ม.มหิดลชี้ทางแปรเปลี่ยน‘ความเจ็บป่วย’ เป็น‘พลังต่อสู้’ สู่‘การเริ่มต้นชีวิตใหม่’ผู้ป่วยโรคจิตเวช
31/10/2024
ม.มหิดลวิจัยเรียนลัด‘ภาษาจีน’ผ่านทางวัฒนธรรม ร่วมสร้างเศรษฐกิจไทย-จีนบนความเข้าใจอันดี
31/10/2024
ม.มหิดลชี้ทางแปรเปลี่ยน‘ความเจ็บป่วย’ เป็น‘พลังต่อสู้’ สู่‘การเริ่มต้นชีวิตใหม่’ผู้ป่วยโรคจิตเวช
31/10/2024
ม.มหิดลวิจัยเรียนลัด‘ภาษาจีน’ผ่านทางวัฒนธรรม ร่วมสร้างเศรษฐกิจไทย-จีนบนความเข้าใจอันดี
31/10/2024

ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลร่วมค้นพบ‘เชื้อลิชมาเนีย’สายพันธุ์ใหม่ เตรียมขยายผลยกระดับเฝ้าระวังเชิงนโยบาย

โรคลิชมาเนีย” (Leishmaniasis) ได้รับการประกาศโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็นหนึ่งในโรคติดต่อที่สำคัญของมนุษย์ ซึ่งมีการแพร่ระบาดในเขตร้อนชื้น และเขตอบอุ่นของโลก รวมไปถึงบริเวณป่าที่มีฝนตกชุก

จากโจทย์เมื่อวันวาน จะอย่างไรให้หุ่นยนต์ (Robot) มีการทำงานเหมือนมนุษย์ให้มากที่สุด ด้วยเทคโนโลยี LLMs (Large Language Models) ที่เชื่อมต่อด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) ใส่ชีวิตให้กับหุ่นยนต์ได้ทำให้สิ่งดังกล่าวเป็นจริง ส่งต่อให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติมากมาย

มาถึงวันนี้ เพียงแค่เดินอย่างมนุษย์ และพูดอย่างมนุษย์ได้ยังไม่พอ จะต้อง “ESG” ได้อย่างมนุษย์ด้วย

จากการศึกษาด้านระบาดวิทยาของเชื้อสายพันธุ์นี้เป็นเวลากว่า 10 ปี ปัจจุบันยังพบการแพร่ระบาดเฉพาะในประเทศไทย โดยเฉพาะแถบภาคเหนือและใต้

นับตั้งแต่การประกาศการค้นพบเชื้อโปรโตซัวก่อโรคลิชมาเนียสายพันธุ์ใหม่ ทีมวิจัยได้ทำการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์นี้อย่างต่อเนื่อง จนได้นำไปสู่การพัฒนาการตรวจการติดเชื้อด้วยเทคนิคระดับโมเลกุล โดยเป็นผลงานภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก มหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Scientific Reports” เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา

ในเบื้องต้นสามารถตรวจการติดเชื้อจากเลือดผ่านหลอดทดลองทางห้องปฏิบัติการ และถัดมาทีมวิจัยได้มีการพัฒนาสู่นวัตกรรมที่ทำให้สามารถตรวจการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวได้ง่ายขึ้นในแบบของ แถบตรวจเชื้อก่อโรคลิชมาเนีย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2567 นี้ นอกจากนี้ทีมวิจัยยังได้จับมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ (The University of Glasgow) สหราชอาณาจักร เพื่อขยายความร่วมมือสู่ระดับโลก ทำการศึกษาวิจัยในเชิงลึกต่อไป

ผู้ป่วยโรคลิชมาเนียมีอาการแสดงของโรคได้หลายแบบขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อที่ติด มีทั้งลักษณะแผลเปื่อยบริเวณผิวหนัง (Cutaneous leishmaniasis) ซึ่งสามารถหายได้เอง ไปจนถึงเยื่อบุบริเวณปากและจมูก (Mucocutaneous leishmaniasis) แต่โรคลิชมาเนียที่มีอาการรุนแรงที่สุด คือ การติดเชื้อที่อวัยวะภายใน (Visceral leishmaniasis) โดยผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ตับและม้ามโตขึ้น และเซลล์เม็ดเลือดต่ำลงผิดปกติ ผู้ป่วยอาจต้องใช้เวลารักษาตัวภายในโรงพยาบาลนานถึง 3 สัปดาห์

โดยทั่วไปคนสามารถติดเชื้อลิชมาเนียผ่านการถูกแมลงพาหะ ริ้นฝอยทราย” (Sandfly) กัด แต่จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นพบว่า ริ้นน้ำเค็ม” (Biting midges) ซึ่งพบในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก อาจสามารถเป็นพาหะนำโรคลิชมาเนียได้ด้วย นอกจากนี้ สัตว์จำพวกสัตว์เลี้ยง และสัตว์ปศุสัตว์ ยังสามารถเป็น รังโรคซึ่งอาจทำให้การระบาดของเชื้อเป็นไปอย่างรวดเร็วหากไม่มีการเฝ้าระวังที่ดี

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช ศิริพัฒนพิพงษ์ และทีมวิจัยได้แสดงความห่วงใยต่อผู้ที่ได้รับเชื้อลิชมาเนีย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ว่าอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะมีอาการแสดงที่รุนแรงกว่าผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ การศึกษาเพื่อให้ทราบถึงความชุกของโรคที่แท้จริง

ด้วยวิธีการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำจะเป็นประโยชน์ต่อการรับมือกับโรคนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและในฐานะ ปัญญาของแผ่นดิน ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล หวังให้งานวิจัยดังกล่าวส่งผลให้สังคม เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ตลอดจนขยายผลสู่การออกมาตรการป้องกันในระดับนโยบายตามแนวทาง “One Health” ต่อไปได้อย่างยั่งยืน