1. รายงานการปฏิบัติงานต่างกับรายงานข้อมูลดิบอย่างไร ?

รายงานการปฏิบัติงาน เป็นรายงานที่ผ่านการประมวลผลตามเงื่อนไข เช่น กะการเข้างาน การเข้า-ออกงานแบบโอที เป็นรายงานสรุปสุดท้ายเพื่อแจ้งว่ามีการเข้า-ออกงานเวลาใด และมีการเข้า-ออกโอทีหรือไม่ หรือวันที่ไม่ได้สแกนบัตรเกิดจากสาเหตุใด

สำหรับรายงานข้อมูลดิบ เป็นรายงานที่ได้จากการดึงข้อมูลจากเครื่องสแกนบัตร เป็นข้อมูลที่ไม่ผ่านการประมวลผลใดฯ หากเราทำการสแกนบัตร 10 ครั้ง รายงานก็จะแสดงข้อมูลจำนวน 10 แถวตามการสแกนบัตรจริงที่เครื่องสแกน

2. ถ้าบังเอิญเผลอสแกนบัตรตอนใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่เวลาที่ตั้งใจเลิกงาน ต้องทำอย่างไร ?

หากบังเอิญสแกนบัตรตอนใดๆก็ตามที่ไม่ใช่เวลาที่ตั้งใจเลิกงาน เมื่อถึงเวลาเลิกงานที่แท้จริงให้สแกนบัตรออกงานเหมือนกับวันอื่นๆ เพราะระบบจะทำการดึงการสแกนบัตรครั้งสุดท้ายของวันนำมาแสดงเป็นเวลาออก

3. ถ้ามาสแกนบัตรตั้งแต่ 7.00 น. แต่ไม่แน่ใจว่าตนเองได้สแกนบัตรแล้วหรือยัง จึงมาสแกนเข้างานอีกทีตอน 9.00 น. ระบบจะแสดงเวลาใดเป็นเวลาเข้างาน

ระบบจะดึงเวลาที่สแกนเข้างานครั้งแรกสุดคือ 07.00 น. มาแสดงในรายงานและหากใช้ระบบ Flexible Time ในการทำงานบุคลากรคนนั้นสามารถสแกนบัตรออกงาน ตั้งแต่เวลา 15.30 น. เป็นต้นไป สำหรับกรณีบุคลากรยังใช้รอบการทำงานเดิมให้ยึดเวลาเลิกงานเดิมตามรอบเวลาของตนเอง

4. ถ้ารายงานการปฏิบัติงานของตนเองแสดงเวลาไม่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร ?

แจ้งให้กับ Admin ประจำหน่วยงานของท่าน ทั้งนี้สามารถดูรายชื่อ Admin ประจำส่วนงานได้จาก ลิงค์รายชื่อ Admin ประจำส่วนงานที่ Web page: Flexible Time

5. ถ้ารายงานการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงานแสดงเวลาไม่ถูกต้อง ควรทำอย่างไร ?

ลำดับแรกให้ Admin ประจำหน่วยงานตรวจสอบกะงานที่ตั้งให้กับบุคลากรและวันเวลาที่ตั้งกะงานให้ถูกต้อง หากพบว่าตั้งกะงานผิดผลาดให้ทำการแก้ไขกะงานและออกรายงานใหม่อีกครั้ง ทั้งนี้หากตรวจสอบแล้วพบว่าการตั้งค่าต่างๆ ถูกต้อง ให้แจ้ง Admin HR ทราบเพื่อทำการแก้ไขต่อไป

6. ถ้าตอนเช้ามาทำงาน 8.45 น. และต้องการลาช่วงบ่ายจะสแกนเวลาออกได้ตอนกี่โมง ?

กรณีที่ต้องการลาช่วงบ่ายให้ทำงานในตอนเช้าให้ครบสามชั่วโมงครึ่ง (3.5)  โดยให้นับจากเวลาเข้างาน ถึงจะสแกนบัตรออกได้ เช่น หากมาสแกนเข้างานเวลา 8.45 น. สามชั่วโมงครึ่งนับจากเวลาเข้าคือ 12.15 น. เวลาที่สามารถสแกนออกได้คือ 12.15 น.

7. บุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีทุกคนสามารถเข้าทำงานแบบ Flexible Time ใช่หรือไม่ ?

บุคลากรบางกลุ่มตำแหน่งอาจไม่สามารถจะปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (Flexible) ได้  เช่น ผู้ที่มีความจำเป็นต้องเข้าปฏิบัติงานเป็นกะ หรือเป็นรอบเวลา  อาทิ พนักงานรักษาความปลอดภัย

8. หากบุคลากรในงานเดียวกันมี 3 คน ทุกคนต้องการเข้างาน เวลา 9.30 น. ทุกคน หัวหน้างานควรทำอย่างไร ?

หัวหน้างานควรเกลี่ยอัตรากำลังให้มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเพียงพอให้บริการในช่วงเวลาระหว่าง 7.30 – 9.30 น.อย่างเหมาะสม เพื่อรองรับผู้มาติดต่องาน โดยไม่กระทบต่อภารกิจของหน่วยงาน

9. การลางานครึ่งวันเช้า จะต้องระบุข้อมูลในแบบใบลา On Line ว่าเริ่มต้นลาเวลาเท่าไร ระบุอย่างไร ?

ตอบ   หลักการคือ ให้ระบุเวลาช่วงเช้า ถึงเที่ยง ให้เครื่องสามารถคำนวณได้จำนวน 0.5 วัน

อาทิ   ลาครึ่งวันเช้า  เวลา  08.00-12.00 น.  หรือ  08.30-12.00 น.  หรือ  09.00-12.00 น. ฯ

10. การลางานครึ่งวันบ่าย จะต้องระบุข้อมูลในแบบใบลา On Line ว่าเริ่มต้นลาเวลาเท่าไร ระบุอย่างไร ?

ตอบ   หลักการคือ ให้ระบุเวลาช่วงบ่าย ถึงเย็น ให้เครื่องสามารถคำนวณได้จำนวน 0.5 วัน

อาทิ   ลาครึ่งวันบ่าย  เวลา  12.00-16.00 น.  หรือ  13.00-16.30 น.  หรือ  13.00-17.00 น. ฯ