1) บุคลากรที่สามารถเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ มีบุคลากรประเภทใดบ้าง
  • ข้าราชการ , พนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) , พนักงานมหาวิทยาลัยชื่อส่วนงาน (พส.) , พนักงานวิทยาลัย
  • สำหรับกลุ่มลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถขอตำแหน่งได้ หากมีความประสงค์จะขอตำแหน่งต้องเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยก่อน

Update ! (วันที่ 30 กรกฎาคม 2567)

2) พนักงานมหาวิทยาลัยชื่อส่วนงาน (พส.) เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) หรือข้าราชการ เปลี่ยนสถานภาพ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย (พม.) สามารถนับระยะเวลารวมเพื่อเป็นคุณสมบัติในการขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ สามารถนับระยะเวลารวมต่อเนื่องกันได้ ยกเว้นกรณีลูกจ้างหากเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแล้วไม่สามารถนับระยะเวลาต่อเนื่องได้ ต้องเริ่มนับระยะเวลาใหม่

3) การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ประเภท คู่มือปฏิบัติงาน งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ เผยแพร่เมื่อใด อย่างไร
  • เผยแพร่หลังจากที่ ก.บ.ค. มีมติอนุมัติให้ดำรงตำแหน่ง โดยเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่เสนอขอ จำนวน ๔ แห่ง โดยเป็นส่วนงานภายในมหาวิทยาลัยซึ่งมิใช่ส่วนงานที่ผู้เสนอขอตำแหน่งสังกัดอยู่จำนวน ๑ แห่ง และหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัยจำนวน ๓ แห่ง และให้ส่งหลักฐานแบบตอบรับ หรือหนังสือตอบขอบคุณจากหน่วยงานที่นำไปเผยแพร่แล้วไปยังมหาวิทยาลัยเพื่อจะได้ดำเนินการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น
4) ผลงานทางวิชาการที่นำมาเสนอขอตำแหน่ง มีการกำหนดอายุ (ระยะเวลา) ของผลงานหรือไม่
  • คำตอบ
    ไม่ได้กำหนดอายุ (ระยะเวลา) ของผลงาน แต่ควรคำนึงถึงความก้าวหน้าทางวิชาการ ความทันสมัยของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง การนำไปประยุกต์ใช้
5) กรณีข้าราชการประเภทวิชาชีพเฉพาะหรือประเภทเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่ได้รับอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นแล้ว แต่ต้องขอ ความเห็นชอบเงินประจำตำแหน่งไปยัง อว. ขอทราบระยะเวลาดำเนินการว่าจะได้รับเงินประจำตำแหน่งเมื่อใด

คำตอบ ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนได้ เนื่องจากทาง อว. ต้องตรวจสอบเอกสารและนำเสนอที่ประชุม เพื่อพิจารณาหรืออาจมีการขอเอกสารที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม โดยประมาณแล้วอยู่ระหว่าง 10 – 12 เดือน ทั้งนี้ หากได้รับการอนุมัติเงินประจำตำแหน่งจาก อว. แล้ว จะมีผลย้อนหลังให้ (ยกเว้นกรณีที่มีการแก้ไขค่างานจะมีผลตั้งแต่วันที่ ก.บ.ค. อนุมัติผลการประเมินค่างานที่ได้ปรับปรุงใหม่)

 

6) ระดับปฏิบัติการ ถ้าปฏิบัติงานไม่ถึงระยะเวลาตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถเสนอขอตำแหน่ง สูงขึ้นได้หรือไม่ หากเสนอขอตำแหน่งได้มีข้อแตกต่างจากผู้ที่ขอที่มีคุณสมบัติครบอย่างไร

คำตอบ

  1. หากปฏิบัติงานไม่ถึงระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยวิธีพิเศษ
  2. หากปฏิบัติงานครบระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด สามารถขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยวิธีปกติ

ความแตกต่างระหว่างวิธีปกติและวิธีพิเศษ

วิธีปกติ    คุณสมบัติด้านระยะเวลาครบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

  • คุณวุฒิปริญญาตรีปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
  • คุณวุฒิปริญญาโทปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • คุณวุฒิปริญญาเอกปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

วิธีพิเศษ  คุณสมบัติด้านระยะเวลาไม่ครบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

Update ! ( วันที่ 26 สิงหาคม 2567 )

7) กรณีที่บุคลากรเปลี่ยนตำแหน่งใหม่และมีความประสงค์เสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้น ซึ่งจะต้องรอให้ครบ คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยที่กำหนด ส่งผลให้ไม่สามารถเสนอขอตำแหน่งได้ ต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะครบคุณสมบัติตามเกณฑ์ จะมีวิธีการอย่างไรที่จะสามารถเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้โดยไม่ต้องรอให้ครบคุณสมบัติตามที่กำหนด
  • กรณีเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ส่งผลให้หน้าที่ความรับผิดชอบเปลี่ยนไปตามภาระงานที่กำหนดในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ดังนั้นผู้ที่เปลี่ยนตำแหน่งจะต้องรอระยะเวลาจนกว่าจะครบตามคุณสมบัติจึงจะขอตำแหน่งได้ หากประสงค์เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องรอระยะเวลาให้ครบสามารถยื่นเรื่องมายังมหาวิทยาลัยเพื่อขออนุมัตินับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น โดยชี้แจงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ จัดทำตารางเปรียบเทียบภาระงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงภาระงานที่เคยปฏิบัติในตำแหน่งเดิมและตำแหน่งใหม่ว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกันอย่างไร และข้อตกลงการปฏิบัติงาน (PA) ย้อนหลัง 3 ปี หรือ 5 ปี ตามคุณวุฒิแรกบรรจุ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาการนับระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมรวมกับตำแหน่งใหม่เพื่อใช้เป็นคุณสมบัติในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
8) ผลงานที่เคยทำไว้ตอนที่ดำรงตำแหน่งเดิมหากเปลี่ยนตำแหน่งใหม่จะสามารถนำผลงานเดิมมายื่นเสนอขอ ตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร
  • สามารถนำผลงานเดิมที่สร้างสรรค์ไว้ตอนที่ดำรงตำแหน่งเดิมมาประกอบการเสนอขอตำแหน่งได้ โดยผลงานที่นำมาขอตำแหน่งต้องเป็นผลงานที่สอดคล้องภาระงานที่ปฏิบัติและตำแหน่งที่ครองอยู่ (ตำแหน่งที่เปลี่ยน)เนื่องจากจะสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในงานของตำแหน่งที่ครองอยู่
9) ผลงานวิจัยสำหรับขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญมีการกำหนดหรือไม่ว่าต้องตีพิมพ์ในระดับใด Q1 หรือ Q2 หรือ และต้องมี Citation ในระดับเท่าไร

การขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ
งานวิจัยต้องตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ (TCI กลุ่ม 1 หรือ 2) และหรืออยู่ในระดับนานาชาติ โดยไม่ได้กำหนดระดับใด Q และ Citation

10) การนำเสนอบทความวิจัยและบทความทางวิชาการ ในการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ (Proceedings) สามารถนำผลงานเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่
  • ระดับผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ สามารถนำผลงานที่เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ
  • ระดับชาติหรือนานาชาติมาเสนอขอตำแหน่งได้ โดยจะต้องแสดงหลักฐานดังนี้ ปก Proceedings , รายชื่อPeer review และผลงาน
11) งานวิเคราะห์กับงานสังเคราะห์ต่างกันยังไง พร้อมยกตัวอย่างแต่ละงานประกอบ

คำตอบ

งานวิเคราะห์ เป็นการแยกแยะองค์ประกอบของเรื่องอย่างมีระบบ มีการศึกษาในแต่ละองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ  เช่น การวิเคราะห์เอกสาร เช่น วิเคราะห์งบประมาณ , วิเคราะห์หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ไม่ใช่แนบบสอบถาม แต่จะใช้การเก็บรวบรวม- ข้อมูล หรือผลงานบางเรื่องไม่มีประชากร เช่น วิเคราะห์ยุทธศาสตร์ , วิเคราะห์แผน , วิเคราะห์กลยุทธ์ หากมีประชากร จะไม่ใช้แนบบสอบถาม เช่น วิเคราะห์อัตรากำลัง , วิเคราะห์ค่างาน หรือภาระงาน

งานสังเคราะห์ เป็นผลงานที่รวบรวมเนื้อหาสาระต่าง ๆ หรือองค์ประกอบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างรูปแบบหรือโครงสร้างเบื้องต้น เพื่อให้เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ ในเรื่องนั้น ๆ เกิดแนวทางหรือเทคนิควิธีการทำงานใหม่ โดยเน้นที่เป็นของใหม่หรือเหตุการณ์ หรือปรากฎการณ์ หรือองค์ความรู้ใหม่

Update ! ( วันที่ 27 กันยายน 2567 )

12) คุณสมบัติของผู้ประเมินผลงาน มีคุณสมบัติอย่างไร

คำตอบ     ผู้ทรงคุณวุฒิที่ทำหน้าที่ประเมินผลงาน หากเป็นสายสนับสนุนจะมีตำแหน่งที่สูงกว่าผู้ที่เสนอขอตำแหน่ง เช่น หากผู้เสนอขอตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิจะต้องมีตำแหน่งระดับผู้ชำนาญการพิเศษขึ้นไป หากเป็นสายวิชาการมีตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไป ทั้งนี้ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ผู้เสนอขอตำแหน่งขอรับการประเมิน

13) เอกสารประกอบการบรรยายควรมีรายละเอียดยังไงบ้าง

คำตอบ     เอกสารประกอบการบรรยาย ประกอบด้วยรายละเอียดครบถ้วน สมบูรณ์ จนสามารถทำความเข้าใจในสาระสำคัญนั้นได้โดยเบ็ดเสร็จ สามารถประเมินความชัดเจนขององค์ความรู้ ความครอบคลุมเนื้อหาและความถูกต้องได้ดียิ่งขึ้น อาจมีภาพตัวอย่างข้อมูล หรือกรณีศึกษาประกอบ

14) คำจำกัดความของ full paper, abstract, proceeding มีความหมายอย่างไร

คำตอบ

Full paper         หมายถึง ผลงานฉบับเต็มที่มีเนื้อหาครบถ้วน สมบูรณ์ (บทที่ 1 – 5) ,

Abstract            หมายถึง ข้อมูลสรุปเนื้อหาของงานวิจัย/บทความทางวิชาการ ใช้ข้อความสั้นกระทัดรัดและกระชับ(Concision) มีความถูกต้อ(Precision) และมีความชัดเจน (Clarity)

Proceedings     หมายถึง ชุดเอกสารที่ตีพิมพ์ที่ใช้ประกอบในการประชุมวิชาการในระดับชาติ/นานาชาติ ซึ่งจะอยู่ในรูปของรวมหนังสือการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ

15) งานวิจัยที่เสนอขอตำแหน่งในระดับผู้ชำนาญการพิเศษต้องตีพิมพ์เผยแพร่หรือไม่ และลักษณะการเผยแพร่มีวิธีใดบ้าง

คำตอบ     กรณีเสนอผลงานวิจัยต้องตีพิมพ์เผยแพร่ก่อน โดยการเผยแพร่สามารถทำได้ 3 วิธี ดังนี้

  1. รูปแบบการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ
  2. รูปแบบหนังสือรวมบทความ
  3. รูปแบบรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
16) การเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ หัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนฯ ต้องแสดงหลักฐานใดบ้าง

คำตอบ     หัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุนฯ หมายถึง การให้ความเห็น คำแนะนำ หรือเสนอแนะ  การให้คำปรึกษาแนะนำ การอบรมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ เทคนิคและวิธีการในการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนางานสนับสนุนงานบริการวิชาการหรืองานวิชาชีพนั้น ๆ เอกสารหลักฐาน ได้แก่ คำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการหรือที่ปรึกษาในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง, หนังสือเชิญเป็นวิทยากร , ยกเว้น รูปถ่าย หรือกิจกรรมที่ทำโดยภาระหน้าที่รับผิดชอบหรือได้รับมอบหมาย หรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตน

Update ! ( วันที่ 28 ตุลาคม 2567 )

17) ถ้าได้รับเชิญให้เป็นผู้บรรยายระดับชาติ มีจดหมายเชิญและมี agenda ชัดเจนแล้วมีเอกสารประกอบคำบรรยายนับเป็น ผลงานได้หรือไม่ และนำมาเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ     สามารถนับเป็นผลงานที่นำมาใช้เสนอขอตำแหน่งได้ในประเภทเอกสารประกอบการบรรยาย (3 หัวข้อ เท่ากับ 1 เรื่อง)หรือหากไม่นำมาเป็นผลงานในการเสนอขอตำแหน่ง สามารถนำมาใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อการใช้ความรู้ความสามารถในงานสนับสนุน

18) หากทำผลงานเพื่อเสนอขอตำแหน่งผู้ชำนาญการพิเศษ สามารถสะสมผลงานไว้ขอตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญควบคู่กันได้หรือไม่

คำตอบ    สามารถทำผลงานสะสมไว้ได้

19) หากมีฐานะเป็น Corresponding author จะต้องแสดงหลักฐานอย่างไร

คำตอบ     หลักฐานจะปรากฏในผลงานที่ตีพิมพ์อย่างชัดเจน เช่น * หรือ        ท้ายชื่อบุคคลนั้น ๆ

20) กรณีทำผลงานร่วมกันทำ 2 คน สามารถแบ่งร้อยละการมีส่วนร่วมร้อยละ 50 ทั้ง 2 ได้หรือไม่

คำตอบ     กรณีทำผลงานร่วมกัน 2 คน และแบ่งการมีส่วนร่วมร้อยละ 50 เท่า ๆ กัน สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้ทั้ง 2 คน และให้ถือว่าทั้ง  2 คน เป็นผู้ดำเนินการหลัก

21) การคำนวณภาระงานย้อนหลัง 3 ปี คำนวณอย่างไร

คำตอบ   การคำนวณชั่วโมงปฏิบัติงาน ดังนี้

ชั่วโมงปฏิบัติงานวันปกติ ปฏิบัติงานวันละ 7 ชม

จำนวนวันทำการปกติ (จันทร์ – ศุกร์) 5 วันจำนวนสัปดาห์ต่อปี  52 สัปดาห์

ดังนั้น คำนวณจาก (7 ชม.*5 วัน)* 52 สัปดาห์ =   1,380 ชั่วโมงทำการต่อปี

Update ! ( วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 )

22) กรณีมิใช่ผู้ดำเนินการหลัก ซึ่งมีส่วนร่วมน้อยกว่าร้อยละ 50% หรือไม่ใช่ชื่อแรกสามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ    สามารถนำมาเสนอขอตำแหน่งได้ โดยให้ถือว่าเป็นผลงานที่เป็นผู้ร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ผู้ขอตำแหน่งต้องมีผลงานหลักของ

ตนเองตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วย

23) กรณีที่ผู้ขอตำแหน่งเคยนำผลงานมาใช้ขอตำแหน่งไปแล้ว ผู้ร่วมงานจะนำผลงานนั้นมาขอตำแหน่งสามารถ ใช้ผลการ ประเมินเดิมได้หรือไม่ อย่างไร

คำตอบ   กรณีการขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นในระดับตำแหน่งเดียวกัน และสาขาวิชาเดียวกันกับที่ได้เคยขอตำแหน่งสูงขึ้นมาแล้วหากมีการนำผลงานทางวิชาการเดิมที่เคยเสนอเพื่อพิจารณากำหนดตำแหน่งสูงขึ้นมาก่อนมาเสนอขอกำหนดตำแหน่งสูงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ขอตำแหน่งคนเดิมหรือคนใหม่ ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใช้ผลการพิจารณาผลงานทางวิชาการเดิมแต่ละเรื่องที่ผ่านการพิจารณามาแล้วนั้น โดยไม่ต้องพิจารณาผลงานทางวิชาการนั้นใหม่อีก เว้นแต่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าเป็นผลงานที่ไม่เป็นปัจจุบันหรือมีเหตุสมควรอื่นที่ไม่ใช้ผลการพิจารณานั้น

24) งานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ ต้องยื่นขอการรับรองจริยธรรมการวิจัยด้วยหรือไม่ เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลซึ่งเป็น ประชากร

คำตอบ    ปัจจุบันงานวิเคราะห์ งานสังเคราะห์ มหาวิทยาลัยยังไม่กำหนดให้ขอการรับรองจริยธรรมการวิจัย แต่หากมีการต่อยอดเป็นงานวิจัย เห็นสมควรให้ยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในคนไว้ก่อน เนื่องจากการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยไม่สามารถยื่นขอย้อนหลังได้

25) หากผลงานที่เสนอขอตำแหน่งเป็นประเภทงานวิจัยและเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยได้รับการรับรองจากสถาบันอื่น ซึ่งมีผู้ร่วมงานที่สถาบันนั้นเป็นผู้ขอเอกสารรับรองฯ และผู้ขอตำแหน่งเป็นผู้ร่วมดำเนินการ สามารถนำผลงานดังกล่าวมา ขอตำแหน่งได้หรือไม่

คำตอบ     สามารถนำมาขอตำแหน่งได้

26) การตีพิมพ์ผลงานแบบ review article นับเป็นผลงานประเภทใด

คำตอบ    ประเภทบทความทางวิชาการ

Update ! (  วันที่ 20 ธันวาคม 2567 )

27) ถ้าผลงานวิจัยอยู่ใน Q1จะถือว่าผลงานชิ้นนี้อยู่ในระดับดีเด่นได้หรือไม่

คำตอบ     การพิจารณาผลงานไม่ได้ขึ้นอยู่กับ Q แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

28) แบบเสนอขอตำแหน่งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03) สามารถใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้หรือไม่

คำตอบ   แบบเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (พม.03) เป็นเอกสารที่ส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมหาวิทยาลัยพิจารณา ประกอบ

กับผลงานที่ยื่นเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่สามารถใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในแบบ พม.03 ได้

  • (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่หนังสือ ที่ อว 78 / 04669 เรื่อง การปฏิบัติตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ สำหรับเอกสารภายในมหาวิทยาลัย)
29) การติดตามการขอตำแหน่งสายสนับสนุนสามารถติดตามผ่านช่องทางใดได้บ้าง

คำตอบ    สามารถติดตามได้ดังนี้

  •  ระบบ HR-Connect > ระบบขอตำแหน่งสายวิชาการ/สนับสนุน > ระบบขอตำแหน่งสายสนับสนุน
  •  e-mail เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น
  •  เบอร์โทรศัพท์ 02-8496388 และ 02-8496293
30) ตัวอย่างผลงานการขอตำแหน่งสายสนับสนุนดูได้ที่ไหน

คำตอบ     สามารถดูได้ที่ลิงค์นี้  :  http://intranet.mahidol/op/orpr/newhr/?page_id=126