ม.มหิดล เดินหน้าโครงการคลินิกกายภาพบำบัดสัญจรสู่ชุมชน สู่ปีที่ 15
03/02/2023ม.มหิดล วิจัยพบรอยสะดุดทางวิชาชีพพยาบาลไทย
03/02/2023นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Act – PDPA) มีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2565 เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยด้านการรักษาข้อมูลบุคคล ทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้างทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งจำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการข้อมูลมารองรับ การมีระบบที่มีประสิทธิภาพ
นอกจากจะทำให้เกิดการจัดเก็บ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มที่ และไม่ผิดจริยธรรมแล้ว ยังจะส่งผลในวงกว้างในเชิงเศรษฐกิจของประเทศได้ด้วย
เรื่องของข้อมูลส่วนบุคคลมีความเกี่ยวข้องต่อทุกกิจกรรมของประชากร หากจะพิจารณาเฉพาะในส่วนของระบบบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ ทั้งในระดับประเทศ และระดับโรงพยาบาล จะพบว่าระบบดังกล่าวเป็นศูนย์กลางของข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Personal Data) ที่แม้จะได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย PDPA ในภาพรวม แต่ก็ยังไม่มีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นมาตรฐานกลาง ยังเป็นการบริหารจัดการเฉพาะองค์กรเป็นหลัก
อีกทั้งยังไม่ได้มีการนำเอาข้อมูลในระบบมาก่อให้เกิดประโยชน์ในการวางแผนการจัดการดูแลสุขภาพ ทั้งระดับบุคคล และระดับนโยบายสาธารณสุขอย่างเต็มที่
รองศาสตราจารย์ ดร.จรณิต แก้วกังวาล อาจารย์ประจำภาควิชาสุขวิทยาเขตร้อน และที่ปรึกษาอาวุโสศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (Center of Excellence for Biomedical and Public Health Informatics) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะผู้ก่อตั้งหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสุขภาพ
ได้ชี้ให้เห็นถึงรอยต่อของ PDPA ที่จะทำให้การจัดการสุขภาพของประเทศไทยก้าวทันโลกยุคข้อมูลข่าวสารเช่นปัจจุบัน จำเป็นต้องจัดให้มีนโยบาย และมีการลงทุนในเรื่องการบริหารจัดการข้อมูล ทั้งระดับองค์กร ระดับชาติ และระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีระบบที่สามารถจัดเก็บ ใช้ และแบ่งปันข้อมูล (Data Sharing) การมีกระบวนการเชื่อมต่อข้อมูล (Interoperability) ที่ครอบคลุมในเรื่องการเข้าถึงข้อมูล และการใช้ข้อมูลทางสุขภาพที่ปลอดภัย และได้ประสิทธิภาพ
เพราะนั่นจะส่งผลต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนสิทธิประโยชน์อีกมากมายที่ผู้ป่วยจะได้รับ การมีระบบข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Data integrity) จะทำให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ในการตัดสินใจดำเนินการในกระบวนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผล ช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ เพื่อการรักษาที่ตรงจุด ซึ่งจะช่วยลดเวลาที่ต้องเข้ารับการรักษา ด้วยค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผลมากขึ้น
อีกทั้งช่วยในเรื่องการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรด้านสุขภาพ ช่วยในการเลือกใช้ และพัฒนาเทคโนโลยีและจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางที่นำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาการระดับนานาชาติอีกด้วย
โดยที่ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ถือเป็นแห่งแรกที่ได้จัดให้มีหลักสูตรนานาชาติ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสุขภาพ (Master of Science in Biomedical and Health Informatics) และประกาศนียบัตรบัณฑิตในสาขาเดียวกัน โดยในช่วงแรกได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ สหรัฐอเมริกา เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำวิชาการในสาขาดังกล่าวในระดับภูมิภาค
เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาออกไปอย่างไร้ขีดจำกัด ในการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าวได้มีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยโอเรกอน และวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา จัดคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมสอนในทั้ง 2 หลักสูตรดังกล่าว
ปัจจุบันทั้ง 2 หลักสูตรดังกล่าวจึงได้เปิดสอนแบบออนไลน์ 100% และเพิ่มเติมในส่วนของ Non-degree สำหรับผู้สนใจที่ต้องการศึกษาเพียงเพื่อเพิ่มพูนทักษะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยไม่ต้องการประกาศนียบัตร อีกทั้งยังได้ยกระดับสู่ มาตรฐานนานาชาติ นอกจากการเปิดรับสมัครนักศึกษาจากทั่วโลกแล้ว
“โลกในทุกวันนี้เต็มไปด้วยข้อมูลมากมายมหาศาลที่รอการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านระบบการบริหารจัดการข้อมูลสุขภาพ Health Informatics ถือเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนเรื่องหนึ่งที่ต้องจัดการให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนแรกๆ ที่มี พ.ร.บ. PDPA บังคับใช้
การมีมาตรการ และระบบที่ดีนอกจากจะมีประโยชน์ตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และองค์กรแล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมขยายผลต่อในวงกว้างไปยังระบบเศรษฐกิจของประเทศ การจัดการ และเชื่อมโยงเครือข่ายสุขภาพไทย ทั้งระดับภายในประเทศ และระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบไม่ควรจะถูกมองข้าม ซึ่งการลงทุนในเรื่องการพัฒนาระบบ Health Informatics เป็นอีกช่องทางที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจได้เช่นกัน” รองศาสตราจารย์ ดร.จรณิต แก้วกังวาล กล่าวทิ้งท้าย
ติดตามรายละเอียดของหลักสูตรนานาชาติออนไลน์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสุขภาพ และประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสุขภาพ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ที่ https://mu-informatics.org
และติดตามข่าวสารที่น่าสนใจจากมหาวิทยาลัยมหิดลได้ที่www.mahidol.ac.th
สัมภาษณ์ และเขียนข่าวโดย ฐิติรัตน์ เดชพรหม นักประชาสัมพันธ์ (ชำนาญการ)
งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โทร. 0-2849-6210
ภาพโดย ศูนย์ความเป็นเลิศทางสารสนเทศศาสตร์ชีวเวชและสาธารณสุข (Center of Excellence for Biomedical and Public Health Informatics) คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
1.LINE TODAY 16-1-66 https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/Ya0p78W?utm_source=copyshare
2.เมดิคอลไทม์ 17-1-66 http://www.medi.co.th/news_detail41.php?q_id=1785&fbclid=IwAR0SpBeDFDsL_QeO9XF_egYxipIdjp0WHT2b6tIEqTDSY2xu8MR1VBrLN4k&mibextid=Zxz2cZ
3.นิตยสารสาระวิทย์ 17-1-66 https://www.nstda.or.th/sci2pub/health-information-system-management-policy/
4.สวพ.FM91 16-1-66 https://www.fm91bkk.com/fm143636?fbclid=IwAR3pZ48bbeIAQfWOw06j5Sumu7ZnPM5pjwwtujDvoBDXjVyMofQHF-77vN0&mibextid=Zxz2cZ
5.ThaiPR.NET 16-1-66 https://www.thaipr.net/education/3291505
6.RYT9.COM 16-1-66 https://www.ryt9.com/s/prg/3389846
7.newswit 16-1-66 https://newswit.com/th/Lxbs
8.Edupdate 16-1-65 https://www.edupdate.net/2023/31554/