ม.มหิดลแนะออกกำลังกายแบบแอโรบิก‘ต่อลมหายใจและชีวิต’ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
31/10/2024
ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลร่วมค้นพบ‘เชื้อลิชมาเนีย’สายพันธุ์ใหม่ เตรียมขยายผลยกระดับเฝ้าระวังเชิงนโยบาย
31/10/2024
ม.มหิดลแนะออกกำลังกายแบบแอโรบิก‘ต่อลมหายใจและชีวิต’ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน
31/10/2024
ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลร่วมค้นพบ‘เชื้อลิชมาเนีย’สายพันธุ์ใหม่ เตรียมขยายผลยกระดับเฝ้าระวังเชิงนโยบาย
31/10/2024

ม.มหิดลชี้ทางแปรเปลี่ยน‘ความเจ็บป่วย’ เป็น‘พลังต่อสู้’ สู่‘การเริ่มต้นชีวิตใหม่’ผู้ป่วยโรคจิตเวช

หากเราสามารถแปรเปลี่ยน ความเจ็บป่วย เป็น พลังอำนาจแห่งการต่อสู้ ชัยชนะแห่ง ความมุ่งมั่นรักษา จะทำให้เราอยู่เหนือ ความเจ็บป่วย ได้ เช่นเดียวกับมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ หากหวาดหวั่นต่อการเจ็บครรภ์คลอดบุตร ชีวิตใหม่ ก็ไม่อาจถือกำเนิด

อุปสรรคสำคัญของการรักษาโรคที่เกิดจาก ความเจ็บป่วยทางจิตใจ จนต้องเข้าสู่ กระบวนการรักษาทางจิต หากหวั่นกลัวต่อการเข้ารับรักษาอย่างต่อเนื่อง จะไม่อาจพบกับปลายทางสู่ การเริ่มต้นชีวิตใหม่

เภสัชกรหญิงรัศมี ลีประไพวงษ์ เภสัชกรประจำห้องยาผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวช โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกเล่าถึง ชัยชนะ หรือ เป้าหมายการรักษา ของ ผู้ป่วยโรคจิตเวช คือ การช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาจากอาการที่เป็นอยู่ เข้าสู่ระยะโรคสงบ จนกระทั่งฟื้นตัวกลับไปใช้ชีวิต และเข้าสู่สังคมได้ตามปกติ ผู้ป่วยโรคจิตเวชมีโอกาสหันไปพึ่งพายาเสพติดได้ ในขณะเดียวกันผู้ติดสารเสพติดก็อาจมีอาการทางจิตและประสาทร่วมด้วย

ยากลุ่มโอปิออยด์ ออกฤทธิ์โดยจับกับ ตัวรับในอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง มีฤทธิ์การรักษา คือ ระงับปวด กดอาการไอ เป็นต้น แต่ก็มีฤทธิ์ทำให้เคลิ้มสุขได้เช่นกัน การใช้ยากลุ่มนี้ต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่งๆ จึงอาจทำให้เกิดการเสพติดได้ ปัจจุบันมีการนำ ยากลุ่มโอปิออยด์มาใช้ในการบำบัดการเสพติดจำพวกเฮโรอีน และบรรเทาปวด

ยา Methadone ซึ่งเป็น ยากลุ่มโอปิออยด์ ถูกนำมาใช้ในการบำบัดผู้ติดเฮโรอีน การให้ยาจะเริ่มจากการ ปรับขนาดยา อย่างช้าๆ จนกระทั่งเห็นผลการรักษา เป็นขนาดยาที่บรรเทาความรุนแรงของอาการถอนยาเพื่อให้คนไข้ไม่หันกลับไปใช้สารเสพติด และไม่ทำให้เกิด อาการข้างเคียง หากได้รับยาในขนาดที่สูงจนเกินไป เช่น ซึม หายใจช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไม่รู้ตัว กดการหายใจ จนกระทั่งเสียชีวิต

อย่างไรก็ดี ยากลุ่มโอปิออยด์ จัดเป็นยาที่ต้องอยู่ภายใตัการดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรหยุดใช้เมื่อควบคุมอาการของโรค หรืออาการปวดได้แล้ว เนื่องจากฤทธิ์ที่ทำให้เคลิ้มสุขอาจนำไปสู่การใช้ในทางที่ผิด ซึ่งอาจย้อนกลับมาทำร้ายสุขภาพตัวเองได้

โดยปัญหาและอุปสรรคทุกอย่างล้วนมีทางแก้ เช่นเดียวกับ ความเจ็บป่วยทางจิตใจ จนต้องเข้าสู่ กระบวนการรักษา ก็เป็นเช่นดั่ง ดวงไฟ ที่สามารถปรับให้ มืด หรือ สว่าง ได้ด้วย ความร่วมมือในการรักษากับแพทย์ผู้สั่งยา และขอรับ คำปรึกษาการใช้ยา จากเภสัชกร ซึ่งพร้อมที่จะให้คำแนะนำเรื่องการใช้ยา

ความไม่มั่นใจ ส่วนใหญ่มักเกิดจาก การขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งหากได้รับ คำปรึกษาที่ดี จาก ผู้รู้ และ กำลังใจที่ดี จาก ผู้ดูแล จะช่วยให้เกิด ความเชื่อมั่น และกลับมา ลุกขึ้นสู้ เพื่อ เปิดประตูสู่ชีวิตใหม่ ที่มีบุคลากรทางการแพทย์ศิริราชคอยเป็น แรงสนับสนุน

เพราะ ทุกชีวิตมีคุณค่า เกินกว่าจะต้อง ถูกจำกัดย่างก้าว เพราะ แพ้ใจตัวเอง

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งเพื่อสนับสนุนงานวิจัย วิชาการ และบริการผู้ป่วยจิตเวชและระบบประสาท บริจาคเข้า กองทุนเพื่อการพัฒนาประสาทจิตเวชศาสตร์ไทย” (รหัสกองทุน D004090) ผ่านระบบ e-donation ศิริราชมูลนิธิ รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษี 2 เท่า สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2419-7373-4, 0-2419-7422 และ 0-2419-4293-8

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th

สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิตินวตาร ดิถีการุณ นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ) งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

ข่าวได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชนดังนี้ค่ะ

1.Hfocus 30-7-67 https://www.hfocus.org/content/2024/07/31226

https://www.facebook.com/share/1mFfeb92c8khWYjM/?mibextid=WC7FNe

2.เปลวสีเงิน 31-7-67 https://plewseengern.com/plewseengern/146862

https://www.facebook.com/share/1gY7QxvzNHqRE6Ch/?mibextid=WC7FNe

https://x.com/mahidolpr/status/1818865983152701441

3.เมดิคอลไทม์ 31-7-67 http://www.medi.co.th/news_detail41.php?q_id=4021

4.นิตยสารสาระวิทย์ 31-7-67 https://www.nstda.or.th/sci2pub/new-beginning-for-psychiatric-patients/