ม.มหิดลมั่นใจ RFS พร้อมมุ่งสู่ความเป็นเลิศบริการประชาชนด้านสิ่งสนับสนุนโรงพยาบาล
25/10/2022ม.มหิดล แนะผู้ประกอบการสตาร์ทอัพไทยที่ฝันไกลจะไปให้ถึง “ยูนิคอร์น” ต้องพัฒนาองค์ความรู้พื้นฐานด้านการระดมทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพ
27/10/2022“ครอบครัว” คือสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่สำคัญที่สุด เมื่อยามใดที่ต้องพบเจอกับอุปสรรคขวากหนามในชีวิต ด้วยพลังจากสถาบันทางสังคมที่เล็กที่สุด แต่แข็งแกร่งที่สุดนี้ จะช่วยเยียวยาทุกสิ่ง
เช่นเดียวกับการดูแลสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนที่สุด จะต้องเริ่มต้นที่สถาบันครอบครัว ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นที่สุดสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว คือ “ความรอบรู้ทางสุขภาวะ” (Health Literacy)
รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา จิ๋วพัฒนกุล อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ประพันธ์ตำรา E-Book “หลักการพยาบาลครอบครัว” ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS เพื่อเป็น “คู่มือ Health Literacy ฉบับครอบครัว” ที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาล และสำหรับประชาชนทั่วไป เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาในการปรับใช้กับชีวิตประจำวัน จากประสบการณ์ที่สั่งสมมาอย่างยาวนานของผู้ประพันธ์เอง ในฐานะอาจารย์พยาบาล ขณะนำนักศึกษาพยาบาลลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวผู้ป่วยในชุมชนเป็นเวลาร่วม 2 ทศวรรษ
โดยผู้อ่านจะได้สัมผัสการใช้ศิลปะการพยาบาลที่ได้นำมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาวะ ป้องกันโรค ให้การพยาบาล และช่วยฟื้นฟูสุขภาวะของบุคคลและครอบครัวให้สามารถเผชิญกับภาวะวิกฤติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะได้อย่างเหมาะสม
“ไม่มีใครที่จะดูแลและเข้าใจครอบครัวได้ดีไปกว่าคนในครอบครัว ซึ่งหลักการพยาบาลครอบครัว เริ่มต้นจากความเข้าใจในธรรมชาติของแต่ละครอบครัว เพื่อการตั้งรับ แก้ปัญหา และพึ่งพาตนเองได้อย่างเหมาะสมต่อไปในอนาคต” รองศาสตราจารย์ ดร.ยุพา จิ๋วพัฒนกุล กล่าว
ซึ่งการวางแผนดูแลครอบครัวนั้น มีความแตกต่างกันไปในแต่ละระยะครอบครัว ตัวอย่างเช่น ครอบครัวที่มีหัวหน้าครอบครัวอยู่ในระยะผู้สูงวัย ไม่เพียงหัวหน้าครอบครัวเท่านั้นที่จะต้องทำใจยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่เสื่อมถอยลง สมาชิกในครอบครัวทุกคนก็จะต้องมีการปรับตัวทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันด้วย เพื่อจะได้ให้การดูแลซึ่งกันและกันภายในครอบครัวได้อย่างเหมาะสมต่อไป
ในทางกลับกัน หากสมาชิกในครอบครัวขาดความรู้ในการดูแลสุขภาวะ ก็จะนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ในเมื่อดูแลตัวเองไม่ได้ ก็ไม่อาจดูแลสมาชิกอื่นในครอบครัวได้ และสุดท้ายก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาวะโดยรวมของครอบครัวนั้นๆ ต่อไปด้วย
ท้ายที่สุดผู้ประพันธ์หวังให้ประชาชนชาวไทยทุกคนผ่านพ้นวิกฤติสุขภาวะไปได้ด้วยพื้นฐานแห่งความรอบรู้ทางสุขภาวะจากครอบครัวที่เข้มแข็ง เพื่อจะได้มีพลังร่วมต่อสู้ภาวะวิกฤติต่อไปด้วยความมั่นคง และยั่งยืน
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดตำรา E-Book “หลักการพยาบาลครอบครัว” ได้ทางแอปพลิเคชัน MU PRESS ทั้งในระบบ iOS และ Android พร้อมติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.ผู้จัดการออนไลน์ 24-4-65 https://mgronline.com/qol/detail/9650000038923
2.นิตยสารสาระวิทย์ 24-4-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/health-literacy/
3.blockdit 25-4-65 https://www.blockdit.com/posts/6264b3a3a122b7bf759d3fa3
4.เมดิคอลไทม์ 25-4-65 http://medi.co.th/news_detail4.php?q_id=874
5.ThaiPR.NET 25-4-65 https://www.thaipr.net/health/3182751
6.RYT9.COM 25-4-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3316725