ม.มหิดลค้นพบกลไกชีวนิเวศจุลชีพ ‘หวังลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อ’ ไข้รากสาดใหญ่ หวังต่อยอด ‘ควบคุมไรอ่อน’
01/11/2024
ม.มหิดลยกย่องอาจารย์เภสัชกรผู้อุทิศผลักดันสิทธิประโยชน์สุขภาวะไทย – อาเซียน – แอฟริกา
01/11/2024
ม.มหิดลค้นพบกลไกชีวนิเวศจุลชีพ ‘หวังลดเสี่ยงสัมผัสเชื้อ’ ไข้รากสาดใหญ่ หวังต่อยอด ‘ควบคุมไรอ่อน’
01/11/2024
ม.มหิดลยกย่องอาจารย์เภสัชกรผู้อุทิศผลักดันสิทธิประโยชน์สุขภาวะไทย – อาเซียน – แอฟริกา
01/11/2024

ม.มหิดลส่งเสริมการเข้าถึงสถานีรถไฟฟ้า ผลงานวิจัยจากญี่ปุ่น สู่ศาลายา เพื่อการเดินทางปลอดภัย-คุ้มค่า

ปัญหาการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะ ปัจจัยหลักเกิดจากการออกแบบสถานีที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้โดยสารได้อย่างแท้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศิริ เซียววัฒนกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาระบบขนส่งทางราง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือหนึ่งในความภาคภูมิใจของ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” จากผลงานวิจัยที่เคยได้รับการตีพิมพ์เกี่ยวกับการศึกษาพฤติกรรมการเดินเท้าเพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบและวางแผนการเข้าถึงสถานีขนส่งสาธารณะประจำเมืองฟุกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

โดยเป็นผลงานที่ได้รับการเสนอในที่ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “Smart Data and Smart Cities” ที่ Delft University of Technology (TU Delft) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ในเวลาต่อมา และได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ISPRD Annals of the Photogrammetry, Remote Sensing and Spatial Information Sciences, Volume IV-4/W7, 2018

จากการเล็งเห็นถึงความสำคัญของขนส่งสาธารณะที่มีส่วนช่วยลดผลกระทบ จากปัญหาจราจรแออัดบนท้องถนน ลดผลกระทบจากมลพิษ ตลอดจนช่วยลดภาระหนี้สินของประชาชนจากความจำเป็นในการซื้อรถมาใช้ส่วนตัว

สิ่งที่ค้นพบจากงานวิจัย พบว่าการจัดให้มีพื้นที่เปิด (Open Space) ช่วยทำให้ผู้คนได้เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะดีมากขึ้น เนื่องจากไม่มีการบังคับเส้นทางเดิน ทำให้คนเดินเท้ามีอิสระในการเลือกเส้นทางเดินมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ในประเทศไทยยังไม่มีการออกแบบในลักษณะดังกล่าวเท่าที่ควร

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สมศิริ เซียววัฒนกุล ได้มองไปถึง “บริเวณหน้าสถานีรถไฟศาลายา” ที่มีแผนการปรับเป็นสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงส่วนต่อขยายในอนาคต ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการแยก “ทางเดินเท้า” ออกจาก “เส้นทางรถวิ่ง” แต่สามารถปรับปรุงให้มีการเข้าถึงสถานีที่สะดวกและปลอดภัยได้มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งการจูงใจให้คนใช้ระบบขนส่งสาธารณะจะช่วยชักนำการพัฒนาเมืองและชุมชน ซึ่งเป็นการช่วยเติมความเป็น “ศูนย์กลางเมือง” ที่ยังไม่เคยมีอย่างเป็นทางการมาก่อนในพื้นที่ศาลายา

นอกจากนี้ เพื่อรองรับสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศิริ เซียววัฒนกุล ยังเป็นคณะทำงานในการดำเนินการออกแบบพื้นที่โดยรอบของสถานีฯ ให้เชื่อมต่อกับ “พื้นที่นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล” ด้วยการทำทางเชื่อมจากเส้นทางคนเดินเท้าในมหาวิทยาลัยที่จำกัดทางเชื่อมเฉพาะผู้สัญจรทางเท้าและจักรยาน และเสนอให้สร้างสะพานลอยเพื่อช่วยเชื่อมต่อมหาวิทยาลัยและพื้นที่ของสถานีฯ โดยเน้นเรื่องความปลอดภัย พร้อมจัดให้มีแสงสว่างที่เพียงพอเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เพื่อเมืองและชุมชนยั่งยืน ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สมศิริ เซียววัฒนกุล ได้ให้คำมั่นทิ้งท้ายพร้อมร่วมบูรณาการมุ่งทำประโยชน์เพื่อชุมชน ระหว่างการปรับตัวของชุมชนศาลายาเพื่อการลงทุนรองรับวิถีชีวิตใหม่