ม.มหิดล เตือนผู้ป่วยโรคเบาหวานเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่ที่มากับฤดูหนาว
03/02/2023ม.มหิดล พัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติ สนับสนุนงานวิจัยยกระดับเศรษฐกิจชาติ
07/02/2023ในการตรวจสุขภาพประจำปี บางรายการครอบคลุมการเข้ารับการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ เพื่อแสดงผลให้เห็นร่องรอยความผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ได้ชัดเจนใช้วิเคราะห์โรคได้รวดเร็ว ถูกต้อง แม้ว่าปริมาณรังสีที่ได้รับจะมีอัตราต่ำ เมื่อเทียบกับการใช้รังสีในการรักษาโรค แต่ผู้รับบริการจะต้องป้องกัน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
นายอิษฏ์ สุบินมงคล นักรังสีการแพทย์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) และในฐานะเป็นอาจารย์พิเศษของภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรนุช เอี่ยมปา และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ภาควิชารังสีเทคนิค จำนวน 2 ราย ได้แก่ นายณัฐพนธ์ แตงภู่ และนายสุรยุทธ เกิดสุข แสดงความห่วงใยประชาชนให้ตระหนักถึงปริมาณรังสีที่ควรได้รับในอัตราที่ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ซึ่งในระดับประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ด้านรังสี ได้รับการกำหนดโดย คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศด้านการป้องกันรังสี (International Commission on Radiological Protection – ICRP) ซึ่งแนะนำให้รับรังสีได้ในปริมาณไม่เกิน 5 millisievert หรือ mSv ต่อปี
ด้วยตระหนักถึงความเป็น “ปัญญาของแผ่นดิน” ตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์อิษฏ์ สุบินมงคล ได้สร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรม “โปรแกรมคำนวณอัตราการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ซ้ำ” (Repeat/reject rate calculating program) ขึ้นเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ ถึงสาเหตุของการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ซ้ำ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณรังสีมากเกินไป
โดยโปรแกรมจะประมวลผลจากชุดข้อมูลที่กำหนด เพื่อลดการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ซ้ำที่อาจเสี่ยงต่อการได้รับปริมาณรังสีที่มากเกินไป ซึ่งหากได้ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดแล้วจะช่วยทำให้การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์เป็นไปโดยเท่าที่จำเป็นมากขึ้น
อย่างไรก็ดี สำหรับในส่วนของเจ้าหน้าที่รังสี แม้ ICRP ได้กำหนดปริมาณรังสีที่ควรได้รับในปริมาณที่สูงกว่าประชาชนทั่วไป กล่าวคือให้อยู่ในอัตราที่ไม่เกิน 100 mSv ในรอบ 5 ปี ซึ่งหากมีการป้องกันที่ดี ด้วยการสวมอุปกรณ์ หรืออยู่ในบริเวณป้องกันรังสีขณะปฏิบัติหน้าที่ ก็จะช่วยทำให้รับรังสีได้น้อยลง
ในเบื้องต้นผู้วิจัยได้ทดลองใช้โปรแกรมคำนวณอัตราการถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ซ้ำในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง พบว่าสามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมอื่นของโรงพยาบาล เพียงดาวน์โหลดในเครื่องคอมพิวเตอร์ (PC) ก็จะพร้อมใช้งานได้ทันที เพื่อขยายประโยชน์ให้เกิดขึ้นในวงกว้าง ก้าวต่อไปเตรียมพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นผ่านโทรศัพท์มือถือ
ติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่ www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
1.เมดิคอลไทม์ 17-1-66 http://medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1783
2.ThaiPR.NET 17-1-66 https://www.thaipr.net/education/3291791
3.RYT9.COM 17-1-66 https://www.ryt9.com/s/prg/3390100
4.newswit 17-1-66 https://newswit.com/th/Lxgg
5.Edupdate 17-1-66 https://www.edupdate.net/2023/31580/
6.นิตยสารสาระวิทย์ 17-1-66 https://www.nstda.or.th/sci2pub/reduces-repetitive-x-ray-imaging/
7.Thai Innovation Center 18-1-66 https://thaiinnovation.center/2023/01/repeat-rate-calculating/?fbclid=IwAR2R8XFdZh8cQ5U805mNXzwFe6hZpw5rOoGYx9ZLKPwAW5sVI-UyRFl8jEQ&mibextid=Zxz2cZ