ม.มหิดล สร้างสรรค์และพัฒนา “อุปกรณ์เพิ่มความหนาแน่นฉนวนถังไครโอเจนิคด้วยวิธีการสั่นสะเทือน” เพื่ออุตสาหกรรมประเทศ
15/12/2022
ม.มหิดล ร่วมออกแบบและพัฒนาการจัดการขยะ ด้วยแนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชนเมืองอุตสาหกรรม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
15/12/2022
ม.มหิดล สร้างสรรค์และพัฒนา “อุปกรณ์เพิ่มความหนาแน่นฉนวนถังไครโอเจนิคด้วยวิธีการสั่นสะเทือน” เพื่ออุตสาหกรรมประเทศ
15/12/2022
ม.มหิดล ร่วมออกแบบและพัฒนาการจัดการขยะ ด้วยแนวทางการมีส่วนร่วมกับชุมชนเมืองอุตสาหกรรม ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
15/12/2022

ม.มหิดล ค้นพบทางเลือกใหม่ ตรวจวินิจฉัยไข้เลือดออกได้โดยไม่ต้องเจาะเลือด

ในอดีตยังไม่สามารถตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกีในผู้ป่วย โดยในเวชปฏิบัติทำได้เพียงการสังเกตรอยโรคเพื่อให้การรักษาตามอาการ ติดตามตรวจปริมาณเกล็ดเลือด และความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง และตรวจยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสเดงกีจริง จากการตรวจระดับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกี เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และไข้ลด

แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์สมัยใหม่ ทำให้แพทย์สามารถตรวจโรคติดเชื้อต่างๆ จากเลือดด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงอำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ค้นพบทางเลือกใหม่ในการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสเดงกี ด้วยวิธี ELISA (Enzyme-linked Immunosorbent assay) ที่ใช้ปัสสาวะของผู้ป่วยแทนเลือด

ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว หลังจากที่ได้ทดลองใช้ในผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มีอาการรุนแรงน้อยเรียกว่า “ไข้เดงกีในระยะไข้” โดยพบว่าให้ผลแม่นยำร้อยละ 68.4

และผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มีอาการรุนแรงมากขึ้น เรียกว่า “ไข้เลือดออกในระยะไข้” โดยพบว่าให้ผลแม่นยำร้อยละ 63.9

ซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกในการวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี เพื่อหาข้อบ่งชี้ในการติดเชื้อไวรัสเดงกีได้ในเบื้องต้น

จากวิธีการดังกล่าว แม้จะให้ผลการตรวจที่สามารถนำไปประกอบการวินิจฉัยเบื้องต้น แต่ในรายที่ให้ผลตรวจเป็นลบต้องติดตามอาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

และด้วยข้อจำกัดทางบุคลากรและงบประมาณ จึงทำให้การตรวจด้วยวิธี ELISA ในห้องปฏิบัติการนั้น จำเป็นต้องมีตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ พร้อมกันอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของแผงจานหลุม (plate) ซึ่งมีหลุมตัวอย่างทั้งสิ้น 96 หลุม โดยต้องเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจให้ครบก่อนจึงจะตรวจได้

ซึ่งทำให้ต้องเสียเวลารอนานกว่าวิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบแถบกระดาษ (strip) ซึ่งสามารถทราบผลการตรวจได้เฉพาะราย และเร็วขึ้น แต่ให้ผลที่แม่นยำร้อยละ 47.2 – 52.6 ต่ำกว่าวิธี ELISA

ส่วนการตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกี ยังคงเป็นวิธีมาตรฐาน โดยตรวจเลือดรวมจำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรกในระยะไข้ และครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งแรกอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเดงกีว่าเป็นการ “ติดเชื้อปฐมภูมิ” (มีโอกาสติดเชื้อไวรัสเดงกีได้อีก) หรือ “ติดเชื้อทุติยภูมิ” (โอกาสติดเชื้อไวรัสเดงกีอีกมีน้อยมาก)

ซึ่งความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเดงกีนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามความแตกต่างของสารพันธุกรรมของแต่ละบุคคล ผู้คนที่มาจากต่างเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ จะมีการตอบสนองต่อเชื้อที่แตกต่างกันด้วย

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงอำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ ยังได้แสดงความเป็นห่วงถึงแนวโน้มของการติดเชื้อไวรัสเดงกีของประชากรโลกในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป

โดยพบว่า แม้ในที่ๆ ยังไม่เคยพบการระบาดของไวรัสเดงกีมาก่อน ก็อาจมีการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเดงกีจากผู้เคยเดินทางไปในที่ๆ มีการระบาดของเชื้อไวรัสเดงกี ติดเชื้อไวรัสเดงกีโดยที่ไม่มีอาการแสดงอะไรเลย

ยุงเป็นพาหะรับเชื้อจากผู้ติดเชื้อ ซึ่งมีระยะฟักตัวในยุงที่รับเชื้อเป็นเวลา 7 วัน ก่อนถ่ายทอดสู่ผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อที่ถูกยุงที่มีเชื้อกัด ดังนั้นจึงควรระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ถูกยุงกัด

ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th


สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210

1.เมดิคอลโฟกัส 22-11-65 https://www.medicalfocusth.com/main/index.php?page=news.read&id=1448&fbclid=IwAR0jJIdkgjvFaH2v_qw_jnsI2JFHNnP9b4uk1tPov-vlX8Wik100cJNJmuM

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid022nNAArQrvGCpuwHVJJAcAznCnvXCAuy9DXpRWbVS8zD6hSL8CJRibQs24ibHXfo5l&id=100077220264196&mibextid=YsHG2a

https://linevoom.line.me/post/_dY8ia-uRkM0QeIk-suYxDnrCWymKH2kQKDPpzxU/1166908128103146744

2.ThaiPR.NET 21-11-65 https://www.thaipr.net/education/3270185

3.RYT9.COM 21-11-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3375942

4.newswit 21-11-65 https://www.newswit.com/th/LtNe

5.Edupdate 21-11-65 https://www.edupdate.net/2022/30149/

6.Health News Thailand 22-11-65 https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0aUvCHWzfmvKL5xWgWnLdFVfKJaxb7mNGZBD7qRcQMw114JjnHkr7Qt8UQ7rnDtkKl&id=100063469781201

7.นิตยสารสาระวิทย์ 22-11-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/elisa-dengi/

8.Thai Innovation Center 22-11-65 https://thaiinnovation.center/2022/11/elisa-2/?fbclid=IwAR2AZypyz5y630OoOjIBkeUMrSy5rovfFBnyjPZNahjaU0eqK3msNWMWeeg

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0VtLUJ3KuTuJkzgCHZjm5RrCxZsE1DcVfi7fQ2mwRy5sLY6nMNMi8E4rurKpLXJZul&id=115657123295283&mibextid=YsHG2a

9.เมดิคอลไทม์ 24-11-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1575

10.Newsfounded.com 24-11-65 https://newsfounded.com/thailand/ม-มหิดล-พบทางเลือกใหม่วิ/

11.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 25-11-65 https://www.technologychaoban.com/uncategorized/article_235846