ม.มหิดล หนุนองค์กรให้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิศวกรรมซอฟต์แวร์
20/12/2022
ม.มหิดล พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลกพัฒนาศักยภาพตรวจสารต้องห้ามนักกีฬา ควบคู่งานวิจัย
20/12/2022
ม.มหิดล หนุนองค์กรให้สามารถประยุกต์ใช้วิทยาการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพด้วยวิศวกรรมซอฟต์แวร์
20/12/2022
ม.มหิดล พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลกพัฒนาศักยภาพตรวจสารต้องห้ามนักกีฬา ควบคู่งานวิจัย
20/12/2022

ม.มหิดล เสริมทักษะสู่การเป็นสตาร์ทอัพระดับโลกอย่างยั่งยืน

นับตั้งแต่องค์การสหประชาชาติกำหนดหลักชัยสู่การบรรลุเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 8 ปีข้างหน้า ทิศทางการแข่งขันทางธุรกิจไม่ได้มุ่งแต่การเพิ่มยอดขายอีกต่อไปแต่คือการสร้างเครือข่าย “คืนความเป็นสีเขียว” ให้กับโลก

ซึ่ง SDGs ที่ยั่งยืนไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในระดับชาติ แต่คือการเปิดประตูสู่บริบทของความเป็นนานาชาติ เพื่อรวมพลังสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs ระดับโลกให้ได้ตามหลักชัยแห่งองค์การสหประชาชาติ

รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainability) และประธานสาขาการจัดการเพื่อความยั่งยืน (Managing for Sustainability) วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) จึงได้ริเริ่มจัดหลักสูตรการเรียนการสอนรายวิชาออนไลน์ “Sustainable Management for International Business and Startup” ทาง MUx ขึ้นเป็นภาษาอังกฤษครั้งแรก

โดยมุ่งเปิดมุมมองกลุ่มสตาร์ทอัพ ซึ่งประกอบไปด้วยคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจในการประกอบการธุรกิจที่ต่อยอดจากนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ตอบโจทย์สังคมในโลกยุคใหม่ให้ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ในบริบทแห่งความเป็นนานาชาติ

ด้วยแนวคิดที่แตกต่าง รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา ได้ให้มุมมองต่อหนทางสู่การเป็น “ยูนิคอร์น” หรือการเป็นสตาร์ทอัพระดับโลกว่า สามารถทำให้ยั่งยืนได้บนพื้นฐานสู่การบรรลุเป้าหมาย SDGs

“แทนที่จะมุ่งเน้นแต่เรื่องเทคโนโลยี เพียงแค่ใส่ “ความเป็นไทย” ลงไปในทุกสินค้า หรือบริการ ก็สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับการดำเนินธุรกิจของคนไทยในระดับโลกต่อไปได้ไม่ยาก” รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ พิมพา กล่าวแนะนำ

ซึ่งไม่เพียงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อขจัดความยากจน ตามเป้าหมาย SDG 1  No Poverty แล้ว ยังเป็นการได้สร้างคนสร้างงาน ตามเป้าหมาย SDG 8  Decent Work and Economic Growth ส่งเสริมเมืองและชุมชน ตามเป้าหมาย SDG 11 Sustainable Cities and Communities และเป็นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศให้เกิดความคุ้มค่าตามเป้าหมาย SDG 12 Responsible Consumption and Production อีกด้วย

โดยการเรียนการสอน “Sustainable Management for International Business and Startup” ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในชั้นเรียนออนไลน์ที่ได้รับความสนใจเกินเป้าหมายตั้งแต่เริ่มประกาศเปิดลงทะเบียน แต่ยังได้ต่อยอดขยายผลสู่การสร้างเครือข่าย และการจัดกิจกรรมสืบเนื่องเพื่อเสริมทักษะ SDGs สู่การใช้จริง และสร้าง “Change Agent” เพื่อเป็นตัวแทนส่งต่อแนวคิดและทักษะ SDGs ให้ขยายวงกว้างออกไปอย่างไม่สิ้นสุด

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าผู้ที่ดำเนินธุรกิจแทบทุกรายทำเพราะหวังผลกำไร แต่จะทำอย่างไรให้ “รวยอย่างมีเกียรติ และสมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์” ด้วยสำนึกแห่งความเป็น “พลเมืองโลก” ที่ใส่ใจต่อ “อนาคตของโลก” เท่านั้น จึงจะทำให้โลกอยู่รอด “เมื่อโลกอยู่รอด เราจึงอยู่รอด”

ผู้สนใจลงทะเบียนเรียนรายวิชาออนไลน์ “Sustainable Management for International Business and Startup” สามารถลงเบียน พร้อมรับประกาศนียบัตรออนไลน์จากมหาวิทยาลัยมหิดลโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ที่ http://mux.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.นิตยสารสาระวิทย์ 7-12-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/sustainable-startup/

2.ThaiPR.NET 7-12-65 https://www.thaipr.net/education/3277736

3.RYT9.COM 7-12-65  https://www.ryt9.com/s/prg/3380347

4.newswit 7-12-65 https://www.newswit.com/th/Lujk

5.Edupdate 7-12-65 https://www.edupdate.net/2022/30631/

6.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 7-12-65 https://www.technologychaoban.com/what-news/article_237258

7.คอลัมน์ถูกทุกข้อ นสพ.ไทยโพสต์ 12-12-65 หน้า 5 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-12-12-2.pdf