ม.มหิดล มอบความหวังประชากรโลก ช่วยกลุ่มเสี่ยงวัย 1-9 ปีรอดพ้นไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่
01/11/2022
ม.มหิดล เตรียมเปิด “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต” ติดจรวดสู่โลกอนาคต
01/11/2022
ม.มหิดล มอบความหวังประชากรโลก ช่วยกลุ่มเสี่ยงวัย 1-9 ปีรอดพ้นไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่
01/11/2022
ม.มหิดล เตรียมเปิด “ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้แบบบูรณาการชีวิต” ติดจรวดสู่โลกอนาคต
01/11/2022

ม.มหิดล เสริมแรงขับเคลื่อนสู่สังคมสร้างสรรค์ ด้วยพลังเครือข่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว

กว่าชีวิตหนึ่งจะเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์ “ครอบครัว” คือด่านแรกที่สำคัญที่สุดในการชี้ชะตาอนาคต

สาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กวัยรุ่นไทย เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทั้งๆ ที่กฎหมายไม่อนุญาตให้เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีขี่รถจักรยานยนต์ แต่ก็ยังคงพบ “นักบิดรุ่นวัยกระเตาะ” ใช้รถใช้ถนนกันอย่างน่าเป็นห่วง

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก (CSIP) ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คว้าทุนอุดหนุนโครงการขับเคลื่อนนโยบายชี้นำสังคม ประจำปีงบประมาณ 2564 จากมหาวิทยาลัยมหิดล

จากผลงาน “โครงการขยายผลงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กจากสิ่งที่ค้นพบสู่นโยบายและการปฏิบัติจริง”

ซึ่งหนึ่งในโครงการย่อยภายใต้โปรเจคดังกล่าว คือ “โครงการ 15 ปีไม่ขี่” ซึ่งได้มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม สู่การแก้ปัญหาการตายในเด็กจากการขี่รถจักรยานยนต์ก่อนวัยอันควร

โดยพบว่าอัตราการตายเพิ่มขึ้นตามความเจริญทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ยังคงไม่แสดงความรับผิดชอบต่อการโฆษณาเพื่อกระตุ้นการขาย ซึ่งมุ่งเป้าหมายไปที่เยาวชน โดยไม่ได้มีการประกาศเตือนถึงอายุที่เหมาะสมของผู้ใช้แต่อย่างใด

สิ่งที่ค้นพบสู่นโยบาย คือ การชี้ให้เห็นว่าการเรียนรู้เท่าทันด้านสุขภาพ และความปลอดภัย (Health and Safety Literacy) ด้วยตัวเด็กเอง โดยมีครอบครัวและผู้ใหญ่ที่มีความเข้าใจตรงกันสนับสนุน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยก่อนเข้าสู่วัยรุ่น และในวัยรุ่นระยะต้น จะเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ถึงอันตรายของการขี่รถจักรยานยนต์ก่อนวัยอันควรแบบมีส่วนร่วม นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมความปลอดภัยอย่างยั่งยืน

ครอบครัว โรงเรียน ชุมชนจึงมีบทบาทอย่างมากในการสร้างรูปแบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมนี้แก่เด็ก

ส่วนการปฏิบัติจริงเกิดจากการรณรงค์ และขับเคลื่อนผ่าน “เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว”

ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นโดยรวบรวมผู้มีส่วนร่วม ซึ่งได้แก่ คณะทำงานเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว และสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการฯ มาบอกเล่าประสบการณ์ และร่วมแสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดสู่สังคมต่อไป

“เป้าหมายของการรวบรวมฐานสมาชิก “เครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว” อยู่ที่ 2 แสนคน ภายใน 2 ปี จากการลงพื้นที่ศึกษาวิจัย และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อชุมชน ซึ่ง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งหวังให้เป็นพลังขับเคลื่อนสู่สังคมที่สร้างสรรค์”

“โลกอนาคตที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วขึ้น จะส่งผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวที่รุนแรงขึ้นตามกัน เชื่อว่าด้วยพลังเครือข่ายฯ สังคมที่มีการเรียนรู้ร่วมกัน และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงนี้ จะเป็นแรงผลักดันสู่อนาคตที่ยั่งยืนของประเทศชาติต่อไป” รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวทิ้งท้าย

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม  นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210