วันที่ 17 มิถุนายน 2568 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในการใช้งานระบบ e-Office ภายใต้งานบริการคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC) เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลดิจิทัลและลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศทางด้านสุขภาพและการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้บริการคลาวด์กลางภาครัฐ (GDCC Cloud) ร่วมกับ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการยกระดับระบบบริหารจัดการภายในองค์กร และขับเคลื่อนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระดับประเทศ ครอบคลุมการพัฒนาระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (e-Office) ไปจนถึงระบบบริการสุขภาพอัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รองศาสตราจารย์ นายแพทย์เชิดชัย นพมณีจารัสเลิศ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน และคุณพิยะดา สุดกังวาล ที่ปรึกษาด้านการสื่อสาร กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้บริหารกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมงาน ณ ศูนย์ประชุมและอาคารจอดรถมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ภายในงานได้มีการและอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญ คือ การพัฒนาแพลตฟอร์มสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Health Platform) และระบบการเรียนรู้แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นสูง และสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นต้นแบบของการเปลี่ยนผ่านภาครัฐด้วยดิจิทัล พร้อมสนับสนุนความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง”จัดแสดงนิทรรศการแสดงนิทรรศการจำนวน 4 เรื่อง ประกอบด้วย MU Sandbox กองเทคโนโลยีสารสนเทศ MAVIS กองเทคโนโลยีสารสนเทศ AITHAIGEN AI LEARNING PLATFORM คณะวิศวกรรมศาสตร์ The Wazuh คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งแสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของมหาวิทยาลัยในการเปลี่ยนผ่านสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยดิจิทัล” อย่างเต็มรูปแบบ
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ได้การนำระบบ e-Office ของ GDCC Cloud มาใช้งาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความปลอดภัยของการบริหารงานภายในองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตอบสนองต่อนโยบาย “Go Cloud First” ของรัฐบาล และรองรับการพัฒนาระบบในรูปแบบสองภาษา (ไทย–อังกฤษ) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน ที่มหาวิทยาลัยจะนำมาใช้นั้นจะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการภายในทุกส่วนงานให้อยู่บนแพลตฟอร์มเดียว และอีกหนึ่งความร่วมมือสำคัญ คือ การพัฒนาแพลตฟอร์มสุขภาพอัจฉริยะ (Smart Health Platform) และระบบการเรียนรู้แห่งอนาคต ด้วยเทคโนโลยี AI และ Big Data ที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ขั้นสูง และสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นต้นแบบของการเปลี่ยนผ่านภาครัฐด้วยดิจิทัล พร้อมสนับสนุนความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างแท้จริง