ม.มหิดล ประดิษฐ์นวัตกรรม “เครื่องดูดยุงชนิดโค้ง” ฝีมือคนไทย เพื่อคนไทย ขจัดปัญหาการดูดยุงจากที่แคบ
10/11/2022ม.มหิดล ใช้ AI และหุ่นยนต์ช่วยวินิจฉัยเบาหวาน ลดเสี่ยงสูญเสียอวัยวะ
10/11/2022ทุกสิ่งบนโลกล้วนมีทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการใช้เช่นเดียวกับการใช้รังสีเพื่อประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยเฉพาะอย่างยิ่งรังสี “เอกซเรย์” (X-ray) ที่อาจส่งผลกระทบต่อร่างกายหากได้รับในปริมาณมากเกินไป การใช้ “อัลตราซาวด์” (Ultrasound) หรือการใช้คลื่นเสียงในการตรวจจับความผิดปกติในร่างกาย จึงนับเป็นอีกทางเลือกที่ปลอดภัย
รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงผลงานล่าสุด “อุปกรณ์สอบเทียบวัดรองหัวเก็บภาพอัลตราซาวด์” ซึ่งเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจในฐานะ “ปัญญาของแผ่นดิน” ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตรแล้ว ดำเนินการโดย สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล
“หัวเก็บภาพอัลตราซาวด์” (Ultrasound probe) มีความสำคัญต่อการตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ อาทิ การตรวจทารกในครรภ์มารดา และมะเร็งเต้านม ซึ่งให้ผลที่แตกต่างตามลักษณะของหัวเก็บภาพที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องนำมา “สอบเทียบวัด” หรือ “Calibration” เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเที่ยงตรง และแม่นยำเสียก่อน
โดยในการตรวจมะเร็งเต้านม หัวเก็บภาพจะแปลงสัญญาณเสียง ให้เป็นสัญญาณภาพ เพื่อนำทางให้รังสีแพทย์สามารถเก็บชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจหาเซลล์มะเร็งได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยสมรรถนะของ “อุปกรณ์สอบเทียบวัดรองหัวเก็บภาพอัลตราซาวด์” ที่ได้รับการสร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นโดย ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบทางคลินิก เพื่อพัฒนาระบบนำทางช่วยในการผ่าตัดเก็บชิ้นเนื้อมะเร็งเต้านมให้พร้อมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์ภายใน 3 – 5 ปีข้างหน้า
“แพทย์จะทราบได้อย่างไรว่า หัวเก็บภาพอัลตราซาวด์ที่ใช้นั้นมีประสิทธิภาพในการใช้ประกอบการวินิจฉัยและรักษาโรคได้ดีเพียงใด ในขณะที่หัวเก็บภาพต่างยี่ห้อ และต่างรุ่นกัน จะให้ภาพที่แตกต่างกัน เช่น ขนาด และความลึกของเนื้อเยื่อ หรือสิ่งที่ต้องการตรวจ ดังนั้น “การสอบเทียบวัด” หรือ “Calibration” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แปลงผลลัพธ์ออกมาได้อย่างแน่นอน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญที่สุด” รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ กล่าว
ด้วยภารกิจของ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ถึงพร้อมด้วยองค์ความรู้ในการสนับสนุนด้าน Active Medical Devices และ AI ที่ใช้ในทางการแพทย์ โดยมีวิสัยทัศน์สู่ความเป็นเลิศในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยกระดับเทียบเคียงประเทศชั้นนำระดับเอเชียต่อไปเชื่อว่าจะนำพาประเทศชาติสู่การบรรลุเป้าหมายทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจได้ต่อไปอย่างแน่นอน
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.นสพ.สยามรัฐ 21-10-65 หน้า 9 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-10-21-5.pdf
2.Thai Innovation Center 19-10-65 https://thaiinnovation.center/2022/10/ultrasound-probe/?fbclid=IwAR3ASD2X_VRjVWg0sykNxULDy3EZrMutHsFQnpraD9faFDCGNpvMHgrCamw
3.ThaiPR.NET 18-10-65 https://www.thaipr.net/education/3252822
4.RYT9.COM 18-10-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3365301
5.newswit 18-10-65 https://www.newswit.com/th/Lq8s
6.Edupdate 18-10-65 https://www.edupdate.net/2022/29089/
7.เมดิคอลไทม์ 19-10-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1441
8.นิตยสารสาระวิทย์ 19-10-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/ultrasound-probe-development/