ม.มหิดล – ไบโอเทค ค้นพบ “โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ” จากการวิจัยในระดับ “ยีน” ครั้งแรก
17/05/2022ม.มหิดล จุดประกายความหวังนักวิจัยทุกสาขา บูรณาการด้วยเทคโนโลยี AI
17/05/2022ปัญหาทางสุขภาวะของประเทศไทยในชนบทที่ผ่านมาเกิดความรุนแรง โดยมีสาเหตุสำคัญจาก “ปัญหาทางพฤติกรรมสุขภาพ” ด้วยการใช้องค์ความรู้ทาง “สุขศึกษา” จะเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งสามารถขยายผลสู่ระดับประเทศ และภูมิภาคผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อการมีสุขภาวะที่ยั่งยืน
ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ ผู้มีประสบการณ์จากการบริหารวิจัยในระดับนานาชาติ มาประยุกต์ใช้กับชนบท ด้วยการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ในพื้นที่ห่างไกล ให้สามารถเป็นที่พึ่งของชุมชนด้านการส่งเสริมสุขภาวะ
ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นภาควิชาที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานถึงเกือบ 6 ทศวรรษในการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และบริการวิชาการ ส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในชนบท ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสังคม และสิ่งแวดล้อม
ที่ผ่านมาพบว่านักวิจัยสุขภาวะชุมชนยังไม่สามารถเข้าถึงประชาชนได้เท่าที่ควร เนื่องจากขาดความแข็งแกร่งทางด้านวิชาการ และวิจัย จำเป็นต้องมีพี่เลี้ยงที่จะคอยกระตุ้น และให้คำปรึกษา เพื่อให้สามารถตั้งต้นทางวิชาการ และทำงานส่งเสริมสุขภาวะของประชาชนในภูมิภาคต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเริ่มต้นที่วิทยาเขต 3 แห่งของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้แก่ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ และกาญจนบุรี ไปพร้อมๆ กับการสร้างเครือข่ายสุขภาวะในภูมิภาค โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ มองว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศแนวหน้าในภูมิภาคอาเซียนเรื่องการปรับตัวช่วงวิกฤติ COVID-19 ในภาพรวม แต่ยังมีปัญหาเรื่องสุขภาวะของประชาชนในชนบท ถึงเวลาแล้วที่นักวิจัย และนักวิชาการจะต้องลงชุมชนไปดูว่าประชาชนในชนบทอยู่กันอย่างไร ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ COVID-19 อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ยังมีปัญหาความยากจน และผู้สูงวัยยังสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้น้อย
“การให้ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาได้มาร่วมมือกับนักวิจัย และนักวิชาการในพื้นที่ มาร่วมสร้าง “Social Lab” หรือ “ห้องปฏิบัติการทางสังคม” เพื่อสร้างความเข้มแข็งและแก้ปัญหาทางสุขภาวะของประเทศกันอย่างจริงจัง จะสามารถขยายผลไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน หรือภูมิภาคอื่นในโลกต่อไปได้ ที่สำคัญจะต้อง “เปิดใจ” พร้อมเชื่อมต่อประสบการณ์ปรับตัวต่อสู้วิกฤติ COVID-19 ของต่างประเทศด้วยจึงจะสามารถไปต่อได้อย่างยั่งยืน” ศาสตราจารย์ ดร.สุภา เพ่งพิศ กล่าวทิ้งท้าย
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม / ภาพจากผู้ให้สัมภาษณ์
1.ฐานเศรษฐกิจ 14-4-65 https://www.thansettakij.com/business/521343
2.LINE TODAY 14-4-65 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/0MpOmKn?utm_source=copyshare
3.เมดิคอลไทม์ 12-4-65 http://medi.co.th/news_detail4.php?q_id=850
4.ThaiPR.NET 12-4-65 https://www.thaipr.net/education/3179754
5.RYT9.COM 12-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3314436
6.newswit 12-4-65 https://www.newswit.com/th/Lau7
7.นิตยสารสาระวิทย์ 12-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/covid-19-social-lab/
8.The Glocal 12-4-65 https://www.facebook.com/100720421465047/posts/518003799736705/?d=n
9.ศิษย์สัมพันธ์ 19-4-65 https://www.facebook.com/1522824707995171/posts/3168695316741427/?d=n