เผยแพร่: 8
เผยแพร่: 8
รองศาสตราจารย์ ดร.วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
สังคมแห่งการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล (Digital Transformation) เกิดขึ้นในสังคมมาระยะหนึ่งแล้ว โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่าคนกลุ่มใหญ่เริ่มเข้ามาสนใจในเรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ในช่วงที่มีเหตุจำเป็นต้องใช้และเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงมากที่สุด คือในช่วงของสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งเทคโนโลยีมีการปรับตัวพัฒนาอยู่ตลอดเวลา จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับตัวกระตุ้นและความต้องการการใช้งาน เมื่อมีความจำเป็นมากขึ้น จึงเริ่มที่จะมีความสนใจในการพัฒนาและการใช้ Digital Platform มากขึ้น เพราะว่า Digital Platform จะมีประโยชน์ในส่วนของการลดค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลาการทำงาน ลดระยะทางในการเข้าถึงกิจกรรมบางอย่างให้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น โดยสังเกตได้ว่าในศาสตร์ต่าง ๆ จะเริ่มมีการใช้ Digital platform เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงาน ดังนั้นหน่วยงานด้าน IT หรือคณะทางด้าน ICT จะมีบทบาทสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานให้กับศาสตร์อื่น ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนน่าจะเป็นด้านการแพทย์ ด้านการเกษตร ด้านการกีฬา และด้านการเรียนการสอน เป็นต้น เรียกได้ว่าแทบทุกศาสตร์จะนำเทคโนโลยีด้าน IT เข้ามาเป็นพื้นฐานในการทำงานเป็นหลักอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะนำเทคโนโลยี AI (Artificial Intelligence) หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในเชิงลึกมากแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็นของแต่ละศาสตร์
AI (Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นการจำลองความฉลาดหรือปัญญาของมนุษย์ขึ้นมา เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อนำมาใช้อำนวยความสะดวกหรือแก้ปัญหาบางอย่างให้ดีขึ้นขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ คนส่วนใหญ่อาจจะมองว่า AI เป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่แท้จริงแล้ว AI มีอยู่หลายระดับ ตั้งแต่ประเภทที่ง่ายมากไปจนถึงยากมาก ๆ ที่ต้องใช้วิธีการหรือเครื่องมือที่ซับซ้อนในการประดิษฐ์ เพื่อนำมาทดแทนความฉลาดของมนุษย์ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องกดน้ำเมื่อก่อนต้องใช้คนขาย ปัจจุบันถูกพัฒนามาเป็นเครื่องขายน้ำอัตโนมัติที่สามารถหยิบน้ำได้ถูกประเภท ทอนเงินได้ถูกต้อง อันนี้คือตัวอย่างเทคโนโลยีที่ใช้แทนความฉลาดของมนุษย์ ในส่วนของ AI ที่ซับซ้อนขึ้นมา ในปัจจุบันเราจะคุ้นเคยกับคำว่า การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) เป็นคำที่นิยมและถูกนำมาใช้ค่อนข้างแพร่หลาย AI ประเภทนี้ผู้พัฒนาต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ้งและในหลายด้านในการประยุกต์ใช้ รวมถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในเรื่องนั้นก็ต้องมีจำนวนที่มากพอทั้งในเรื่องของปริมาณและคุณภาพ เพื่อใช้ในการพัฒนาระบบให้ประมวลผลได้ถูกต้องมากที่สุด ยกตัวอย่างการนำไปใช้ในเรื่องของเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ โดยการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ภาพทางเชิงการแพทย์ (Medical Image) คือในสมัยก่อนเราจะใช้บุคลากรทางด้านการแพทย์ เป็นผู้อ่านผลและแปลผลการตรวจให้แก่ผู้ป่วย แต่ด้วยผู้ป่วยที่มีจำนวนมากจึงทำให้บุคลากรทางการแพทย์ที่ไม่เพียงพอต่อจำนวนเคสของผู้ป่วยที่ต้องการการวินิจฉัย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกล ดังนั้น เราจึงใช้ AI เข้ามาจำลองความฉลาดของผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้น ด้วยการป้อนชุดข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด เพื่อให้โปรแกรมวิเคราะห์และวินิจฉัยค้นหาความผิดปกติของโรคได้อย่างแม่นยำ ลดต้นทุน ลดเวลาการตรวจวินิจฉัย และช่วยเป็นเครื่องมือในการทำงานของแพทย์ให้สะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มปริมาณผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาให้มากขึ้นภายใต้การควบคุมของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือมีการนำ AI มาใช้ทดแทนมนุษย์ในกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เช่น การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม การช่วยเหลือและสำรวจผู้ประสบภัยในพื้นที่ประสบภัย เป็นต้น
ในขณะที่ AI กำลังเติบโตและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ก็ยังมีสิ่งที่เป็นข้อจำกัดของ AI คือเรื่องของความแม่นยำ การประมวลผลต้องมีข้อมูลชัดเจนสามารถมอ้างอิงได้ว่าข้อมูลมาจากส่วนใด เพื่อให้ผู้ตัดสินใจร่วมที่เป็นมนุษย์ได้เห็นว่ามีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม AI เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝึกมาก็ยังสามารถมีข้อผิดพลาดได้เหมือนกับมนุษย์ แต่สิ่งที่ทำให้มนุษย์ยังเหนือกว่า AI คือเรื่องของการตัดสินใจต่อยอด หากโปรแกรมไม่สามารถประมวลผลต่อยอดได้ตามความต้องการก็อาจจะสิ้นสุดการใช้งานไป ต่างกับมนุษย์ที่สามารถตัดสินใจต่อไปได้ ซึ่งประสิทธิภาพในการทำงานของระบบ AI นั้นขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลปริมาณมาก ๆ อย่างที่ผ่านมาอาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือนาที แต่ในอนาคตถ้าผู้พัฒนาสามารถผลิตฮาร์ดแวร์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้ การประมวลผลก็จะเกิดความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและอาจใช้เวลาน้อยลงหลายพันเท่า
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาของยุคดิจิทัลยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ แต่จะช้าหรือเร็วนั้นก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในสังคมที่เข้ามากระตุ้น การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลขึ้นจึงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานว่าต้องการนำไปใช้ในทางบวกหรือทางลบ การรู้เท่าทันเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งสำคัญ เราจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อเตือนตนเองให้เกิดความระมัดระวังในการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มี AI จำนวนมาก ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ เช่น การหลอกโอนเงิน การยืนยันข้อมูลตัวตน ฯลฯ ต้องอย่าลืมว่ามีผู้ที่พัฒนาการป้องกันการหลอกลวงจากมิจฉาชีพ มิจฉาชีพเองก็สามารถพัฒนาการหลอกประชาชนด้วยวิธีอื่นต่อไปได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ใช้ต้องมีสติในการใช้งานและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เรียบเรียงบทความ โดย คุณศรัณย์ จุลวงษ์
นักประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |