คำถามที่พบบ่อย ด้านสุขภาพ

1. อนาคตจะมีการปรับเพิ่มจำนวนเงิน FLEXIBLE BENEFIT จาก 5,000 บาท หรือไม่

ตอบ การพิจารณาเพิ่มวงเงินเพื่อใช้กับสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่น (FLEXIBLE BENEFIT) อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย โดยการเพิ่มวงเงินจะต้องพิจารณาหลายด้านประกอบ เพราะจะกระทบกับวงเงินสวัสดิการการรักษาพยาบาลของพนักงานมหาวิทยาลัย คู่สมรส และครอบครัว ซึ่งต่อไปมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่จะปรับปรุงสวัสดิการการดูแลสุขภาพของพนักงานและญาติสายตรง

2. สวัสดิการการรักษาพยาบาลจากกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย วงเงิน 20,000 บาท ต่อปี บุคลากรจะสามารถใช้อย่างไร

ตอบ ในการใช้สิทธิรักษาพยาบาลของพนักงานมหาวิทยาลัย  ผู้ใช้สิทธิจะต้องใช้สิทธิประกันสังคมของตนก่อน โดยในส่วนที่ไม่สามารถใช้สิทธิได้จากกองทุนประกันสังคม ซึ่งเบิกได้ตามสิทธิราชการ  พนักงานสามารถนำมาเบิกกับกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัยในวงเงินค่ารักษาพยาบาลปีละไม่เกิน 20,000 บาท (ยังไม่หัก 5,000 บาท กรณีเลือกใช้สิทธิสวัสดิการสุขภาพแบบยืดหยุ่น (Flexible benefit) กรณีเกินกว่าวงเงินที่กำหนดในปีนั้น พนักงานมหาวิทยาลัยสามารถใช้สิทธิจ่ายร่วมกับมหาวิทยาลัย (Co-pay) ในวงเงิน 50,000 บาท (ตนเอง 25,000 : มหาวิทยาลัย 25,000 บาท)

3. สวัสดิการการรักษาพยาบาลจากกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย วงเงิน 20,000 บาท ต่อปี บุคคลในครอบครัวจะสามารถใช้อย่างไร

ตอบ บุคคลในครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัยสามารถใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ตาสิทธิข้าราชการ ในวงเงินที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4. หากประสงค์ให้ครอบครัวของบุคลากรเลือกสิทธิประกันสังคม เป็นโรงพยาบาลศิริราช หรือ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้หรือไม่

ตอบ ปัจจุบัน ในส่วนงานที่มีสถานพยาบาล ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มีการให้สวัสดิการย้ายสิทธิประกันสังคมให้กับญาติสายตรง (บิดา/มารดา/คู่สมรส/บุตร)ของบุคลากรในสังกัด  ซึ่งมหาวิทยาลัยอาจหารือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี หรือส่วนงานที่มีสถานพยาบาลพิจารณาสิทธิให้ครอบคลุมกับบุคลากรในสังกัดของมหาวิทยาลัยทั้งหมด

5.พนักงานมหาวิทยาลัยสามารถเลือกรูปแบบการรักษาพยาบาล รูปแบบที่ 1 ได้หรือไม่

ตอบ  พนักงานมหาวิทยาลัยที่บรรจุตั้งแต่เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ วันที่ 17 ตุลาคม 2550 จะเป็นรูปแบบการรักษาพยาบาล รูปแบบที่ 2 เท่านั้น

6. รายการใดที่สามารถนำมาเบิกสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพบ้าง

ตอบ สามารถศึกษารายการและเอกสารประกอบการเบิกได้จาก ประกาศคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดสวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ

7. หากเจ็บป่วย ต้องการใช้สิทธิประกันสังคม ต้องส่งเงินสมทบอย่างน้อยกี่เดือน

ตอบ บุคลากรต้องมีการส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเจ็บป่วย

8. วิธีการคำนวนเงินกรณีชราภาพจากกองทุนประสังคม

ตอบ      1) บำเหน็จชราภาพ

– กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ เท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน

– กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จเท่ากับจำนวนเงินสมทบส่วนของผู้ประกันตน + นายจ้าง พร้อมผลประโยชน์ทดแทนตามที่กำหนด

2) บำนาญชราภาพ ได้รับบำนาญชราภาพร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย หากมีการจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 180 เดือน จะปรับเพิ่มขึ้นให้อีกร้อยละ 1.5 ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบ ทุก 12 เดือน