ม.มหิดล สร้างสรรค์ “ห้องสมุดดิจิทัลอัจฉริยะ” (Smart Digital Library) ปรับโฉมสู่พื้นที่แห่งการเรียนรู้ร่วมกันแบบไร้ขีดจำกัด รองรับชีวิตวิถีใหม่
03/11/2022ม.มหิดล เปิดโลกเมตาเวิร์สท่องอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติครั้งแรก
03/11/2022สับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของประเทศไทย นอกจากส่วนใหญ่นิยมนำเนื้อสับปะรดมารับประทานแล้วยังพบว่าทุกส่วนของสับปะรดยังสามารถนำมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้อีกมากมาย รวมทั้งเพื่อสิ่งแวดล้อม
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือนักวิทยาศาสตร์ไทยผู้มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มาอย่างยาวนานด้านการสร้างนวัตกรรมโดยใช้ประโยชน์จากส่วนต่างๆ ของสับปะรด แม้กระทั่งในส่วนที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมหาศาลจากภาคเกษตรกรรม ก็สามารถนำมาแปรเปลี่ยนให้เกิดมูลค่าสูงต่อไปได้ในภาคอุตสาหกรรม
ผลงานนวัตกรรมชิ้นล่าสุดของ รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัยอมรศักดิ์ชัย เกิดจากการค้นพบว่า ใบสับปะรดสามารถนำมาใช้ช่วยโลกพ้นวิกฤติมลพิษ จากการนำเส้นใยจากใบสับปะรดที่เป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรไปใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงาน
โดยใช้กระบวนการตรึงพอลิเมอร์ชนิดหนึ่งลงบนเส้นใยจากใบสับปะรด เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการดักจับโลหะหนักให้กับวัสดุจากธรรมชาติดังกล่าว
จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการกับตัวอย่างน้ำเสียจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่ และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์พบว่าเมื่อผ่านการกรองด้วยเส้นใยสับปะรดตรึงสารพอลิเมอร์ชนิดพิเศษดังกล่าวแล้วได้ผลเป็นที่น่าพอใจ
โดยสามารถลดการปนเปื้อนของสารตะกั่ว คอปเปอร์ เหล็กและนิกเกิล ได้อย่างเห็นได้ชัด และมีแนวโน้มว่าจะสามารถขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ต่อไปได้
จึงได้ร่วมกับทีมสตาร์ทอัพ “TEAnity” ซึ่งเป็นนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้การสนับสนุนโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อทำความฝันที่จะเห็นการต่อยอดผลงานวิจัยดังกล่าวสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้างได้เป็นจริง
ปัจจุบันนวัตกรรมเส้นใยสับปะรดบำบัดน้ำเสียกำลังอยู่ระหว่างเสริมแกร่งศักยภาพให้พร้อมนำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะต้องจัดการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานจำนวนนับพันลิตรขึ้นไปจึงต้องทำให้มั่นใจได้ว่าไม่ติดปัญหาในเรื่องปริมาณ และเวลา จึงจะสามารถ scale up สู่ระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้
รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย มองว่า ผลวิจัยส่วนใหญ่ที่ยังไปไม่ถึงฝั่งฝันของการใช้งานจริง เนื่องจากนักวิจัยไม่ได้ตั้งเป้าหมายสำหรับการใช้พัฒนาเพื่อการใช้งานจริงแต่เป็นเพียงการศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เท่านั้น หรืออาจจะต้องฟันฝ่าอุปสรรคหลายอย่าง ที่ต้องอาศัยทั้งความพยายาม ความอดทน และต้องมีจังหวะเวลาที่เหมาะสม จึงอาจล้มเลิกความตั้งใจไปก่อน
และอีกหนึ่งอุปสรรคในการนำผลงานวิจัยไปใช้จริง คือ ยังคงมีการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ค่อนข้างน้อย หรือหากมีการสนับสนุนก็ยังมีข้อจำกัดที่มากมาย นอกจากนี้แล้ว ทักษะด้านการจัดการ และการนำเสนอในมุมธุรกิจก็มีความสำคัญซึ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ขาดทักษะด้านนี้
ผลงานนวัตกรรมดังกล่าวได้รับการเติมเต็มข้อจำกัดที่ว่านี้ด้วยการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล ที่คอยให้คำปรึกษา และประสานการดำเนินการสู่เชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ
ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับนอกจากการสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจให้กับประเทศแล้ว ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปอีกด้วย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.เมดิคอลไทม์ 2-8-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1169
2.นิตยสารสาระวิทย์ 2-8-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/physical-therapy-benchmark/
3.ThaiPR.NET 2-8-65 https://www.thaipr.net/education/3219375
4.RYT9.COM 2-8-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3343581
5.newswit 2-8-65 https://www.newswit.com/th/LjfQ
6.Edupdate 2-8-65 https://www.edupdate.net/2022/26735/
7.The Bangkok Times 2-8-65 https://thebangkoktimes.com/2565080224
8.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 2-8-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_224012
9.นสพ.สยามรัฐ 4-8-65 หน้า 9 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-8-4-5.pdf