ม.มหิดล เตรียมเปิด “ศูนย์ดนตรีบำบัด” ยกระดับสู่การเป็น “Music Therapy Hub” แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายใน 5 ปี
10/11/2022ม.มหิดล สร้างขุมพลังชุมชนเพื่อผู้ป่วยระยะท้าย
10/11/2022แม้ทั่วโลกจะประสบวิกฤติโรคอุบัติใหม่ อาหาร และพลังงานจนทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ แต่ก็ไม่ได้ทำให้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) มีอุบัติการณ์น้อยลง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล รองหัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก และยังคงน่าเป็นห่วง คือ โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งพบผู้ป่วยเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก คาดว่าในปี 2568 จะมีความชุกของผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1.56 พันล้านคน
ที่สำคัญปัจจุบันพบอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ในกลุ่มวัยเด็กมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการเกิน หรือโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจเป็นผลจากพฤติกรรมนิยมบริโภคอาหารประเภทอาหารขยะ junk food ซึ่งหารับประทานง่าย แต่มีปริมาณไขมัน โซเดียม น้ำตาลและพลังงานสูง รวมทั้งการไม่ออกกำลังกาย และการดำรงชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งอีกด้วย
และจากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไทยส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์เป้าหมายได้นั้น มักมาจากการเบื่อหน่าย ท้อแท้ ที่โรคนี้ต้องใช้การรักษาต่อเนื่องยาวนาน
ประกอบกับความเชื่อที่ว่าเป็น “โรคของเวรกรรม” จึงมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งไม่ยอมเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและจริงจังขณะที่ในทางการแพทย์ยืนยันว่า โรคความดันโลหิตสูงนั้นหากยิ่งตรวจพบ และเข้ารับการรักษาได้เร็วเท่าใด ยิ่งส่งผลดีต่อการควบคุมภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคได้ดีมากขึ้นเท่านั้น
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล กล่าวต่อไปว่าสัญญาณเตือนของโรคความดันโลหิตสูงมักไม่ได้มากับอาการปวดศีรษะบริเวณต้นคออย่างที่หลายคนเข้าใจเสมอไป แท้ที่จริงแล้วเป็น “ภัยเงียบ” ที่ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะไม่แสดงอาการใดๆ เลย ซึ่งกว่าจะรู้ตัวว่ากำลังป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ก็มักมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงไปเสียแล้ว
โดยในบางรายอาจถึงขั้นเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด มีอาการชา หรืออ่อนแรงที่แขนขาข้างเดียวกัน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อเข้ารับการรักษาภายในระยะเวลา 4.5 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสเกิดความพิการ ลดโอกาสการเกิดซ้ำของโรคหลอดเลือดสมอง ลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงลดอัตราการตาย
วิธีที่จะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ คือ หมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อการเฝ้าระวังอย่างสม่ำเสมอ องค์การอนามัยโลก ได้จัดระดับความดันโลหิตปกติ คือไม่เกิน140/90 มิลลิเมตรปรอท โดยปกติการวัดระดับความดันโลหิตจากการใช้เครื่องมือวัด แบบรัดต้นแขน จะให้ผลที่เที่ยงตรง และแม่นยำกว่าแบบรัดข้อมือ อย่างไรก็ตาม ควรมีการตรวจสอบมาตรฐานอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะๆ และต้องใช้ปลอกแขนวัดความดันที่พอดี กระชับ และมีขนาดเหมาะสมกับแขนของผู้ป่วย เพื่อความแม่นยำในการตรวจวัดความดันโลหิต
“ถึงเวลาแล้วที่คนไทยจะต้องปรับเปลี่ยนความคิดที่ว่า โรคความดันโลหิตสูง เป็น “โรคของเวรกรรม” มาเป็น “โรคของพฤติกรรม” ที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อป้องกันการเกิดโรคได้หากหันมาใส่ใจดูแลเรื่องการกิน การอยู่ การจัดการความเครียด การออกกำลังกายที่เหมาะสม และเพียงพอ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสาวรส มีกุศล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.นิตยสารสาระวิทย์ 2-10-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/ncds-young-age/
2.ThaiPR.NET 3-10-65 https://www.thaipr.net/education/3247313
3.RYT9.COM 3-10-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3361767
4.newswit 3-10-65 https://www.newswit.com/th/Lp4b
5.Edupdate 3-10-65 https://www.edupdate.net/2022/28711/
6.เมดิคอลโฟกัส 3-10-65 https://www.medicalfocusth.com/main/index.php?page=news.read&type=1&id=1417&fbclid=IwAR1fEx6vXZocETEbLcihdJKqbgq7X0-jNbPthV16EIzCoAK7V5LV_tAj_44
https://linevoom.line.me/post/_dY8ia-uRkM0QeIk-suYxDnrCWymKH2kQKDPpzxU/1166476490812959905
https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-10-3-2.pdf
7.นสพ.ไทยโพสต์ 4-10-65 หน้า 7 https://op.mahidol.ac.th/ga/wp-content/uploads/twitter/news-2022-10-4-5.pdf
8.เมดิคอลไทม์ 4-10-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1386