ม.มหิดล เชื่อมั่นศักยภาพเยาวชนเปลี่ยนโลกด้วย STEM EDUCATION
31/10/2022
ม.มหิดล พร้อมพิสูจน์ผลงานวิจัย-นวัตกรรมคุณภาพของน.ศ. สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยลงทุนวิทย์ 27 พ.ค.นี้ ที่นิทรรศการออนไลน์ SciEx 2022
31/10/2022
ม.มหิดล เชื่อมั่นศักยภาพเยาวชนเปลี่ยนโลกด้วย STEM EDUCATION
31/10/2022
ม.มหิดล พร้อมพิสูจน์ผลงานวิจัย-นวัตกรรมคุณภาพของน.ศ. สร้างความเชื่อมั่นประเทศไทยลงทุนวิทย์ 27 พ.ค.นี้ ที่นิทรรศการออนไลน์ SciEx 2022
31/10/2022

ครั้งแรกของโลก ม.มหิดล ค้นพบใช้ยาเบาหวานรักษาโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนเป็นผลสำเร็จในห้องปฏิบัติการ

1 ใน 45,000 คนทั่วโลกต้องประสบชะตากรรมจากอาการตาพร่ามัวเฉียบพลันจนกระทั่งตาบอดสนิทจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมตั้งแต่วัยเยาว์ ทางเดียวที่จะหยุดความโชคร้ายนี้ได้ คือ ความพยายามในการสร้างองค์ความรู้ทางการแพทย์อย่างไม่ย่อท้อของเหล่านักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ผู้เป็นที่พึ่ง

ด้วย “ปัญญาของแผ่นดิน” อันเป็นปณิธานอันแน่วแน่ของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นแรงผลักดันให้กับนักวิจัยและบุคลากรทางการแพทย์ของมหาวิทยาลัยมหิดลในการมุ่งสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อมวลมนุษยชาติต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง จากการค้นพบครั้งแรกของโลกโดยนำยาที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม เพื่อจุดประกายแห่งความหวังให้ผู้ป่วยไม่ต้องถอดใจยอมจำนนต่อโชคชะตาได้เป็นผลสำเร็จ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล อาจารย์แพทย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เจ้าของผลงานวิจัย “การศึกษาผลของเมทฟอร์มินต่อความผิดปกติของไมโทคอนเดรียของเซลล์สร้างเส้นใยที่ได้จากผู้ป่วยโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอน”

ประกาศนียบัตรจากมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

ในฐานะผู้คว้าทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 26 พ.ศ.2562 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย และทุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของความสำเร็จล่าสุดที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารระดับโลก MethodsX – journal elsevier (open access) เมื่อเร็วๆ นี้ ถึงการค้นพบวิธีการรักษาโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอน (Leber heredity optic neuropathy (LHON) จากการทดลองใช้ยาเมทฟอร์มิน (metformin) ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่พึ่งอินซูลิน ครั้งแรกของโลก

แม้จะเป็นเพียงการทดลองกับเซลล์ผู้ป่วยโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนซึ่งเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการก็ตาม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า จากผลการค้นพบครั้งแรกของโลกนี้คาดว่าจะสามารถขยายผลสู่การพัฒนายาเพื่อการรักษาโรคทางพันธุกรรมดังกล่าวอย่างจริงจังต่อไป ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคที่เกิดขึ้นจากการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรมอย่างไม่คาดฝันนี้ได้อย่างเห็นผลต่อไป

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ชยานนท์ พีระพิทยมงคล ได้อธิบายถึง สาเหตุของการเกิดโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนว่า มาจากการกลายพันธุ์ของยีนไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ซึ่งเป็นอวัยวะในระดับเซลล์ที่ช่วยในการหายใจ และสร้างพลังงาน โดยมีสารพันธุกรรมอยู่ในตัวเอง การกลายพันธุ์เกิดจากความบกพร่องในการถ่ายทอดอิเล็กตรอนที่สร้างระดับพลังงาน ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะที่ต้องการใช้พลังงานสูง เช่น เซลล์ประสาทตา

ทุนช่วยเหลือทางด้านวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 26 พ.ศ.2562 มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ประเทศไทย

สาเหตุที่โรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนมักพบในผู้ป่วยเพศชาย มากกว่าเพศหญิง เกิดขึ้นในช่วงปฏิสนธิในครรภ์มารดา โดยปกติแล้วอสุจิ (sperm) ที่มาจากบิดามักไม่ค่อยนำพาไมโทคอนเดรีย (mitochondria) มาด้วย พันธุกรรมที่ผิดปกติจึงได้รับจากทางมารดาเป็นหลัก ซึ่งผิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของโรคอื่นๆ

ผู้วิจัยได้ค้นพบว่า ยาเมทฟอร์มิน (metformin) ซึ่งใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานนั้นมีฤทธิ์ช่วยทำให้ไมโทคอนเดรียมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น จากการสนับสนุนการจัดเรียงตัวเป็นเครือข่ายเสริมความสามารถในการต้านภาวะอนุมูลอิสระ จนสามารถคงอยู่และยืนหยัดในภาวะเครียดได้

คาดว่าน่าจะยังประโยชน์และยืดเวลาที่จะเกิดอาการมองไม่เห็นได้พอสมควรในผู้ป่วยโรคตาบอดทางพันธุกรรมลอน ซึ่งมักพบในผู้ป่วยตั้งแต่วัยเพียง 10 ปี เริ่มด้วยอาการพร่ามัวในช่วงตรงกลางของจอตา ซึ่งควรจะเป็นช่วงที่ชัดที่สุดของการมองเห็น โดยอาการตาพร่ามัวจะเริ่มที่ตาข้างหนึ่ง ก่อนมีอาการอีกข้างตามมา และตาบอดสนิทในที่สุด

โรคตาบอดทางพันธุกรรมลอนอาจพบได้แม้ในรายที่ไม่แสดงอาการ โดยที่โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีบริการตรวจโรคดังกล่าวเพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยทางคลินิก และทำนายความเสี่ยงก่อนมีอาการในสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วย ณ ห้องปฏิบัติการอณูพันธุศาสตร์ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช ชั้น 4 อาคารศูนย์วิจัยการแพทย์ (SiMR) สอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 06-1593-3242

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วรรณภา อินทรประเสริฐ นักวิชาการโสตทัศนศึกษา
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.แนวหน้า 12-5-65 https://www.naewna.com/local/653090

2.ThaiPR.NET 12-5-65 https://www.thaipr.net/education/3189467

3.RYT9.COM 12-5-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3321709

4.เมดิคอลไทม์ 12-5-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=936

https://www.facebook.com/103365281554136/posts/442932157597445/?d=n

5.นิตยสารสาระวิทย์ 12-5-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/lhon-metformin/

6.ฐานเศรษฐกิจ 17-5-65 https://www.thansettakij.com/lifestyle/525104

7.LINE TODAY 17-5-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/l2wVOOL?utm_source=copyshare

8.ผู้จัดการออนไลน์ 13-5-65 https://mgronline.com/qol/detail/9650000045685

9.รายการคุยกันเช้านี้ วิทยุครอบครัวข่าว TV3 (ดำเนินรายการโดย คุณโอ๊ค-นิธินาฏ ราชนิยม) ออกอากาศสด ทาง ส.ทร.FM106 19-5-65 เวลา 09.40 น. https://fb.watch/d5T9eUjc3X/ (นาทีที่ 51.42 – 1.03.22)

10.เมดิคอลโฟกัส 19-5-65 http://www.medicalfocusth.com/index.php?page=news.read&type=1&id=1359

https://www.facebook.com/105816672004038/posts/147476537838051/?d=n

https://linevoom.line.me/post/_dY8ia-uRkM0QeIk-suYxDnrCWymKH2kQKDPpzxU/1165292448364543253

11.Health News Thailand 22-5-65 https://www.facebook.com/143696702651835/posts/pfbid02qFEruci75bmGyPikGwQCQP4qpbmpdUh2UVt6oXsptm8bN7F543MgJbCSUrBeeKtrl/

12.วารสารวงการแพทย์ ประจำเดือนพฤษภาคม 2565 หน้า 23 – 24 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-6-2-5.pdf

13.คอลัมน์ In-Focus, The Nation Thailand 17-5-65 https://www.nationthailand.com/in-focus/40015623