ม.มหิดล เยียวยาสุขภาวะครอบครัวด้วย Health Literacy
27/10/2022ม.มหิดล วิจัยยาใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เตรียมผลักดันสู่บัญชียาหลักแห่งชาติ ลดภาระค่ายาประชาชนคนไทย
27/10/2022แม้วิกฤติ COVID-19 จะทำให้เศรษฐกิจไทยส่วนใหญ่ต้องหยุดชะงัก แต่ยังมีธุรกิจไทยในบางกลุ่ม ซึ่งได้แก่ ธุรกิจด้านระบบกระจายสินค้า (Logistics) หรือส่งสินค้า Delivery ที่สามารถเจริญเติบโตฝ่าฟันไปจนถึงระดับ “ยูนิคอร์น” จากการประเมินมูลค่าทางการตลาด 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3 หมื่นล้านบาทไทยขึ้นไป
ในขณะที่สตาร์ทอัพหรือผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ส่วนใหญ่ฝันไกล จะไปให้ถึง “ยูนิคอร์น” จะมีสักกี่รายที่ตระหนักในข้อเท็จจริงของ “ยูนิคอร์น” ว่าเป็นเพียง “การประเมิน” ตัวเลขทางการตลาดจากการลงทุนรอบล่าสุดเท่านั้น ที่ไม่ใช่ตัวเลข “การซื้อขายทั้งกิจการจริง” ซึ่งอาจมีมูลค่าไม่ถึงตามที่ประเมินเอาไว้ก็ได้
โดย “ยูนิคอร์น” จะเกิดขึ้นได้มากน้อยในประเทศใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน อาทิ ระบบเศรษฐกิจ ระบบกฎหมาย ระบบภาษี ค่านิยม และการมีอยู่ของนิเวศน์บ่มเพาะธุรกิจ (startup ecosystem) และยังขึ้นกับการมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีดิสรัปชันของสตาร์ทอัพเองด้วย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยภัสร ธาระวานิช หัวหน้าสาขาวิชาการเงิน วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ผู้สอนหลักรายวิชาออนไลน์ “การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ” ทาง MUx กล่าวว่า หนึ่งในข้อจำกัดของการผลักดันสตาร์ทอัพสู่ “ยูนิคอร์น” คือเรื่องของ mindset ซึ่งพบว่ายังเป็นอุปสรรคสำคัญของคนไทยที่ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นแต่การทำการตลาดภายในประเทศ โดยยังขาดการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมารองรับ ทำให้ยังไม่สามารถฝ่าฟันสู่ตลาดต่างประเทศได้มากเท่าที่ควร
นอกจากนี้ ปัญหาที่พบส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพวางแผนการจัดสรรหุ้นในการระดมทุนในแต่ละรอบอย่างไม่เหมาะสม
ซึ่งการเสียสัดส่วนหุ้นไปเป็นจำนวนมากในการระดมทุนเพียงรอบเดียว อาจเห็นกิจการประสบผลสำเร็จในช่วงแรก แต่จะไม่สามารถทำให้ธุรกิจสตาร์ทอัพเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างมั่นคง
ผู้ประกอบการธุรกิจสตาร์ทอัพจึงจำเป็นต้องมีความรอบรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ซึ่งความรู้พื้นฐานด้านการระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพมีความสำคัญ โดยธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จจะต้องเริ่มต้นจากการมีผลิตภัณฑ์ (Product) ที่ดี และการวางแผนการบริหารจัดการเงินลงทุนที่เหมาะสมและรัดกุม โดยจะต้องมีการระดมทุนตามลำดับขั้น (stage financing) อย่างเหมาะสม
สิ่งที่ผู้เข้ารับการอบรมรายวิชาออนไลน์ “การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ” ทาง MUx จะได้รับ นอกจากการเรียนรู้ด้านการวางแผนการระดมทุนสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และการประเมินมูลค่าของธุรกิจได้ในแต่ละขั้นตอนของการระดมทุนแล้ว ยังได้เรียนรู้การบริหารความเสี่ยงของธุรกิจให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งได้เรียนรู้จากแบบจำลองทางธุรกิจ (Business Models) แบบต่างๆ สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพอีกด้วย
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนอบรมรายวิชาออนไลน์ “การระดมทุนของธุรกิจสตาร์ทอัพ” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมรับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate) จากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ http://mux.mahidol.ac.th
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.นิตยสารสาระวิทย์ 26-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/unicorn-startup/
2.ThaiPR.NET 26-4-65 https://www.thaipr.net/education/3183697
3.RYT9.COM 26-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3317371
4.LINE TODAY 4-5-65 https://today.line.me/th/v2/article/8ne3DXx
5.เส้นทางเศรษฐี 4-5-65 https://www.sentangsedtee.com/today-news/article_211648