เผยแพร่:
เผยแพร่:
ปี 2022 – 2023 คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงที่สถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย ซึ่งทุกคนน่าจะมีการปรับตัวเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิต New Normal ได้แล้ว ซึ่งคาดว่าผู้คนจะหันกลับมาสนใจการดูแลรักษาสุขภาพในเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดโรค (Preventive) มากขึ้น รวมถึงการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัวในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ส่งผลให้การแข่งขันด้านการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์จะเข้มข้นยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบของการท่องเที่ยวที่ต่อยอดและเชื่อมโยงหลากหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่มีคุณภาพ
จากการศึกษาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พบว่า 78% ของคนใน 48 ประเทศทั่วโลก มีความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี โดย Krungthai Compass คาดการณ์ว่า ในปี ค.ศ. 2027 ตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ Medical Tourism ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะมีมูลค่ามากกว่า 1.02 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปัจจัยหลักที่ประเทศไทยได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรด้านการแพทย์ และสาธารณสุขของไทยมีมาตรฐานระดับโลก 2) สถานพยาบาลที่ได้รับรองมาตรฐานสากล JCI (Joint Commission International) จำนวน 60 แห่ง มากเป็นอันดับ 4 ของโลก 3) ค่าใช้จ่ายด้านการแพทย์ การรักษา และค่าครองชีพในระยะพักฟื้นของผู้ป่วยและญาติไม่สูงมากนัก 4) คนไทยมีหัวใจบริการและมีความเป็นมิตรสูง
มหาวิทยาลัยมหิดล โดยสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน ในฐานะสถาบันการศึกษาผู้ผลิตและให้การฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการยอมรับแห่งหนึ่งในระดับประเทศและนานาชาติ จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมความพร้อมของทรัพยากรบุคคลให้สามารถรองรับการเติบโตของตลาดธุรกิจ Global Wellness และร่วมพัฒนาประเทศเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการมุ่งสู่การเป็น Medical Hub ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จึงได้จัดทำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) Doctor of Philosophy Program in Health and Sustainable Development ที่บูรณาการร่วมกันจัดการเรียนการสอนภายใต้ 7 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ คณะสาธารณสุขศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน สถาบันวิจัยประชากร สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน และบัณฑิตวิทยาลัย โดยกำลังขยายความร่วมมือกับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ เพื่อให้ครอบคลุมองค์ความรู้ด้านสังคม ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล
รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ภูดิท เตชาติวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล เลขาธิการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนด้านเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ กล่าวว่า “Global Wellness Economy Trend กำลังเป็นเทรนด์การทำธุรกิจแนวใหม่ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ และเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้ โดยเฉพาะในช่วง Post COVID-19 ที่คาดว่าคนจะหันมาใส่ใจในการรักษาสุขภาพแบบ Preventive มากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะสถาบันการศึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และศิลป์หลากหลายด้านจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้เพื่อสนับสนุนการพัฒนาสุขภาพและธุรกิจด้าน Wellness ให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้นในระดับประเทศและระดับนานาชาติ จึงจัดทำหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืน (หลักสูตรนานาชาติ) Doctor of Philosophy Program in Health and Sustainable Development ที่บูรณาการศาสตร์วิชาหลากหลายสาขามารวมไว้ เพื่อพัฒนานักวิจัยและนักบริหารที่มุ่งเน้นไปยังด้านใดด้านหนึ่งที่ตอบโจทย์สุขภาพโลก (Global Health) เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก รวมถึง Global Wellness Economy ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังได้สร้างความร่วมมือทางวิชาการกับ James Cook University ประเทศออสเตรเลีย โดยจะมอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวที่ได้รับการคัดเลือกให้ไปศึกษาในระดับปริญญาเอกที่ James Cook University ประเทศออสเตรเลียในโครงการ Co-tutelle โดยจะได้รับ Dual Degree จากสองสถาบัน ทั้งนี้ จะมีการจัดการเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่นักศึกษาด้วยการร่วมฝึกปฏิบัติงานจริงกับองค์กรด้านสุขภาพและการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ เป็นเวลา 1 ภาคการศึกษาอีกด้วย”
สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล 02-441-9040-3 ต่อ 62 หรือ https://aihd.mahidol.ac.th/main/AIHD_TH/PHD_Contact.php
เรียบเรียงบทความโดย กณิศอันน์ มโนพิโมกษ์
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |