ม.มหิดลวิจัยเรียนลัด‘ภาษาจีน’ผ่านทางวัฒนธรรม ร่วมสร้างเศรษฐกิจไทย-จีนบนความเข้าใจอันดี
31/10/2024ม.มหิดลพร้อมขับเคลื่อน ESG สู่ชุมชน ชูโครงงานเด่น กินคลีนด้วยจิตตปัญญา-อ่านหนังสือเสียงเพื่อคนตาบอด
31/10/2024ข่าวได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน
หากกล่าวถึงผลผลิตของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (MUDT) ทุกส่วนล้วนเป็นผลมาจากจุดมุ่งหมายในการผลิตผู้เชี่ยวชาญทางทันตกรรม กว่าห้าทศวรรษของเป้าประสงค์ที่จะพัฒนาจำนวน “ต้นทุน” ที่ไร้ขีดจำกัด
ความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบการเรียนการสอน การวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมทางทันตกรรมที่ดี มีคุณภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากคนไทย และกิจกรรมเพื่อสังคม ทำให้คณะฯ ได้รับความไว้วางใจจากผู้รับบริการที่มาเข้ารับบริการ ณ โรงพยาบาลทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
“ระบบการเรียนการสอน การวิจัย และบุคลากร” จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่จะสร้างความเป็นพลวัตให้กับสถาบันพร้อมที่จะพลิกโฉมระบบทันตกรรมให้เข้ากับภูมิภาคเอเชีย ภายใต้ภูมิหลังในฐานะองค์กรชั้นนำทางทันตกรรมในระดับประเทศที่มีการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการทางทันตกรรมที่เป็นเลิศมารองรับ
ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ อดีตคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และที่ปรึกษาคณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เป็นศูนย์การศึกษาและวิจัยด้านสุขภาพช่องปาก ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระบบมาตรฐานทั้งทางด้านวิชาการ การวิจัย และการให้บริการ
จนปัจจุบันประเทศไทยได้รับความสนใจจาก สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยร่วม TTSTC” (Taiwan – Thailand Overseas Scientific Research and Technological Innovation Center)
โดยเป็นศูนย์ระดับชาติที่พัฒนาจากความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยแห่งชาติเฉิงกง (NCKU – National Cheng Kung University) ซึ่ง ศาสตราจารย์ ดร. ทันตแพทย์หญิงวรานันท์ บัวจีบ เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง เพื่อสร้าง “ทรัพยากร” ที่มีให้กลายเป็น Supply Chain ทางทันตกรรม พลิกโฉมทันตกรรมให้เข้ากับเอเชีย
ทั้งไทยและไต้หวันต่างมี “จุดแข็ง” ทางด้านทันตกรรมภายใต้ระบบมาตรฐานทั้งทางด้านวิชาการ และการให้บริการเป็นที่ยอมรับ ซึ่งสามารถพัฒนาสู่ Hard Power หรือความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกัน
โดยทรัพยากรมนุษย์ และระบบทันตกรรมไทยนอกจากจะมีฝีมือเป็นที่ยอมรับแล้ว ความโดดเด่นของระบบทันตกรรมสาธารณสุขและนวัตกรรมต่างๆ อาจใช้เป็น “จุดดึงดูดการลงทุน” ได้ต่อไปในระดับเอเชียอีกด้วย
ซึ่งในส่วนของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีข้อได้เปรียบด้วย “ทรัพยากร” จาก “ต้นทุน” ที่สามารถก้าวข้ามขีดจำกัด ผ่านการแลกเปลี่ยน และความร่วมมือการวิจัยระหว่างสองประเทศ สามารถนำไปต่อยอดขยายผลสู่ระดับเอเชียต่อไปได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ทั้ง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ NCKU ต่างมี “จุดสนใจร่วม” ที่นับเป็น “แผนงานเร่งด่วน” จากความต้องการในการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีเพื่อสนองรับ “สังคมสูงวัย” ร่วมกันต่อไปในอนาคต
มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมทำหน้าที่ “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานฯ สร้างสรรค์องค์ความรู้ สู่การสร้างสรรค์เศรษฐกิจ เพื่อมวลมนุษยชาติได้เข้าถึงโอกาสแห่งการมีสุขภาพช่องปากที่ดี สู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน จากความร่วมมือที่จะนำพาไปสู่ “รอยยิ้มที่สดใส” ของประชากรโลกได้ต่อไปในวันข้างหน้า