ม.มหิดล พร้อมมุ่งสู่มาตรฐานโลกพัฒนาศักยภาพตรวจสารต้องห้ามนักกีฬา ควบคู่งานวิจัย
20/12/2022ม.มหิดล ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ SDGs สอดรับนโยบาย BCG ตามมติเอเปค – ผลักดันประเทศไทยบรรลุเป้าหมาย ปลูกฝังทรัพยากรมนุษย์รักษาสิ่งแวดล้อมควบคู่เศรษฐกิจ
21/12/2022ชั้นเรียนวิชาปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ เปรียบเหมือนการเปิดประตูสู่การเป็นบุคลากรทางการแพทย์ เช่นเดียวกับ “นักกายภาพบำบัด” ที่ต้องเรียนรู้กล้ามเนื้อทุกมัด และโครงสร้างต่างๆ ของร่างกาย เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ
อาจารย์กายภาพบำบัด ศิระ บุญประสพ และทีมคณาจารย์แห่งคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สร้างสรรค์และพัฒนา “MALI” (Media of Anatomy Laboratory Identification) สื่อวิดีทัศน์ประกอบการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ ในระบบ E-learning สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ของคณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเพิ่งได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อกลางปี 2564 ที่ผ่านมา
ซึ่ง “ก้าวแรก” ที่สำคัญยิ่งในกระบวนการ “ฟูมฟัก” บุคลากรทางการแพทย์ คือ “บทเรียนช่วยสอน” ที่ได้รับการออกแบบเพื่อการเรียนรู้อย่างเข้าถึง
นักศึกษาคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล จะได้เรียนรู้ และทำความเข้าใจบทเรียนวิชาปฏิบัติการกายวิภาคศาสตร์ “MALI” ที่คอยช่วยกระตุ้นให้เกิดคำถามเพื่อการไปค้นหาคำตอบในชั้นเรียน ตลอดจนได้ทบทวนซ้ำจนเกิดความเข้าใจบทเรียนอย่างถ่องแท้
แม้จะต้องจดจำกล้ามเนื้อถึงกว่า 600 มัด ด้วยเนื้อหาคุณภาพที่อัดแน่นอยู่ใน “MALI” รวม 31 เรื่อง จะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในองค์ประกอบของร่างกายในทุกส่วนได้ดั่งหลับตามองเห็น (pre-image) ส่วนต่างๆ ของร่างกายจนครบ 32 ประการ
เนื่องด้วยคำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์มีรากฐานมาจาก”ภาษากรีก” และ “ภาษาละติน” หากรู้เทคนิคในการจำ จากการเรียนรู้ “รากศัพท์” และจดจำหมวดของกลุ่มคำที่เกี่ยวข้อง จะทำให้คำศัพท์ที่ผู้เรียนต้องท่องจำ จากร่างกายมนุษย์ที่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อกว่า 600 มัด เหลือเพียงไม่กี่สิบคำผสมกันได้ไม่ยาก เพราะทุกคำในหมวดที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมโยงถึงกัน
ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “Trapezius” มาจากรากศัพท์ คือ “Trapezoid” ซึ่งหมายถึง กล้ามเนื้อมัดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งซึ่งมีรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือข้าวหลามตัดอยู่ตำแหน่งบริเวณ “หลังและคอ”
จากการสอดแทรกโดยแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่เหนือกว่าการเรียนรู้ร่างกายมนุษย์ คือการได้ตระหนักใน “ความเป็นมนุษย์” ที่จะต้องเรียนรู้คู่วิชาการ เติบโตเบ่งบานด้วยจริยธรรมแห่งการ “เคารพสิทธิในร่างกายมนุษย์” กล่าว “อาจาริยบูชา” ขอบคุณ และขอขมา “ร่างอาจารย์ใหญ่” ผู้อุทิศเป็นธรรมเนียมปฏิบัติอันงดงามทุกครั้ง
นับตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป “MALI” จะได้เปิดประตูสู่ “โลกแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด” (Lifelong Learning) สำหรับผู้สนใจทั่วไปในโลกไซเบอร์ ในฐานะบทเรียนออนไลน์ทาง MUx ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตรออนไลน์ เมื่อเรียนครบหลักสูตร และสอบผ่านเกณฑ์ รวมถึงสามารถเก็บหน่วยเทียบโอนเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรปกติของคณะ
และจะพัฒนาให้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยคาดหวังให้ต่อยอด และสร้างสรรค์สู่การเป็น “แอปพลิเคชัน” ที่ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาผ่านสมาร์ทโฟนได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.นิตยสารสาระวิทย์ 26-11-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/mali-mux/
2.ThaiPR.NET 29-11-65 https://www.thaipr.net/education/3274382
3.RYT9.COM 29-11-65 https://www.ryt9.com/search?q=%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%A5
4.newswit 29-11-65 https://www.newswit.com/th/Lu88
5.Edupdate 29-11-65 https://www.edupdate.net/2022/30422/
6.XCITETV 28-11-65 https://xcitetv.co/technology-c/3421/?fbclid=IwAR2tXJHIdzhHIS2WoolU6qG8LeCTvp2Cd8oUWuNULjMBwcfxCLpu_R-_k2Y