ม.มหิดล แจ้งข่าวดี พร้อมให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา
01/11/2022
ม.มหิดล เสริมแรงขับเคลื่อนสู่สังคมสร้างสรรค์ ด้วยพลังเครือข่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว
01/11/2022
ม.มหิดล แจ้งข่าวดี พร้อมให้บริการประชาชนด้วยนวัตกรรมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม ณ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ศาลายา
01/11/2022
ม.มหิดล เสริมแรงขับเคลื่อนสู่สังคมสร้างสรรค์ ด้วยพลังเครือข่ายพัฒนาเด็กและครอบครัว
01/11/2022

ม.มหิดล มอบความหวังประชากรโลก ช่วยกลุ่มเสี่ยงวัย 1-9 ปีรอดพ้นไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่

ความมหัศจรรย์ของชีวิตมนุษย์ เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา จนคลอดออกมาเป็นทารกวัย 9-12 เดือน เมื่อพบว่ามีภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติโดยอัตโนมัติจากแม่สู่ลูก ผ่านทางรก

ในขณะที่วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ที่ใช้ฉีดกันโดยทั่วไปในปัจจุบัน สามารถป้องกันได้เฉพาะในเด็กวัย 9 ขวบขึ้นไปเท่านั้น

จึงทำให้เด็ก ๆ ซึ่งหมดภูมิคุ้มกันทางธรรมชาติแล้วจากมารดาในกลุ่มช่วงวัย 1-9 ปี ต้องเสี่ยงมากต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์นรัตถพล เจริญพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เป็นเวลากว่า 4 ทศวรรษแล้วที่ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย นักวิจัยของสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) ได้คิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่

โดยเริ่มต้นได้รับการสนับสนุนจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) และนานาประเทศ จนสามารถทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกันครั้งแรกในโลก และสามารถฉีดในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีได้

โดยทำให้ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ยาวนานถึง 5 ปี จนล่าสุดมีบริษัทเอกชนมารับช่วงต่อไป โดยอยู่ระหว่างการทดสอบ และพัฒนาสู่การผลิตให้สามารถใช้ได้จริงอย่างปลอดภัยในวงกว้างทั่วโลก

แม้จะต้องรอคอยยาวนานเพียงใด ก็ไม่เท่าความภาคภูมิใจที่จะได้เห็นคนไทยในฐานะเจ้าของเทคโนโลยีที่จะสร้างประโยชน์ต่อไปสู่มวลมนุษยชาติ โดยที่คนไทยเองก็จะสามารถเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในงบประมาณสุขภาพที่จับต้องได้ด้วย

ความยั่งยืนของการพัฒนาวัคซีนอยู่ที่ การสามารถทำให้เชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ในพื้นที่ระบาดของโลก ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตร้อนชื้น สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะเป็นการมอบโอกาสให้เด็กวัย 1-9 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่น่าเป็นห่วงที่สุดได้มีโอกาสรอดชีวิต และเติบโตขึ้นเป็นพลเมืองซึ่งจะกลายเป็นความหวังของโลกแห่งอนาคตได้ต่อไป

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล คือผู้เป็นตำนาน ซึ่งเป็นเบื้องหลังของความสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม จนสามารถป้องกันได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวครั้งแรกในโลกเช่นปัจจุบัน

ข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งนำไปสู่การออกแบบเพื่อการพัฒนาวัคซีนได้อย่างตรงเป้าหมาย นอกจากพบว่าผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีภูมิคุ้มกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่กันบ้างแล้ว ในขณะที่เด็กยังคงน่าเป็นห่วงอยู่ นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่โดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี่กัด ร้อยละ 80 ไม่มีอาการ ในขณะที่ร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีอาการ

ซึ่งการตรวจภูมิคุ้มกันด้วยวิธีการโดยทั่วไปไม่สามารถใช้ยืนยันผลการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ 100% จะต้องวิเคราะห์ด้วยวิธี “Elisa IgG” ซึ่งเป็นการตรวจพิเศษในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน มองว่า เพียงการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลาย ไม่ให้เกิดการแพร่ขยายพันธุ์ของพาหะนำเชื้อโรคไข้เลือดออกเดงกี่ และการรณรงค์ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด (Mosquito Repellents) นั้นอาจไม่เพียงพอ จะต้องมีการผลักดันให้เกิดการเตรียมพร้อมสนับสนุนวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่ในเชิงนโยบายให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างจริงจังต่อไปด้วย

อาจารย์ ดร.พร้อมสิน มาศรีนวล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวให้ความเชื่อมั่นทิ้งท้ายถึงบทบาทของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีนฯ ว่า พร้อมเป็นที่พึ่งให้กับคนไทย และมวลมนุษยชาติ ในการคิดค้น และพัฒนาวัคซีนที่จะเป็นต้นแบบเพื่อการป้องกันโรคในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นไข้เลือดออกเดงกี่ ไข้สมองอักเสบเจอี ไข้ซิกา ตลอดจนโรคพิษสุนัขบ้า

โดยเชื่อมั่นว่าจากประสบการณ์ 4 ทศวรรษของศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล (MB) มหาวิทยาลัยมหิดล ในการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกเดงกี่จนประสบความสำเร็จ สามารถยับยั้งเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ได้ถึง 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียวกันครั้งแรกในโลก

และอยู่ระหว่างการทดสอบและผลักดันสู่การผลิตนี้ จะเป็นบทเรียนสำคัญสู่การพัฒนาวัคซีนที่จำเป็นเร่งด่วนชนิดอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ และเท่าทันได้ต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
ออกแบบแบนเนอร์โดย วิไล กสิโสภา นักวิชาการสารสนเทศ
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.Thai Innovation Center 27-6-65 https://thaiinnovation.center/2022/06/dengue/?fbclid=IwAR2KI-dZYEuvrJA8j3TFyZBUCBprzhLrinQ5XgCuu7ZBf5wDXaJOUQlsWzY

https://www.facebook.com/115657123295283/posts/pfbid0YtfNDkggzWanjdi9vTZAREeobkmMqhxN3paN8rgSncRxM8XYYEGoJYkEmFqwi8psl/?d=n

2.ThaiPR.NET 27-6-65 https://www.thaipr.net/education/3206667

3.RYT9.COM 27-6-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3334260

4.newswit 27-6-65 https://www.newswit.com/th/Lgqe

5.นิตยสารสาระวิทย์ 27-6-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/dengue-virus/

6.เมดิคอลโฟกัส 27-6-65 http://www.medicalfocusth.com/index.php?page=news.read&type=1&id=1378&fbclid=IwAR2jN7xjVZwnz2p6mhUQk5wIqXTcsG8_qFTpXFI2zUISm0OQuYjbkKsdERY

https://www.facebook.com/105816672004038/posts/pfbid02yX8SQC5Yo86SmNgNbzojh7ENWv3bvLZiFvxnkzVorbK58YzNRoma5Ai7qgNKXtVTl/?d=n

https://linevoom.line.me/post/_dY8ia-uRkM0QeIk-suYxDnrCWymKH2kQKDPpzxU/1165638117721869927

7.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 28-6-65 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_220044

8.เมดิคอลไทม์ 28-6-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1050

9.นสพ.ไทยรัฐ(กรอบบ่าย) 29-6-65 หน้า 7 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-6-28-2.pdf

10.รายการคุยกันเช้านี้ วิทยุครอบครัวข่าว TV3  (ดำเนินรายการโดย คุณโอ๊ค-นิธินาฏ ราชนิยม) สัมภาษณ์ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์สุธี ยกส้าน ที่ปรึกษาศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน MB ออกอากาศสด ทาง ส.ทร.FM106 29-6-65 https://fb.watch/dXJ1HIHbDE/ (นาทีที่ 1:09:45 – 1:21:45)

11.คอลัมน์รายงานพิเศษ วารสารวงการแพทย์ ฉบับเดือนมิถุนายน 2565 หน้า 19 – 21 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-7-14-1.pdf