ม.มหิดล แนะความจำเป็นเร่งด่วนด้านนโยบายจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ
03/02/2023
ม.มหิดล เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ที่มากับฤดูหนาว
03/02/2023
ม.มหิดล แนะความจำเป็นเร่งด่วนด้านนโยบายจัดการระบบข้อมูลสุขภาพ
03/02/2023
ม.มหิดล เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ที่มากับฤดูหนาว
03/02/2023

ม.มหิดล วิจัยพบรอยสะดุดทางวิชาชีพพยาบาลไทย

วิกฤติ COVID-19 ที่ผ่านมา นับเป็นประสบการณ์ครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้ทุกคนบนโลกต้องปรับตัวในการดำเนินชีวิตในแทบทุกด้าน เช่นเดียวกับวิชาชีพพยาบาลที่ต้องพบรอยสะดุดจากความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากการทำงานที่ต้องสัมผัสกับผู้ป่วย อีกทั้งยังต้องประสบกับภาวะต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานจนมีความคิดจะลาออก ซึ่งกลายเป็นปรากฏการณ์เกือบทั่วโลก

รองศาสตราจารย์ ดร.รักชนก คชไกร อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงผลสำรวจวิจัยจากพยาบาลวิชาชีพกว่า 2,000 รายทั่วประเทศไทยเมื่อประมาณ 3 ปีที่ผ่านมาก่อนช่วงวิกฤติ COVID-19 พบว่ามีพยาบาลวิชาชีพที่ประสบปัญหาจากการทำงานจนมีความคิดจะลาออกถึงร้อยละ 70.8

ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบคล้ายคลึงกันเกือบทั่วโลก โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พึงพอใจเหมาะสมของสิ่งแวดล้อมในการทำงาน อาทิ ที่ประเทศโปแลนด์ สำรวจพบพยาบาลวิชาชีพที่ประสบปัญหาจนมีความคิดจะลาออกถึงร้อยละ 50 ในขณะที่ทางแอฟริกาใต้พบร้อยละ 55

รองศาสตราจารย์ ดร.รักชนก คชไกร ชี้ว่าสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้พยาบาลวิชาชีพไทยต้องประสบปัญหาจากการทำงานจนมีความคิดจะลาออกเนื่องจากไม่มีความสุขในการทำงาน การขาดอัตรากำลัง ประกอบกับสถานการณ์การเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ของประชาชนไทยมีมากขึ้น ทำให้ภาระงานหนักมากเกินไป แม้ที่ผ่านมา จะมีส่งเสริมสุขภาวะ แต่เมื่อได้พิจารณาถึงภาระงานของพยาบาลวิชาชีพไทย พบว่าพยาบาลบางแห่งต้องปฏิบัติหน้าที่มากที่สุดถึง 12 เวรต่อสัปดาห์ บางรายขาดการพักผ่อนที่เพียงพอจนถึงขั้นประสบอุบัติเหตุขับรถหลับใน

จากนโยบายที่ผ่านมา แม้จะมีการให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกาย (Health) และสุขภาวะทางปัญญา (Head) แต่ยังไม่ค่อยเด่นชัดในเรื่องการส่งเสริมที่ครอบคลุมสุขภาวะด้านจิตใจ (Heart) ซึ่งทางออกสำคัญที่ รองศาสตราจารย์ ดร.รักชนก คชไกร ได้นำเสนอเพื่อลดปัญหาดังกล่าว ได้แก่ การสร้างสภาวะแวดล้อมที่ดีในการปฏิบัติงาน โดยการลดเครียดจากการปฏิบัติงาน การลดภาระที่เกินจำเป็น นอกเหนือจากการใช้ทักษะทางวิชาชีพ การเพิ่มความปลอดภัยในทำงาน และการให้ค่าตอบแทนที่สมเหตุผล

นอกจากนี้ จากการสำรวจที่ผ่านมายังพบรอยสะดุดสำคัญจากการยอมรับความเป็นอิสระในการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ซึ่งหากได้รับการแก้ไข โดยส่งเสริมให้เกิดเอกสิทธิ (autonomy) หรืออิสระทางวิชาชีพในการปฏิบัติงาน ก็จะสามารถเพิ่มความมั่นคงทางวิชาชีพมากขึ้นได้

คุณภาพชีวิตที่ดี จะนำไปสู่ผลการปฏิบัติที่ดี วิชาชีพพยาบาลไม่ได้เป็นเพียง “ผู้ดูแล” แต่จำเป็นต้องได้รับการดูแลทั้งสุขภาวะทางกาย สุขภาวะใจ และสุขภาวะทางปัญญา เช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุลในการดำเนินชีวิตลบรอยสะดุด และทำให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาวิชาชีพต่อไป

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210