ม.มหิดล ยืดอกรับบท “พี่เลี้ยง” ผลิตป.โทและเอก ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับโลก
17/02/2023
ม.มหิดล ปรับปรุง ป.โท ชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ รับสมัครครอบคลุมผู้จบวิทย์สุขภาพ
17/02/2023
ม.มหิดล ยืดอกรับบท “พี่เลี้ยง” ผลิตป.โทและเอก ประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพระดับโลก
17/02/2023
ม.มหิดล ปรับปรุง ป.โท ชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ รับสมัครครอบคลุมผู้จบวิทย์สุขภาพ
17/02/2023

ม.มหิดล ร่วมเสกสรรค์เมนูข้าวโอ๊ตจาก “อาหารสู้ชีวิต” สู่ “อาหารเพื่อชีวิต”

หากเหตุผลในการเลือกรับประทานอาหารมาจากปัจจัยด้านคุณค่าทางโภชนาการเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีที่มาจากมุมโลกใดๆ ก็สามารถนำมาทำเป็น “อาหารเพื่อชีวิต” โดยนำมาผสมผสานกับวัตถุดิบภายในท้องถิ่น เพื่อเพิ่มคุณค่าและมูลค่าได้

เช่นเดียวกับ “ข้าวโอ๊ต” แม้จะมีที่มาจากเขตเมืองหนาว ที่ต้องต่อสู้กับความยากลำบากและความหนาวเย็น จาก “อาหารสู้ชีวิต” จึงได้กลายเป็น “อาหารเพื่อชีวิต” ด้วยคุณสมบัติเด่นของความเป็นอาหารพลังงานสูงที่มากด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ง่ายต่อการเตรียม โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการขัดสี หรือบดเป็นผงก่อนนำมารับประทาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงคุณค่าทางโภชนาการของ “ข้าวโอ๊ต” ว่าประกอบด้วย “เบต้ากลูแคน” (Beta Glucan) ซึ่งพบไม่มากเท่าในข้าวชนิดอื่นๆ

ซึ่งหากร่างกายได้รับเบต้ากลูแคนอย่างสม่ำเสมอไม่ต่ำกว่า 3 กรัมต่อวัน สามารถลดระดับโคเลสเตอเรอลในเลือด ช่วยให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ที่สำคัญได้แก่โรคหลอดเลือดหัวใจได้

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สมาคมอาหารและโภชนาการแห่งอินโดนีเซีย สมาคมโภชนาการแห่งมาเลเซีย มูลนิธิโภชนาการแห่งฟิลิปปินส์ และ สมาคมโภชนาการเวียดนาม จัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  “Healthy Cooking with Oats” รวมเมนูอาหารสุขภาพจากข้าวโอ๊ตเพื่อเสนอแนวคิดในการนำข้าวโอ๊ตมาใช้เป็นส่วนประกอบหลักเพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารสำหรับเมนูพื้นบ้าน และอาหารฟิวชันจาก 5 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

โดยในส่วนของเมนูจากประเทศไทยที่ร่วมเผยแพร่ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีทั้งอาหารคาว และหวานจำนวน 10 ชนิด ได้แก่ ลาบเหนือ น้ำพริกตาแดง มัสหมั่นไก่ขนมกรอบเค็ม กระทงทอง ขนมกล้วย ขนมตะโก้ สาคูไส้หมูขนมต้มบัวลอย และขนมบ้าบิ่น

รองศาสตราจารย์ ดร.ชลัท ศานติวรางคณา ได้ให้มุมมองสำหรับสตาร์ทอัพในการนำข้าวโอ๊ตไปสร้างสรรค์ต่อยอดนอกจากตามเมนูที่แนะนำในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ “Healthy Cooking with Oats” แล้ว

ข้าวโอ๊ตยังเหมาะสำหรับนำไปทำอาหารและขนมทั้งที่มีเนื้อสัมผัสแบบกรุบกรอบ และข้นหนืด ซึ่งหากนำไปประกอบอาหารสำหรับเด็ก ควรเน้นประโยชน์ในเชิงสุขภาพที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตในสัดส่วนที่มากพอ

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  “Healthy Cooking with Oats” เปิดให้ผู้สนใจจากทั่วโลกสามารถดาวน์โหลดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายที่ https://healthycookingwithoats-sea.org

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ภาพโดย งานสื่อสารองค์กรและสารสนเทศ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และจากหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  “Healthy Cooking with Oats”