ม.มหิดล เปิดมุมมองวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ เน้นเชิงคุณภาพ และผสานวิธี เปิดโอกาสให้คนพิการได้มีส่วนร่วม แสดงตัวตนและปลดปล่อย
08/11/2022ม.มหิดล บูรณาการทฤษฎีระบบการเรียนรู้โดยใช้สมอง และเทคโนโลยีการศึกษาที่ทันสมัย ฝึก “เรียนรู้เชิงรุก” ก่อน “เรียนรู้เชิงลึก”
08/11/2022ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารของโลกไร้พรมแดน ทำให้ทุกคนทราบดีว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล นอกจากผลาญเงินแล้ว ยังทำลายสุขภาพ จึงได้มีการขับเคลื่อนมาตรการทางภาษีควบคุมสินค้าเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เพื่อช่วยกอบกู้สถานการณ์ดังกล่าวกันทั่วโลก
ทุกครั้งที่มีข่าวประกาศขึ้นภาษีสินค้าทำให้ประชาชนต้องจ่ายเพิ่มมากขึ้นในขณะที่ยังมีรายได้เท่าเดิม การตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น คือ ทางออกเดียวที่จะช่วยประคับประคองให้ทุกชีวิตยังคงไปต่อได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดรายจ่ายสำหรับเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น ยังช่วยลดป่วยและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ของประเทศได้อย่างมหาศาล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรินทร์ยา พูลเกิด อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าศึกษาวิจัยพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประชากรไทยมาตั้งแต่ที่ประเทศไทยได้เริ่มประกาศมาตรการทางภาษีเพื่อควบคุมสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เมื่อปี 2561 สนับสนุนโดยเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จนปัจจุบันงานวิจัยได้ดำเนินการมาถึงเฟส 3 พร้อมสรุปผลความคืบหน้า
จากการที่ได้มีการวางแผนขึ้นราคาสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยตั้งเป้าหมายการขึ้นภาษีสินค้าประเภทดังกล่าวให้ได้ร้อยละ 20 ในปี 2568 นั้นพบว่า ในช่วงแรกยังไม่ค่อยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค เนื่องจากสินค้าประเภทดังกล่าวยังคงขึ้นราคาไม่สูงมากนัก
แต่หากมีการขึ้นภาษีให้ได้ตามเป้าหมาย ติดตามพฤติกรรมการบริโภค และประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และผลิตภัณฑ์ทดแทนเพิ่มมากขึ้น
มหาวิทยาลัยมหิดล โดย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม (นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พจนา หันจางสิทธิ์) ได้ร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท (Griffith University) ประเทศออสเตรเลีย ทำการวิจัยภายใต้ “โครงการคาดประมาณผลกระทบทางสุขภาพจากมาตรการขึ้นภาษีเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในประเทศไทย”
โดยได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และด้านข้อมูลจากการสำรวจของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน การสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกาย และฐานข้อมูล Euromonitor
คาดการณ์ในระยะยาวว่า การขึ้นภาษีให้ได้ตามเป้าหมายจะส่งผลให้สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพประชาชนของรัฐได้สูงถึง 156.2 ล้านบาทในปี 2587 หรืออีก 22 ปีข้างหน้า
ซึ่งจากการสำรวจปริมาณการดื่มใน 16 ผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูงเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2561 – 2564 พบว่า “เครื่องดื่มทางเลือก” ประเภทที่ไม่ใช่น้ำตาล ได้รับความนิยมสูงขึ้นนอกจากนี้ มาตรการทางภาษีของประเทศไทยยังได้รับคำชื่นชมและยกย่องจากนานาชาติ ในความเป็นผู้นำของประเทศและภูมิภาค ที่ใช้มาตรการทางการคลังเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพของประชากรในประเทศ
โดยทีมวิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยลดสถานการณ์ “Nutrition transition” หรือ “การส่งผ่านทางโภชนาการ” ที่นิยมรับประทานอาหารแบบตะวันตกเน้นอาหารพลังงาน อุดมไปด้วยไขมัน และน้ำตาล ที่โลกกำลังเผชิญได้ต่อไปในอนาคต
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.นิตยสารสาระวิทย์ 15-9-65 https://www.nstda.or.th/sci2pub/nutrition-transition/
2.ThaiPR.NET 14-9-65 https://www.thaipr.net/education/3239069
3.RYT9.COM 14-9-65 https://www.ryt9.com/s/prg/3356647
4.newswit 14-9-65 https://www.newswit.com/th/LnVZ
5.Edupdate 14-9-65 https://www.edupdate.net/2022/28090/
6.เมดิคอลไทม์ 14-9-65 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1311
7.นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 15-9-65 https://www.technologychaoban.com/agri-news/article_229116