนอาจพลิกคว่ำเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน ทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน ตลอดจนส่งผลกระทบต่อบริเวณโดยรอบจากเหตุอัคคีภัยได้
ซึ่งการใช้แผงกั้น (Buffle) ภายในถังรถบรรทุกน้ำมันจะช่วย “จัดระเบียบการไหล” เพื่อให้เวลาเกิดแรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมจากการเลี้ยวหรือหยุดรถ น้ำมันที่อยู่ภายในถังจะได้ไหลผ่านลอดรูของแผ่นกั้นที่อยู่เรียงรายภายในถัง ซึ่งจะทำให้แรงเฉื่อย หรือแรงกระเพื่อมของน้ำมันที่อยู่ภายในถังเกิดขึ้นได้น้อยลง
จริงๆ แล้วความรู้ความเข้าใจใน “พลศาสตร์ของไหล” ไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เป็น “ช่าง” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชาคริต สุวรรณจำรัส ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า “ช่าง” ด้วยว่า คือ ผู้ที่มีความชำนาญในงาน หรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาใฝ่หาความรู้อยู่ตลอดเวลาและสม่ำเสมอ เพื่อให้มีทักษะที่ดี สามารถพึ่งพาตัวเอง พร้อมทั้งเป็นที่พึ่งให้กับผู้อื่นได้
เพื่อการมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยด้วยปัญญาในโลกยุคปัจจุบัน จึงไม่ควรประมาท และพึงหมั่นศึกษาหาความรู้ และทักษะที่หลากหลายเพิ่มเติมอยู่เสมอ หากเราไม่จำกัดความรู้ให้อยู่แค่ในชั้นเรียน เราก็จะสามารถเรียนรู้ และต่อยอดสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ต่อไปได้อย่างไร้ขีดจำกัด
นอกจาก ตำรา E-Book “พลศาสตร์ของไหล” แล้ว ยังมีเรื่องน่ารู้อื่นๆ ที่ควรค่าแก่การดาวน์โหลดไว้เพื่อศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะด้วยตัวเองได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกันอีกมากมาย ได้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS ทั้งในระบบ Android และ iOS
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.LINE TODAY 18-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/XYMvKGk?utm_source=copyshare
LINE TODAY 19-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/Gg3RQWP?utm_source=copyshare
2.สยามรัฐออนไลน์ (ข่าวการศึกษา) 18-5-65 https://siamrath.co.th/n/349135
สยามรัฐออนไลน์ (ข่าวการเมือง 19-5-65 https://siamrath.co.th/n/349491
3.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 18-5-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_216386
4.ThaiPR.NET 18-5-65 https://www.thaipr.net/education/3191147
5.RYT9.COM 18-5-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3323516
6.newswit 18-5-65 https://www.newswit.com/th/Ldbm
7.โลกวันนี้ 19-5-65 https://www.lokwannee.com/web2013/?p=432164
8.นิตยสารสาระวิทย์ 19-5-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/fluid-dynamics-oil-tanker/
9.Thai Innovation Center 19-5-65 https://thaiinnovation.center/2022/05/mu-press/?fbclid=IwAR1l9fXOEP1iwLg4Q-FeHXPDP4ZicYNYObqefwlV-RHw_daW36bhIBx4EVk
https://www.facebook.com/115657123295283/posts/558683845659273/?d=n
10.คอลัมน์สารพันปัญหาสาระน่ารู้? นสพ.ไทยรัฐ 26-5-65 หน้า 6
https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-5-26-6.pdf