ม.มหิดล ร่วมเสกสรรค์เมนูข้าวโอ๊ตจาก “อาหารสู้ชีวิต” สู่ “อาหารเพื่อชีวิต”
17/02/2023ม.มหิดล เตรียมเปิดอบรม “ทักษะพร้อมใช้” ดูแลผู้บาดเจ็บนอกโรงพยาบาลออนไลน์
17/02/2023คงปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกชีวิตต่างต้องเติบโตด้วยอาหาร รวมถึงอาหารจากเนื้อสัตว์ ซึ่งเป็นแหล่งสร้างโปรตีนที่สำคัญ
รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ศิวะพงษ์ สังข์ประดิษฐ์ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ทางคณะฯ ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารปลอดภัย (Food Safety) ที่จะเป็นการเปิดกว้างให้ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพทั่วไปสามารถมาลงทะเบียนเรียนกับหลักสูตรฯ ได้ด้วย
ด้วยความเป็นนานาชาติทำให้หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสู่บริบทโลก ดึงดูดชาวต่างชาติให้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหลักสูตรฯ ทำให้บทบาทแห่งการเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล ขยายวงกว้างออกไปอย่างไม่สิ้นสุด
ด้วยความเชื่อที่ว่าหากสัตว์มีสุขภาพดี คนก็จะมีสุขภาพดีไปด้วย ที่ผ่านมา นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมุ่งศึกษาวิจัยในเรื่องของสัตว์ที่เกี่ยวข้องกับคน อาทิ งานวิจัยเกี่ยวกับ “ริ้น” ซึ่งเป็นแมลงนำโรคที่สำคัญในปศุสัตว์ ซึ่งได้แก่ สัตว์ที่เลี้ยงไว้ในระบบควบคุมเพื่อนำมาทำเป็นอาหารและการศึกษาสเต็มเซลล์ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยของคนต่อไปได้ เป็นต้น
และด้วยความพร้อมทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ซึ่งรวมอยู่ในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 (Biosafety Laboratory Level 3 – BSL 3) ที่ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานวิจัยขั้นสูงต่างๆ
นอกจากนี้ นักศึกษาของหลักสูตรฯ ยังจะได้ทำงานวิจัยร่วมกับเจ้าของสัตว์และสัตว์ที่มาตรวจรักษาในโรงพยาบาลสัตว์ภายใต้สังกัดของ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้แก่ที่ โรงพยาบาลสัตว์ประศุอาทร วิทยาเขตศาลายา และโรงพยาบาลปศุสัตว์และสัตว์ป่า ปศุปาลันมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี อีกด้วย
ในยุคที่โรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นจนกลายเป็นวิกฤติ ทำให้ทุกฝ่ายต้องผนึกกำลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งขึ้นมาเป็นเกราะป้องกัน ไม่เพียงบุคลากรทางการแพทย์แต่เพียงเท่านั้นที่ต้องทำงานหนัก สัตวแพทย์เองก็ต้องมีการเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อตัดวงจรโรคที่อาจเกิดขึ้นได้กับทั้งคนและสัตว์ โดยหลักสูตรได้ใช้แนวทางสุขภาพหนึ่งเดียว ซึ่งเป็นปรัชญาของคณะฯ มาใช้ในการสอนและการทำวิจัย
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์ทางการสัตวแพทย์ (หลักสูตรนานาชาติ) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดรับสมัครในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม และตุลาคมของทุกปี ผู้สนใจติดตามได้ที่ www.grad.mahidol.ac.th และ www.vs.mahidol.ac.th
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.เมดิคอลไทม์ 7-2-66 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1868&mibextid=Zxz2cZ
2.ThaiPR.NET 7-2-66 https://www.thaipr.net/education/3298950
3.RYT9.COM 7-2-66 https://www.ryt9.com/s/prg/3395215
4.newswit 7-2-66 https://newswit.com/th/LzEv
5.Edupdate 7-2-66 https://www.edupdate.net/2023/32142/
6.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 7-2-66 https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_241887
7.นิตยสารสาระวิทย์ 8-2-66 https://www.nstda.or.th/sci2pub/veterinary-biomedical-science/