โครงการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล

โครงการเบิกจ่ายตรงเป็นโครงการที่คู่ขนานกับระบบเบิกจ่ายค่ารักษาเดิม (ใบเสร็จ, หนังสือต้นสังกัด) เป็นโครงการแบบสมัครใจสำหรับผู้มีสิทธิและบุคคลในครอบครัว ยกเว้นผู้ป่วยไตวายเรื้อรังและผู้ป่วยมะเร็งที่จำเป็นต้องใช้ยาควบคุมนอกบัญชีหลักแห่งชาติ ต้องเข้าระบบเบิกจ่ายตรงทุกคน ซึ่งฐานข้อมูลจากโครงการเบิกจ่ายจะถูกนำไปใช้เชื่อมโยงกับการจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดอีกด้วย
           สิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการเบิกจ่ายตรง
           – ผู้ป่วยนอก  ไม่ต้องทดรองจ่ายเงินไปก่อน

           – ผู้ป่วยใน     ไม่ต้องมีหนังสือรับรองการมีสิทธิ (หนังสือส่งตัว) จากต้นสังกัดไปยื่นให้สถานพยาบาลก่อนเข้ารับการรักษา


 ผู้มีสิทธิใช้บริการ

  1. ข้าราชการ
  2. ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ
  3. ผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ
  4. ลูกจ้างชาวต่างประเทศ (มีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่าย และสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้)
  5. บุคคลในครอบครัว (ที่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง) ทั้งนี้ กรณีบุตรบุญธรรมไม่สามารถใช้สิทธิจ่ายตรงได้

หมายเหตุ : บุคคลดังกล่าวข้างต้น กรณีที่มีสิทธิซ้ำซ้อน เช่น สิทธิประกันสังคม ข้าราชการรัฐวิสาหกิจ สิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการจ่ายตรงรักษาพยาบาลได้ ต้องใช้ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลหรือหนังสือรับรองจากต้นสังกัด (ใบส่งตัว) ประกอบการเบิกจ่ายจากต้นสังกัดของตน


 ข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. หนังสือกรมบัญชีกลาง เลขที่ กค 0417/ว 84 ลว 28 ก.ย. 49 เรื่อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาล 
  2. ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ
               1. ผู้รับบำนาญ กรอก แบบแสดงประวัติส่วนตัวผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ พร้อมเอกสารที่เกี่่ยวข้อง ยื่นติดต่อผ่านนายทะเบียนต้นสังกัดเดิม หรือติดต่อโดยตรงที่กองทรัพยากรบุคคล สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
               2. นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ ทำการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐให้สมบูรณ์
               3. กรมบัญชีกลาง ปรับปรุงข้อมูลที่สมบูรณ์แล้ว ทุก 15 วัน (กำหนดวันที่ 4 และวันที่ 18 ของเดือน)
               4. กรณีผู้ป่วยใน เมื่อเจ็ป่วยเข้ารักษาพยาบาลได้ทันทีในโรงพยาบาลของรัฐ โดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองการมีสิทธิ (หนังสือส่งตัว) จากต้นสังกัด
               5. กรณีผู้ป่วยนอก ทำการสมัครเข้าร่วมโครงการฯ โดยการบันทึกลายนิ้วมือ (วิธีสแกน) ณ โรงพยาบาลของรัฐ ที่ประสงค์จะเข้ารักษาพยาบาล ซึ่งสามารถสมัครร่วมโครงการฯ ได้ไม่จำกัดโรงพยาบาล หลังจากนั้น รอผลการอนุมัติให้ใช้ระบบภายใน 15 วัน นับจากวันที่สมัครเข้าร่วมโครงการฯ (วิธีสแกนลายนิ้วมือ) จึงจะสามารถใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงฯ ได้
  3. การตรวจสอบสิทธิจากเว็บไซต์กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th) ด้วยตนเองกรณีพบว่าไม่มีสิทธิ
              (1) ติดต่อ นายทะเบียนบำเหน็จบำนาญ (กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล)
    – คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 
    (ติดต่อ คุณศรีแพร รอดเกลี้ยง โทรศัพท์ 0-2849-6292)
    – คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี 
    (ติดต่อ คุณศรีแพร รอดเกลี้ยง โทรศัพท์ 0-2849-6292)
                  – ส่วนงานอื่นที่ไม่ใช่ส่วนงานข้างต้น (ติดต่อ คุณศรีแพร รอดเกลี้ยง โทรศัพท์ 0-2849-6292)
    (2) ติดต่อ เจ้าหน้าที่ กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (กสพ.) กรมบัญชีกลาง โทรศัพท์ 0-2271-0686-90 ต่อ 4441, 4684, 4318, 4319
    กรณีสแกนลายนิ้วมือที่โรงพยาบาลแล้ว ยังใช้สิทธิไม่ได้ (เกิน 15 วันแล้ว)
    (1) กรณีผู้มีสิทธิ์และบุคคลในครอบครัว ติดต่อโรงพยาบาลที่ลงทะเบียน
    (2) กรณีโรงพยาบาล ติดต่อสำนักงานกลางสารสนเทศ บริการสุขภาพ (สกส.) โทรศัพท์ 0-2832-9200กรณีถูกระงับสิทธิการเบิกจ่ายตรง
    ติดต่อ กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (กสพ.) กรมบัญชีกลาง โทรศัพท์ 0-2271-0686-90 ต่อ 4441, 4684, 4318, 4319
  4. เอกสารหลักฐานและแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
               – แบบแสดงประวัติส่วนตัวผู้รับเบี้ยหวัด/บำนาญ  
            
    – สำเนาบัตรประจำประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน/สูติบัตร ของเจ้าของสิทธิและบุคคลในครอบครัว ที่มีชื่อในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐของกรมบัญชีกลาง
            
    – สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาทะเบียนหย่าของบิดา คู่สมรส ทายาท
  5. แผนผังขั้นตอนดำเนินการ
              – ดูรายละเอียด Work Flow 

 ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

1) นายทะเบียนบำเหน็จบำนาญ (จำแนกตามส่วนงานที่เกี่ยวข้อง)
กองทรัพยากรบุคคล  สำนักงานอธิการบดี
โทรศัพท์ 0-2849-6391-2 โทรสาร 0-2849-6287


2) เจ้าหน้าที่
กลุ่มงานสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (กสพ.)
กรมบัญชีกลาง โทรศัพท์ 0-2271-0686-90 ต่อ 4441, 4684, 4318, 4319