ม.มหิดล ส่งต่อแนวคิด “ปรีชาญาณนคร” เพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน
03/11/2022
ม.มหิดล จัดทำคู่มือ “พลเมืองช่างคิด: การสืบสอบเชิงปรัชญากับพลเมืองประชาธิปไตย” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ “อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์”
03/11/2022
ม.มหิดล ส่งต่อแนวคิด “ปรีชาญาณนคร” เพื่อสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์อย่างยั่งยืน
03/11/2022
ม.มหิดล จัดทำคู่มือ “พลเมืองช่างคิด: การสืบสอบเชิงปรัชญากับพลเมืองประชาธิปไตย” เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ “อยู่อย่างเข้าใจและเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์”
03/11/2022

ม.มหิดล ยกระดับมาตรฐานกายภาพบำบัด เตรียม”benchmark” เพื่อไปสู่ระดับเอเชีย

ทุกชีวิตเมื่อเดินทางมาถึงจุดๆ หนึ่ง ถึงเวลาที่จะต้องมีการ “ตั้งคำถาม” เพื่อ “การเติบโต” สู่วันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า เช่นภาษาของนักบริหารที่มักใช้คำว่า benchmark” เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาจาก “รอยทาง” ที่ตนเคยสร้างมา รวมทั้งได้ศึกษาจากผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง

เช่นเดียวกับ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ใช้เวลากว่าครึ่งศตวรรษ บุกเบิกและทุ่มเทเพื่อให้มาซึ่งได้บริการที่สูงด้วยมาตรฐานแก่ประชาชนชาวไทย และต่อมาได้ขยายผลสู่ระดับนานาชาติ

เช่นในปัจจุบันจากการ “ตั้งคำถาม” ที่มองไกลไปถึงการหาโอกาสที่จะได้ benchmark” กับกายภาพบำบัดของประเทศซึ่งเป็นที่ยอมรับในฐานะหนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยีแทบทุกด้านของโลก เช่นประเทศญี่ปุ่น

กภ.สุธิดา สกุลกรุณา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพ และนักกายภาพบำบัดชำนาญการพิเศษ คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงความก้าวหน้าของคณะฯ ซึ่งได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจากสภากายภาพบำบัดในระดับ “ดีเยี่ยม” ถึง ๒ รอบการประเมิน โดยได้ระดับ “ดีมาก” ตั้งแต่เข้ารับการประเมินเพียงครั้งแรก จนปัจจุบันเป็นที่ไว้วางใจจากมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย และไต้หวัน

ผ่านเครือข่ายออนไลน์ HeaRTS” (Health CaRe Tele-delivery Service) ซึ่งเป็น “รอยทาง” ที่ริเริ่มสร้างขึ้นโดยคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อให้การปรึกษาและแลกเปลี่ยนแนวทางการให้การบำบัดที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ จากทั้งในและนอกประเทศ

จุดเด่นของ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ที่การมี “คลินิกกายภาพบำบัด” ที่มีศักยภาพสูง สามารถรับผู้ป่วยมาเข้ารับการบำบัดได้เองในเบื้องต้น โดยไม่ต้องผ่านโรงพยาบาล ซึ่งนับเป็นที่แรกและที่เดียวในประเทศไทย

อีกทั้งได้มีการพัฒนาคุณภาพการให้บริการจากการทำงานวิจัยที่ไม่ได้มีเฉพาะจากสายวิชาการ แต่ยังรวมถึงจากสายวิชาชีพที่สามารถหยิบยกโจทย์วิจัยจากการบำบัดอาการของผู้ป่วยได้โดยตรง และแบบ tailor made” หรือออกแบบได้ตามความจำเป็นเฉพาะราย

โดยในภูมิภาคเอเชีย พบลักษณะการให้บริการด้านกายภาพบำบัดที่สามารถรับผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการบำบัดได้เองในมาตรฐานใกล้เคียงกันที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าหลังช่วงวิกฤติ COVID-19 นี้จะได้มีการติดต่อประสานเพื่อลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกันต่อไป

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นที่ภาคภูมิใจของสายวิชาชีพแห่ง คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล และได้สร้างชื่อจากการสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศจากงานมหกรรมคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ผ่านมา คือ การสร้างนวัตกรรมจากการ “ตั้งคำถาม” เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดกรองผู้ป่วยเบื้องต้น

โดยได้ระดมนักกายภาพบำบัดวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการบำบัดผู้ป่วยในแต่ละกลุ่มอาการของคลินิกกายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล มาร่วมจัดทำแบบสอบถามที่สามารถอัพเดทได้ตลอดเวลา เพื่อให้สามารถเข้าถึงการแก้ปัญหาสำหรับผู้ป่วยได้อย่างตรงจุดมากที่สุด อีกทั้งมีส่วนช่วยให้เกิดการทำกายภาพบำบัดในแต่ละครั้งที่เห็นผลโดยใช้เวลาที่สั้นลง

ด้วยพลังของนักกายภาพบำบัดวิชาชีพแห่ง คลินิกกายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดลพร้อมเป็นกำลังสำคัญสู่การบรรลุวิสัยทัศน์เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำกายภาพบำบัดระดับเอเชีย และพร้อมเป็นที่พึ่งให้ประชาชนชาวไทยได้นึกถึงทุกครั้งที่เจ็บป่วย ตราบใดที่สังคมไทยยังไม่หยุด “ตั้งคำถาม” เพื่อการค้นหาทางเลือกสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210