ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลร่วมค้นพบ‘เชื้อลิชมาเนีย’สายพันธุ์ใหม่ เตรียมขยายผลยกระดับเฝ้าระวังเชิงนโยบาย
31/10/2024
ม.มหิดลร่วมสร้าง Supply Chain รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ดึงดูดการลงทุนด้วยพลัง Hard&Soft Power
31/10/2024
ครั้งแรกของโลก ม.มหิดลร่วมค้นพบ‘เชื้อลิชมาเนีย’สายพันธุ์ใหม่ เตรียมขยายผลยกระดับเฝ้าระวังเชิงนโยบาย
31/10/2024
ม.มหิดลร่วมสร้าง Supply Chain รับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ดึงดูดการลงทุนด้วยพลัง Hard&Soft Power
31/10/2024

ม.มหิดลวิจัยเรียนลัด‘ภาษาจีน’ผ่านทางวัฒนธรรม ร่วมสร้างเศรษฐกิจไทย-จีนบนความเข้าใจอันดี

ข่าวได้รับการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน

1.LINE TODAY

2.Jeenthainews

3.Corehoononline

4.Tap Magazine

5.เส้นทางเศรษฐี

สิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันระหว่างการเรียนรู้ภาษาใดๆ ในโลก คือ ความรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และประเพณี ฯลฯ ซึ่งเป็นที่มาของภาษานั้นๆ

ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่สำเร็จหลักสูตรทางด้านภาษา เป็นเหมือนดังผู้ที่ได้สำเร็จสาขาวิชาประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ ตลอดจนด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังจะสามารถทำหน้าที่ ทูตสันถวไมตรี คอยเชื่อมโยงสู่การมีสัมพันธ์อันดี ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำ – ความแตกต่างทางสังคมที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งต่อกันได้เป็นอย่างดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (หลักสูตรนานาชาติ) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นพบวิธีที่จะทำให้ผู้เรียนชาวไทยในชั้นเรียนฝึกการฟังภาษาจีนประสบผลสำเร็จในการเรียนมากที่สุดในปัจจุบันว่า ไม่ได้ขึ้นอยู่แต่เพียงเนื้อหาที่ได้รับในชั้นเรียน แต่ยังสำคัญที่ การใฝ่รู้ เสาะแสวงหาจากสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามหลักการ “Workload – based Learning”

โดยเป็นผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ “Journal of Language Teaching and Research” เมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทั้งผู้สอน และผู้เรียนให้ได้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจริง

พบว่าคนไทยส่วนใหญ่ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมากในเรื่องความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรมไทย จีน ยกตัวอย่างเช่น ผลไม้จีนที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น ผลไม้มงคลเช่น สาลี่ที่ชาวจีนนิยมนำไปไหว้เจ้า แต่ไม่นิยมมอบให้แก่กันโดยเฉพาะในวันแต่งงาน เพราะหมายถึง การจากลาในขณะที่การมอบ ส้มจะสื่อความหมายไปในเชิงบวกว่า เป็นการ มอบโชคลาภให้เงินทองไหลมาเทมา ดัง สีทองของเปลือกส้ม

อีกทั้งยังชี้ให้เห็นถึงปัจจัยของการเรียนรู้ว่า สำคัญที่การใช้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้เรียนภาษาจีนทั่วไปว่า ควรฝึกฟังสำเนียงจีนให้หลากหลาย โดยเริ่มที่สำเนียงจีนซึ่งเป็นมาตรฐาน ก่อนฝึกฟังสำเนียงจีนจากท้องถิ่นอื่นๆ ตามลำดับ แต่หากมีความจำเป็นในการฝึกทักษะการฟังภาษาจีนเร่งด่วนเพื่อใช้ติดต่อโดยเฉพาะ ควรฝึกทักษะการฟังสำเนียงจีนตามพื้นที่นั้นๆ

ซึ่งประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการ มอบการบ้าน พร้อมจัดหา สื่อเสริมการเรียนภาษาจีน โดยให้ ผู้เรียนเป็นจุดศูนย์กลาง หรือวิเคราะห์จากความสนใจของผู้เรียน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความสนใจในบทเรียน และมุ่งเสาะแสวงหาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาเสริมทักษะการฟังภาษาจีนด้วยตนเอง

โดยข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยฯ สามารถนำไปต่อยอดเพื่อพัฒนาการเรียนในภาษาอื่นๆ ได้ โดยในทางกลับกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา ชี้ว่า ชาวจีนที่เรียนภาษาไทย ต่างก็พบอุปสรรคที่ทำให้ไม่สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างเป็นธรรมชาติเช่นเดียวกัน อาทิ ด้านโครงสร้างทางวรรณยุกต์ที่ใช้แตกต่างกัน ตลอดจนพยัญชนะบางตัวที่ไม่สามารถถอดเสียงได้ตรงกัน

นับเป็นโอกาสดีที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับความไว้วางใจจากรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เป็นที่ตั้งของ สถาบันขงจื่อ ณ อาคารสิริวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เพื่อสานสัมพันธ์ไทย – จีน ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางด้านภาษาและวัฒนธรรมมานานนับปี ได้นำมาซึ่ง ความรู้สึกผูกพันฉันท์พี่น้อง มาสู่ชาวไทย และจีน ที่จะขยายผลเพื่อการพัฒนาทางด้านการศึกษาภาษาจีน ซึ่งเปิดสอนอย่างได้มาตรฐาน ในระดับก่อนปริญญา และกำลังขยายผลสู่ระดับหลังปริญญา ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ม.มหิดลร่วมกับเครือข่ายขับเคลื่อนบึงบอระเพ็ดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
มหิดลเจาะลึกโรคมะเร็ง-มอบองค์ความรู้ที่ถูกต้องเพื่อประชาชน ‘ใช้ชีวิตด้วยปัญญา’ในโลกที่เปลี่ยนแปลง
ม.มหิดลพัฒนา‘ประชากรคุณภาพ’ผ่าน ‘ความงามเชิงวรรณศิลป์’ เตรียมต่อยอดหลักสูตรเสริมทุนมนุษย์
ม.มหิดลเตรียมสร้าง Digital Medical Hub ขยายผลโลจิสติกส์ จากภาคสาธารณสุข สู่ภาคการเกษตร
ม.มหิดลเปิดหมวกดนตรีแนวใหม่ ชูพลัง‘Synergy’ เพราะ‘โลกของดนตรี’ไม่ได้มีแค่‘นักดนตรี’
ม.มหิดลชูแนวคิดเกษตรยั่งยืน ‘Resilience Agriculture’ สร้าง ‘เศรษฐกิจชุมชน’ ก่อนก้าวสู่ ‘เศรษฐกิจโลก’