เผยแพร่:
เผยแพร่:
อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ในสังคมยุคปัจจุบัน หลายครอบครัวมีแนวคิดและวิธีการในการเลี้ยงลูกแตกต่างกันไป ซึ่งนอกจากปัจจัยทางด้านพันธุกรรมของเด็กแล้ว การอบรมเลี้ยงดูเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อพัฒนาการ การเรียนรู้และพฤติกรรมของเด็ก ๆ เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น การเลี้ยงลูกแบบที่ประคบประหงมมากจนเกินไป เพราะไม่อยากขัดใจลูกหรือกลัวลูกไม่รัก อาจไม่ใช่สิ่งที่ดีต่อลูกเสมอไป ดังนั้น พ่อแม่ควรให้ความใส่ใจ ให้ความสำคัญรวมถึงให้ความรักอย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยสุขภาพกายและสุขภาพใจที่ดี ซึ่งรูปแบบการเลี้ยงดูของพ่อแม่ จะมีส่วนในการส่งเสริมพฤติกรรมของเด็กอีกทางหนึ่งด้วย มีการแบ่งลักษณะการเลี้ยงดูของพ่อแม่ไว้เป็น 4 ประเภท ตามทฤษฎีของนักจิตวิทยาหญิงชาวอเมริกัน “Diana Baumrind” นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบิร์คลีย์ เป็นผู้หนึ่งที่สนใจศึกษารูปแบบการอบรมเลี้ยงดูอย่างจริงจัง โดย Baumrind ได้เสนอมิติสำคัญในการอธิบายพฤติกรรมของบิดามารดาในการอบรมเลี้ยงดูบุตรว่าประกอบด้วย 2 มิติ คือ 1) มิติควบคุมหรือเรียกร้องจากบิดามารดา และ 2) มิติการตอบสนองความรู้สึกเด็ก จากการผสมผสาน 2 มิติ ทำให้ Baumrind จัดรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเป็น 3 รูปแบบ คือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (ควบคุมและตอบสนองความรู้สึกเด็ก) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบควบคุม (ควบคุมแต่ไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) และรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (ไม่ควบคุมแต่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก) ต่อมา Maccoby and Martin สองนักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เพิ่มรูปแบบการเลี้ยงดูแบบที่ 4 เพิ่มเติมคือ รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง (ไม่ควบคุมและไม่ตอบสนองความรู้สึกเด็ก)
1.การอบรมเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ (Authoritative Parenting Style) คือ ผู้ปกครองจะเปิดโอกาสให้เด็กได้ลองเรียนรู้ มีอิสระในการทำสิ่งต่าง ๆ มีการใช้เหตุและผลทั้งของพ่อแม่และลูกมาประกอบกัน ให้ลูกได้แสดงความคิดเห็นและตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ของครอบครัวได้ พ่อแม่แบบนี้จะให้ความรัก ความอบอุ่นและใส่ใจต่อลูกมาก เด็กที่เติบโตมาจะเป็นเด็กที่มีความสุข ควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี มีทักษะทางสังคมที่ดี มีความเชื่อมั่นในตนเอง และเห็นคุณค่าในตัวเอง สามารถปรับตัวต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี
2.การอบรมเลี้ยงดูแบบเข้มงวด (Authoritarian Parenting Style) คือ ผู้ปกครองมีความเข้มงวดอย่างมาก มีการวางระเบียบและกฎเกณฑ์ให้เด็กปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด โดยไม่ค่อยอธิบายถึงเหตุผลให้เด็ก ๆ ฟัง จะใช้เหตุผลของตนเองเป็นหลัก เด็กที่เติบโตมาด้วยการเลี้ยงแบบนี้ จะเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย แต่จะไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นของตัวเอง หรือกล้าตัดสินใจเรื่องอะไรด้วยตัวเอง อาจมีความก้าวร้าวซ่อนอยู่ภายใน และมีความต้องการเป็นตัวของตัวเองค่อนข้างสูง
3.การอบรมเลี้ยงดูแบบตามใจ (Permissive Parenting Style) ผู้ปกครองให้ความรักและความเอาใจใส่ในตัวเด็กสูงมาก ผู้ปกครองในกลุ่มนี้จะพยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างตามที่เด็กต้องการได้โดยไม่มีข้อแม้ เมื่อมีการตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาก็ไม่สามารถใช้กฎเกณฑ์เหล่านั้นกับเด็ก ๆ ทำให้เด็กเติบโตขึ้นมาจะกลายเป็นคนที่ไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีความรับผิดชอบ ค่อนข้างเห็นแก่ตัวเนื่องจากเคยผู้รับเพียงอย่างเดียว จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ยาก
4.การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย (Uninvolved Parenting Style) ผู้ปกครองจะไม่ค่อยได้ตอบสนองต่อความต้องการของเด็ก ๆ เวลาที่เด็ก ๆ ต้องการพูดคุยหรือถามในสิ่งที่ตนเองสงสัย ขณะที่ลูกมีพัฒนาการที่ยังไม่เหมาะสมกับช่วงวัย หรือมีพฤติกรรมบางอย่างที่ต้องได้รับการแก้ไขก็ไม่มีความสนใจที่จะปรับปรุงแก้ไข เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและเสียเวลา เด็กเติบโตขึ้นมาจากการเลี้ยงดูด้วยสภาพแวดล้อมแบบนี้จะมองโลกในแง่ร้าย เป็นคนเก็บกด อาจมีปัญหาด้านพัฒนาการ มองไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง เข้าสังคมลำบาก
อาจารย์ธามกล่าวว่า “การเลี้ยงลูกด้วยวิธีการที่ดี คือ การเลี้ยงดูแบบเอาใจใส่ดูแลตามพัฒนาการ แบบ Authoritative Parenting Style” แต่เราก็ไม่สามารถบอกได้ว่าการเลี้ยงดูแบบนี้ จะเหมาะสมกับเด็กทุกคน บางครั้ง การเบี่ยงเข้าไปสู่สไตล์การเลี้ยงดูแบบอื่น ๆ ก็จำเป็นสำหรักเด็กเช่นกัน เช่น การดูแลแบบเข้มงวด กวดขัน เหมาะสำหรับเด็กที่ไม่สามารถกำกับตัวเองได้ อาจจะมีความดื้อ ไม่เป็นระเบียบ เพราะฉะนั้นพ่อแม่ต้องเข้าไปกำกับมากขึ้น หรือการเลี้ยงดูแบบเสรีตามใจ แม้จะฟังดูว่าไม่ดี อาจจะตามใจลูกจนเหลิง จนเอาแต่ใจ แต่ถ้าเป็นเด็กที่ควบคุมตนเองได้บ้าง การให้เสรี ก็อาจจะหมายความว่าให้อิสระกับเด็กได้ตัดสินใจด้วยตนเอง ฉะนั้น แนวทางการเลี้ยงดู พ่อแม่คงต้องผสมผสานกันไปอย่างกลมกล่อม คือ มีแนวทางการเลี้ยงดูหลัก แต่ก็ผสมผสานการแเลี้ยงดูแนวทางอื่น ๆ บ้างในสัดส่วน ประมาณ 80:20 ก็จะดี”
นอกจากรูปแบบการเลี้ยงดูแล้ว ครอบครัวเองก็มีส่วนความสำคัญไม่แพ้กันที่จะช่วยปลูกฝังหล่อหลอมเด็กให้เติบโตขึ้นมาเป็นคนดีของสังคมได้ โดยเด็กส่วนใหญ่ที่มีปัญหาพบว่าเด็ก ๆ เหล่านี้จะอยู่ใน “ครอบครัวที่บกพร่อง” (dysfunction family) โดยแนวคิดนี้ มาจากนักจิตวิทยาครอบครัว ที่ชื่อว่า “John Bradshaw” ซึ่งหมายถึง “ครอบครัวที่สมาชิกในครอบครัวผูกขาดบทบาทหน้าที่ตายตัว มีการใช้อำนาจครอบงำ มีพฤติกรรมเสพติด มีความหวาดกลัว ไม่สื่อสารจริงใจ และใกล้ชิดผูกพัน และสมาชิกไม่ไว้ใจซึ่งกันและกันในบทบาทหน้าที่ ทำให้เกิดภาวะครอบครัวไม่ทำหน้าที่หรือครอบครัวบกพร่อง”
ลักษณะง่ายที่ใช้ในการพิจารณาดูว่าครอบครัวบกพร่องหน้าที่หรือไม่ คือ ดูว่าสมาชิกครอบครัวมีสมาชิกที่มีพฤติกรรมดังต่อไปนี้หรือไม่ เช่น มีการใช้สารเสพติดหรือมีพฤติกรรมเสพติด พ่อแม่ในฐานสามีภรรยามีความขัดแย้ง การใช้ความรุนแรง หรือมีลักษณะอำนาจนิยมครอบงำสมาชิกคนอื่นๆ และเลี้ยงดูแบบเพิกเฉยละเลย ไม่มีเวลาร่วมกันขาดสายใยผูกพัน เป็นต้น สาเหตุที่ทำให้ครอบครัวเกิดความบกพร่องอาจเป็นผลมาจากปัญหาในด้านต่าง ๆ ที่ต้องเผชิญไม่ว่าจะเป็น ปัญหาด้านการเงิน ความกังวลใจของพ่อแม่และความขัดแย้ง ปัญหาความเจ็บป่วย ความตายและการสูญเสีย การหย่าร้าง การไม่มีเวลา และการแบ่งบทบาทที่ไม่เท่าเทียมกัน ส่งผลให้เด็กที่อยู่ในครอบครัวแบบนี้มีโอกาสได้รับผลกระทบจากครอบครัวที่ไม่ทำหน้าที่
ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก ที่เติบโตมาจากครอบครัวบกพร่องหน้าที่ คือ
1.เด็กจะสูญเสีย ถูกกัดกร่อนความรู้สึกไว้วางใจ ทั้งในตัวเอง ในคนอื่นและต่อโลกใบนี้
2.เมื่อเติบโตเป็นวัยรุ่น ยากที่จะมีรัก มีคู่ หรือสานสัมพันธ์กับผู้อื่นได้มั่นคง
3.มีโอกาสที่จะเสพติดแอลกอฮอล์และใช้สารเสพติดอื่น ๆ
4.เพิ่มโอกาสที่จะมีภาวะโรคที่มีอาการผิดปกติทางจิต ความกังวลใจ ความซึมเศร้า ท่ามกลางผู้คน
5.มีภาวะความตระหนักในคุณค่าตัวเองต่ำ
6.ยากที่จะทำงาน หรือรักษาสภาพการถูกจ้างงานทำไต้ตลอด
7.ต่อสู่ดิ้นรนที่จะสร้างกำแพงกีดกันคนอื่น
8.มีประสบการณ์ที่ไม่สบายใจเกี่ยวกับการต้องจัดการอารมณ์
9.มีโอกาสที่จะสร้างครอบครัวที่ไม่ทำหน้าที่ ต่อไปในอนาคต
ดังนั้น การสร้างครอบครัวที่อบอุ่น จึงเป็นหน้าที่ของคนในครอบครัวทุกคนที่จะต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน เพื่อให้ครอบครัวได้ทำหน้าที่อย่างสมบุรณ์ โดยยึดหลักปฏิบัติที่ควรมีในครอบครัว ได้แก่
• “การยอมรับ” ไม่เป็นไร ที่จะไม่มีการถูกควบคุมความรู้สึก พฤติกรรม และความสัมพันธ์
• “สมบูรณ์ไม่ต้องแบบ” ครอบครัวจะดีต่อสมาชิกในครอบครัวหากมีการทำผิดบ้างก็ได้
• “(มี) ตำหนิได้” ไม่เป็นไร ถ้าจะปล่อยให้บางเรื่อง บางครั้ง เป็นปัญหา มีตำหนิในชีวิต แบบที่ไม่ต้องไปหาสาเหตุ หรือหาคนผิดตลอดเวลา
• “คุยกันได้” ไม่เป็นไร ที่จะพูดออกมาอย่างบริสุทธิ์ใจ จริงใจต่อกัน
• “มองเห็นความเป็นจริง” มันไม่เป็นไรที่จะมองเห็นว่ามันเป็นปัญหา อย่าโกหกหรือสร้างภาพว่ามันไม่ใช่ปัญหา
• “ลุล่วงผ่านพ้น” ตกลงที่จะแก้ไขความแตกต่างระหว่างกัน และยอมรับมันให้ผ่านพันไป
• “ไว้วางใจกันและกัน” เรียนรู้ที่จะไว้วางใจตนเอง และใครสักคนที่วางใจได้
ประเด็นสำคัญในการแก้ปัญหาภาวะครอบครัวบกพร่องหน้าที่คือ “ครอบครัวมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันของเด็ก ๆ มีผลต่อการดำเนินชีวิต และการพัฒนาการของเด็กในอนาคตเป็นอย่างมาก ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรให้ความสำคัญต่อการหน้าที่ของครอบครัวเป็นอย่างมาก เพื่อการดูแลบุตรหลานอย่างถูกวิธี ด้วยการสร้างพื้นฐานจากครอบครัวที่อบอุ่น เข้มแข็ง เพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัว เรียนรู้และเติบโตขึ้น ตามพัฒนาการที่สมวัย สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งกายและใจ”
เรียบเรียงบทความ โดย คุณศรัณย์ จุลวงษ์
นักประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |